ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเอสเอ็มอี

SME in Focus
30/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5170 คน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเอสเอ็มอี
banner

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่นิยมเรียกว่า แวต (Value Added TaxVAT) เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากผู้ใช้สินค้าหรือบริการโดยใช้ราคาสินค้าหรือบริการนั้นเป็นฐานการคิดภาษี ซึ่งจะทำให้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีตามมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากแต่ละขั้นตอน ในปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 สำหรับสินค้าและบริการที่ถูกใช้ภายในประเทศ อธิบายง่าย ๆ คือ ตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบในการผลิต เช่น ซื้อมา 100 บาท บวก VAT อีกร้อยละ 7 เท่ากับ ต้องจ่าย 107 บาท และเมื่อนำไปผลิตและตั้งราคาขาย เช่น 300 บาท บวก VAT ร้อยละ 7 เท่ากับราคาสินค้าชิ้นนั้น คือ 321 บาท

ในมุมของผู้ประกอบการ เมื่อสิ้นเดือนก็ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณภาษีที่ต้องเสียจะเท่ากับภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ กรณีข้างต้น ราคาภาษีขาย 21 บาท ลบภาษีซื้อ 7 บาท เท่ากับ 14 บาทคือภาษีที่ต้องจ่าย จะเห็นว่าอานุภาพของ VAT ส่งผลอย่างมากต่อต้นทุนสินค้าในทุกขั้นตอน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลหลายๆ ประเทศจึงชั่งใจอย่างมากหากจะปรับขึ้นภาษี VAT เพราะอาจจะส่งผลต่อต้นทุนสินค้าและค่าครองชีพและอาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ที่สำคัญสำหรับธุรกิจนี่อาจเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วยในกรณีที่ธุรกิจของคุณไม่ได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่สามารถคิด VAT ลูกค้าได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม?

ในกรณีนี้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ขายสินค้า หรือให้บริการที่มีรายรับจากการขยายสินค้าหรือให้บริการมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยต้องขอจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม (ภ.01) ภายใน 30 วันนับตั้งแต่มีรายได้เกิน

กรณีกิจการที่ยังมีรายรับไม่ถึง 1.8 ล้าน บาทต่อปี สามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนได้เช่นกัน โดยสามารถจดได้ตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการจดทะเบียนล่าช้า เช่น เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม เป็นต้น

ทั้งนี้ มีกิจการบางประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกิจการประเภทนี้แม้มีรายรับเกิน 1.8 ล้าน บาทต่อปี ก็ไม่ต้องไปจดทะเบียน VAT เช่น ขายพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ขายปุ๋ย ขายอาหารสัตว์ ขายหนังสือพิมพ์

 

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดอย่างไร

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แบบ ภพ. 01 ซึ่งสามารถยื่นแบบได้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ

• ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่ www.rd.go.th

ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ

โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน หรืออาจจะเริ่มจดก่อนที่รายรับถึงเกณฑ์ก็ได้ โดยสามารถเริ่มจดได้ตั้งแต่ 6 เดือนก่อนเริ่มประกอบกิจการ

 

สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สถานประกอบการใน กทม. ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้อง ที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

สถานประกอบการนอก กทม. ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขต ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

หากมีสถานประกอบการหลายแห่งยืน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

เมื่อกรมสรรพากรได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภพ.01 พร้อม เอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออก “ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” (แบบ ภพ.20) ให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นไป

 

จด VAT แล้วยังไงต่อ

ธุรกิจมือใหม่อาจมีคำถามว่า กรณีที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีหน้าที่อะไรบ้าง ในกรณีที่จด VAT เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษี เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้

จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด คือ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า และสุดท้ายต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นรายเดือน ทุกเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้น หรือไม่ก็ตาม โดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือน


คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่เรื่องยาก

ตามที่อธิบายคร่าวๆ ไว้ในข้างต้น สำหรับวิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ โดยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้คำนวณโดยการนำภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี คือ

ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

หากผลจากการคำนวณภาษีพบว่า ภาษีขาย(กรณีขายสินค้า)มากกว่าภาษีซื้อ(เช่นซื้อวัตถุดิบ) ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรเท่ากับส่วนต่างนั้น แต่หากภาษีขายน้อย กว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีสิทธิได้รับคืนภาษีซื้อ โดยผู้ประกอบการจะ ขอคืนภาษีซื้อ เป็นเงินสดหรือให้นำเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปก็ได้

มองดีๆ จะรู้สึกว่า VAT ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย เพราะภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายไปเป็นภาษีซื้อซึ่งสามารถขอคืนได้ทั้งหมด โดยนำไปหักจากภาษีขายที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่นำส่งกรมสรรพากร

 

ข้อควรทราบ สำหรับ ภาษีซื้อต้องห้าม

กฎหมายไม่อนุญาตให้นำภาษีซื้อบางรายการมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษี คือ

1. ภาษีซื้อที่ไม่มีหลักฐานใบกำกับภาษี

2. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

3. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง

4. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี

5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีปลอม และ

6. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการขนส่งสินค้า สถานพยาบาล

 

หากไม่จด VAT จะเกิดอะไรขึ้น?

กรณีที่ธุรกิจยังไม่พร้อมจด VAT หรือยังไม่อยากจด หรือไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร แต่หากมีรายได้เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี จะมีผลดังนี้

1. โดยไม่สามารถเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้

2. ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีได้เนื่องจากยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่จด VAT

3. ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอด หรือเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

4. ต้นทุนสินค้าเพิ่ม เพราะไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักภาษีขายได้


เรื่อง VAT เรื่องใกล้ตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องลงไปจัดการเรื่องนี้ทั้งหมด เพราะสามารถจ้างพนักงานบัญชีให้รับผิดชอบด้านนี้ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจระบบภาษีทั้งหมด เพราะเรื่องภาษีคือส่วนสำคัญ และเป็นรายจ่ายที่สามารถลดได้ถ้ามีการจัดการที่เป็นระบบและเข้าใจอย่างถูกต้อง แถมไม่ต้องกังวลว่าจะโดนสรรพากรเรียกสอบ ทำธุรกิจได้อย่างสบายใจ

 

อ้างอิง : กรมสรรพากร 

 

จดทะเบียนพาณิชย์นั้น สำคัญไฉน 

ค่าลดหย่อนภาษี SMEs รู้ไว้ได้ประโยชน์


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
175 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
391 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1321 | 01/04/2024
ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเอสเอ็มอี