ทรอปิคอล ฟู้ด จากยุค ‘สับปะรดกระป๋อง’ สู่โจทย์ใหม่มัดใจผู้บริโภคยุค Next Normal

SME in Focus
25/02/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4915 คน
ทรอปิคอล ฟู้ด จากยุค ‘สับปะรดกระป๋อง’ สู่โจทย์ใหม่มัดใจผู้บริโภคยุค Next Normal
banner
หากย้อนไปเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาในยุคที่ ‘สับปะรด’ เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะผลไม้เขตร้อนที่มีรูปลักษณ์แปลกตา รสชาติหวานกลิ่นหอม เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วโลกทั้งในรูปแบบของการรับประทานผลสด และการแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง หรือแม้แต่น้ำเชื่อมสับปะรดแบบเข้มข้น และด้วยเทรนด์บริโภคที่เกิดขึ้น นำไปสู่การเกิดใหม่ของอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดกระป๋องในประเทศไทย ซึ่งเติบโตอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เกิดคู่แข่งใหม่ๆ ในตลาดโลกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น่าสนใจว่า ปัจจุบันนี้ตลาดเป็นอย่างไรบ้าง




มองโอกาสตลาดสับปะรดโลก

คุณสมควร อิทธิฤทธิกุล ประธานบริหาร บริษัท ทรอปิคอล ฟู้ด อินดัสตรีส์ จำกัด กล่าวว่า ตลาดส่งออก สับปะรด โดยทั่วไปแบ่งเป็นการบริโภคผลสด และการแปรรูป โดย 5 แหล่งที่มีการปลูกสับปะรดมากที่สุดในโลก คือ ฟิลิปปินส์ คอสตาริกา บราซิล ไทย และอินโดนีเซีย ขณะที่ตลาดแปรรูปรายใหญ่ยังเป็นประเทศในอาเซียน เนื่องจาก คอสตาริกา และบราซิลเน้นการปลูกเพื่อบริโภคผลสด โดยตลาดหลักๆ ของสับปะรดคือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

สำหรับ บริษัท ทรอปิคอล ฟู้ด อินดัสตรีส์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านการผลิตสับปะรด และผลไม้กระป๋องตามฤดูกาล ก่อตั้งเมื่อปี 2531 โดยโรงงานตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากมองว่าโรงงานตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกในการรับวัตถุดิบจากแหล่งปลูกสับปะรดของประเทศก็คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และบางพื้นที่ในสุพรรณบุรี รวมถึงแหล่งปลูกสับปะรดในภาคตะวันออก เช่น ชลบุรี ระยอง และตราด

ดังนั้นในแง่ของการซัพพลายวัตถุดิบ ทำเลดังกล่าวเป็นจุดแข็งที่สำคัญต่อธุรกิจ ทำให้มีสับปะรดป้อนเข้าโรงงานแปรรูปได้ตลอดทั้งปี ที่สำคัญหากมองในแง่ของการจัดการด้านโลจิสติกส์ โรงงานตั้งอยู่ไม่ไกลจากท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง จึงสามารถบริหารจัดการเรื่องการขนส่งไปยังต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ ตลาดสับปะรด



   
ปัญหาต้นน้ำของสับปะรดกระป๋อง

คุณสมควร บอกว่า พอตั้งโรงงานและมี Location ที่เหมาะสมแล้ว จึงหันมาพัฒนาการผลิตซึ่งตอนแรกเริ่มมีไลน์การผลิตสับปะรด ข้าวโพด และผลไม้ตามฤดูกาล โดยการจัดการโรงงานจะมีรายละเอียดเยอะที่เจ้าของธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญ อาทิ สินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบที่ส่งมาที่โรงงานโดยทั่วไปจะแบ่งตามเกรด หรือตามคุณภาพ แต่มักเจอปัญหา เช่น การตกค้างของสารไนเตรทในพืชผักและผลไม้ ซึ่งเกิดจากการเกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เมื่อมีปริมาณสารนี้ตกค้างสูงจะไปทำปฏิกิริยากัดกร่อนดีบุก ทำให้ผิวด้านในกระป๋องเปลี่ยนเป็นสีดำหลุดร่วงลงในน้ำเชื่อมส่งผลต่อคุณภาพสินค้าล็อตนั้น 

ด้วยเหตุนี้ ทางโรงงานแปรรูปต้องสุ่มตัวอย่างตรวจหาปริมาณสารนี้ก่อนรับซื้อสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ รวมทั้งให้ความรู้แก่เกษตรกร ตลอดจนการทำความเข้าใจเพื่อให้ใส่ใจเรื่องคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันโรงงานแปรรูปผลไม้กระป๋องของทรอปิคอล ฟู้ด มีการใช้กระป๋องที่มีคุณภาพสูง และให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้า เนื่องจากมีตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่มีมาตรการเข้มงวดในการตรวจสารตกค้างในอาหาร ตลอดจนผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องการปนเปื้อนอย่างมาก ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดนี้สูง เพราะฉะนั้นจึงจะควบคุมคุณภาพค่อนข้างเข้มงวดทั้งแต่ต้นน้ำก่อนถึงมือลูกค้าปลายน้ำ  




ระบบ Contract Farming สร้างความมั่นใจเกษตรกร

คุณสมควร มีความเห็นว่า ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรจะต้องทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างบูรณาการ ซึ่งที่ผ่านมา ทรอปิคอล ฟู้ด จึงมีทีมส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกษตรกร อาทิ เรื่องเมล็ดพันธุ์ การจัดการเรื่องการเพาะปลูก การใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม และการเก็บเกี่ยว ในลักษณะการทำเกษตรพันธสัญญา หรือ Contract Farming ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามที่โรงงานต้องการเพื่อนำไปแปรรูป

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานร่วมกับเกษตรกรทำให้สามารถบริหารจัดการเรื่องการซัพพลายวัตถุดิบสับปะรดและข้าวโพดที่มีเพียงพอต่อความต้องการ และยิ่งไปกว่านั้น คือการทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจ ซึ่งคนที่อยู่ในวงการสับปะรดจะทราบดีว่าในบางช่วง ปัญหาหลักๆ ของสินค้าเกษตรคือเรื่อง ‘วัตถุดิบล้นตลาด’ ดังนั้นเกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราจะมั่นใจได้แน่นอนว่ามีตลาดรับซื้อ และราคาที่เป็นธรรม

บทความที่เกี่ยวข้องกับ 'Contract Farming'




แปรรูปสินค้าเกษตร สู่การจัดการด้าน Zero Waste 

คุณสุเชษฐ์ อิทธิฤทธิกุล ผู้ช่วยผู้จัดการการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า โดยทั่วไปการแปรรูปสินค้าเกษตรได้หลากหลาย และแทบไม่เหลือทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นสับปะรดกระป๋องที่ใส่ทั้งลูก แบบหั่นแว่น แบบหั่นชิ้นยาวหรือชิ้นเล็ก ขึ้นอยู่กับว่าจะบริหารจัดการสับปะรดหนึ่งลูกอย่างไร
 
ดังนั้น การแปรรูปสับปะรด 1 ลูกยังเกิดเป็น by-Product ที่นำมาแปรรูปสร้างมูลค่าได้หลากหลาย  หรือแม้แต่เปลือกสับปะรดก็ยังมีผู้ประกอบการมาเหมาเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ ส่วนแกนสับปะรดก็จะนำไปหั่นชิ้นเป็นลูกเต๋าและอบแห้งซึ่งก็เป็นอีกตลาดหนึ่งนับเป็นการจัดการวัตถุดิบให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้กระป๋องในประเทศได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมาใช้ในโรงงานแปรรูปมากขึ้น ทั้งมองว่าจะเป็นโอกาสที่ดีทั้งในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการลดต้นทุน อาทิ การนำเทคโนโลยี Robot มาลดใช้แรงงานคนในอุตสาหกรรมอาหารได้ 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ 'แปรรูปสินค้าเกษตร'




‘ข้าวโพดแปรรูป’ New Product เติบโตควบคู่สับปะรดกระป๋อง

คุณสุเชษฐ์ อธิบายว่า ปัจจุบันมีการขยายตลาดมากขึ้น โดยบริษัทมีความสนใจในเรื่องของการแปรรูปข้าวโพดเป็นอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to eat) อาทิ ข้าวโพดกระป๋อง ข้าวโพดฝัก ข้าวโพดพร้อมรับประทาน โดยใช้ช่องทางการวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเทรนด์ของคนรุ่นใหม่จะเน้นความสะดวก และคุณภาพของอาหารเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องพัฒนาสินค้าให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เน้นรสชาติ เน้นการทำ Sensory Test มากขึ้น เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปากคนไทย รวมถึงการทำ R&D ซึ่งจำเป็นมากสำหรับสินค้าอาหาร

โดยผลิตภัณฑ์ ‘ข้าวโพดแปรรูป’ มีที่มาจาก ในอดีตพันธมิตรทางคู่ค้ามีความต้องการข้าวโพดเป็นจำนวนมาก ‘ทรอปิคอล ฟู้ด’ จึงเริ่มศึกษาโครงการข้าวโพดแปรรูปกระป๋องและในบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ทำให้บริษัทเห็นโอกาสว่าข้าวโพดเป็นสินค้าที่ทั่วโลกมีความต้องการทั้ง ยุโรป ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ชาติอาหรับ รวมถึงเอเชีย จึงเริ่มทำธุรกิจข้าวโพดกระป๋องควบคู่มากับสับปะรดกระป๋องมาตั้งแต่นั้น

ก่อนเป็นเหตุผลให้บริษัทตัดสินใจเริ่มลงทุนและขยายโรงงานไลน์ผลิตข้าวโพด เพื่อรองรับการผลิตสินค้าข้าวโพดให้มีความหลากหลายมากขึ้น ปัจจุบันตลาดในประเทศก็มีความต้องการบริโภคข้าวโพดในรูปแบบฝักและท่อนจึงได้มีการแปรรูปสินค้าใหม่ตามความต้องการของตลาด




การสร้างจุดเด่น เป็นจุดขาย ให้ ‘ข้าวโพดแปรรูป’ ไปโลดในต่างแดน

สำหรับเรื่องนี้ ผู้ช่วยผู้จัดการการค้าต่างประเทศ เผยว่า ข้าวโพดแปรรูปบรรจุกระป๋อง และข้าวโพดแบบซองพร้อมรับประทาน จะมีจุดเด่นอยู่ที่ความสดใหม่ และความสะดวกในการรับประทานหรือนำไปประกอบอาหารต่อได้ โดยใช้คอนเซปต์เน้นที่คุณภาพของสินค้าให้ใกล้เคียงกับของสดใหม่ ซึ่งจุดนี้ทำให้สินค้าที่ออกมามีความหอม และรสชาติดี 

จากนั้นใช้กลยุทธ์ในการเจาะตลาดทั่วโลกด้วยการนำผลิตภัณฑ์ ไปออกงานแสดงสินค้าตามประเทศต่างๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งได้รับการตอบรับจากต่างชาติเป็นอย่างดี เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ยุโรป รัสเซีย ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย และชาติแถบอาหรับ



อุตสาหกรรมผักและผลไม้กระป๋อง จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนตามเทรนด์บริโภคของโลกไม่น้อย ดังนั้นการจะอยู่รอดและ Success ภาคธุรกิจต้องรู้จัก Transform องค์กรให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง ดังเช่น บริษัท ทรอปิคอล ฟู้ด อินดัสตรีส์ จำกัด ที่ใช้ประสบการณ์กว่า 34 ปี วิเคราะห์ตลาด ประเมินสถานการณ์ในอนาคตแล้วก้าวให้ทันกระแส นำมาสู่ความสำเร็จทำให้ TROFCO เป็นแบรนด์ผลไม้กระป๋องแถวหน้าของเมืองไทย และโกอินเตอร์ให้โลกรู้จักสินค้า Made in Thailand

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
38 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
375 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
379 | 22/04/2024
ทรอปิคอล ฟู้ด จากยุค ‘สับปะรดกระป๋อง’ สู่โจทย์ใหม่มัดใจผู้บริโภคยุค Next Normal