คู่แข่งสิงคโปร์! ‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าศูนย์กลางสตาร์ทอัพแห่งใหม่อาเซียน

SME Startup
15/02/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2959 คน
คู่แข่งสิงคโปร์! ‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าศูนย์กลางสตาร์ทอัพแห่งใหม่อาเซียน
banner
StartupBlink เผยแพร่ดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก ประจำปี 2564 (Global Startup Ecosystem Index 2021) จัดอันดับระบบนิเวศแบบครบวงจรทางสตาร์ทอัพ 100 ประเทศทั่วโลก โดยมีข้อมูลของประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ดังนี้

1. อันดับ 10 สิงคโปร์
2. อันดับ 40 มาเลเซีย
3. อันดับ 45 อินโดนีเซีย
4. อันดับ 50 ไทย
5. อันดับ 52 ฟิลิปปินส์
6. อันดับ 59 เวียดนาม

ช่วงวิกฤตโควิด 19 นักลงทุนทั่วโลกที่ถือครอง ‘เงินสด’ จำนวนมาก ต่างพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาเซียน ที่เป็นเหมือน ‘ขุมทอง’ ด้านเทคโนโลยีแห่งใหม่ของโลก จากศักยภาพการเติบโตท่ามกลางการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจดิจิทัล




‘อาเซียน’ เนื้อหอมดึงดูดเงินทุนทั่วโลก 

จากรายงานของ SE Asia Deal Review ที่รวบรวมโดย DealStreetAsia แพลตฟอร์มข้อมูลสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ระบุว่า ในปี 2021 สตาร์ทอัพในอาเซียนสามารถระดมทุนได้ถึง 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า จาก 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020 และมากกว่าปี 2018 ที่เคยมีการระดมทุนสูงสุดที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยตัวเลขการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณของตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต และเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต่อตลาดอาเซียน ทั้งในแง่การเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับธุรกิจและศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีระดับโลก




‘อาเซียน’ เกิดยูนิคอร์นใหม่ 25 ตัว ในปี 2021

เมื่อแยกตามภาคธุรกิจเเล้ว สตาร์ทอัพกลุ่ม ‘ฟินเทค’ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการระดมทุนมากที่สุดในปี 2021 โดยระดมทุนได้กว่า 5,830 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 1,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020

โดยการระบาดของโควิด 19 ได้กระตุ้นให้เกิดการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้นและบริการทางการเงินออนไลน์อื่นๆ มากขึ้น
บริการเหล่านี้มีผลกระทบทางสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก หากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนรายใหม่และการเปิดบัญชีออนไลน์มากขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น สตาร์ทอัพ Mynt ของฟิลิปปินส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อกระเป๋าเงินเคลื่อนที่ GCash ที่ได้รับการสนับสนุนโดยบิ๊กเทคของจีนอย่าง Ant Group ระดมทุนได้ 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 จากบรรดานักลงทุนระดับโลก ซึ่งรวมถึง Warburg Pincus กองทุนเพื่อการลงทุนหุ้นนอกตลาดจากสหรัฐฯ

ด้านภาค ‘โลจิสติกส์’ ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยยอดการระดมทุนได้ประมาณ 5,560 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 ด้วยปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของผู้บริโภคที่ช้อปปิ้งออนไลน์และส่งพัสดุเพิ่มขึ้นมาก 

โดย DealStreetAsia ระบุว่า มีสตาร์ทอัพ 25 แห่งจาก 6 ประเทศอาเซียน ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยูนิคอร์นได้ในปี 2021 โดยทั้งหมดมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราว 55,400 ล้านดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียและสิงคโปร์




‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าศูนย์กลางสตาร์ทอัพแห่งใหม่ของอาเซียน

นาย บินห์ ทราน (Binh Tran) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Ascend Vietnam Ventures เปิดเผย กับสำนักข่าว Bloomberg ว่า ภาคสตาร์ทอัพเวียดนามกำลังก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปี 2021 การระดมทุนสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพในเวียดนามอยู่ที่ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทะยานขึ้นจากระดับ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 โดยปัจจุบันภาคธุรกิจสตาร์ทอัพของเวียดนามสามารถดึงดูดนักลงทุนชั้นนำจาก Silicon Valley ได้หลายราย ซึ่งได้รู้จักในฐานะสถานที่ที่มี กองทุนร่วมลงทุนที่มีชื่อเสียงในเมืองซานฟรานซิสโก อาทิ บริษัทลงทุน Goodwater Capital LLC บริษัทร่วมทุน Accel Partners LP และบริษัท AltosVentures Management Inc ได้ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพเวียดนาม ทำให้มีอัตราการเติบโตอย่างมหาศาลตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยหนุนให้เวียดนามสามารถก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางสตาร์ทอัพแห่งสำคัญในภูมิภาคนี้

ตามรายงาน e-Conomy ที่เผยแพร่โดยบริษัท Google Temasek และ Bain & Company มูลค่ารวมของเศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนามในปี 2021 คาดว่าจะอยู่ที่ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ที่ส่วนใหญ่มาจากการเติบโตร้อยละ 53 ของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ

บริษัท Google Temasek และ Bain & Company คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งหมดในเวียดนามจะมีมูลค่า 57 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอัตราการเติบโตรายปีแบบผสม (CAGR) จะอยู่ที่ ร้อยละ 29



การเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพในเวียดนาม เป็นปัจจัยช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล และธุรกิจ e-Commerce เวียดนาม ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 มีการเติบโตของธุรกิจ Start Up ในเวียดนามจำนวนมาก โดยนครโฮจิมินห์ถือเป็นศูนย์กลางสตาร์ทอัพของเวียดนาม โดย Sector ที่มีการลงทุนมากที่สุดคือ อีคอมเมิร์ซ ฟินเทค สุขภาพ และเทคโนโลยีการศึกษา 

จากการที่นครโฮจิมินห์มีนโยบายที่จะสนับสนุน Start Up โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนสตาร์ทอัพเพิ่มเป็น 1,000 รายในอีก 5 ปีข้างหน้า จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยในการร่วมลงทุนในธุรกิจ Start Up และทำตลาดสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซเป็นอีกหนึ่งช่องทางใหม่สร้างรายได้ในอนาคต


แหล่งอ้างอิง : Global Startup Ecosystem Index Report 2021, สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2267 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4443 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2238 | 22/12/2022
คู่แข่งสิงคโปร์! ‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าศูนย์กลางสตาร์ทอัพแห่งใหม่อาเซียน