‘จัดการขยะ’ ขุมทรัพย์ 2.24 แสนล้านในอีอีซี

SME in Focus
01/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 6167 คน
‘จัดการขยะ’ ขุมทรัพย์ 2.24 แสนล้านในอีอีซี
banner

ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษปี 2560 ปริมาณขยะทั่วประเทศอยู่ที่ 27.37 ล้านตัน หรือประมาณ 74,998 ตัน/วัน โดยคนไทยมีส่วนสร้างขยะวันละ 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน ขณะที่ในปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50.6 ล้านตัน มาจากชุมชน 56% อุตสาหกรรม 43% และสถานพยาบาล 1%

แม้ว่ากากอุตสาหกรรมจะมีปริมาณไม่มากเท่ากับขยะจากชุมชน เเต่นับเป็นขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงมากจึงต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ปัจจุบันกากอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. กากของเสียไม่อันตราย คิดเป็นกว่า 95% ของปริมาณกากอุตสาหกรรมทั้งหมด เช่น กากอ้อย เศษเหล็ก กากน้ำตาล เถ้าลอย

2. กากของเสียอันตราย เช่น ตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย น้ำกรดจากการกัดผิวเหล็ก น้ำทิ้ง น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว เป็นต้น

ดังนั้นกากอุตสาหกรรมจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่รัดกุม ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทขยะและข้อกฎหมายบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกากของเสียอันตรายที่มีเงื่อนไขในการติดตามตั้งแต่แหล่งกำเนิดขยะ การขนส่งอย่าง ระบบเอกสารกำกับ การขนส่งของเสียอันตราย (Manifest System) รวมถึงการบำบัด ซึ่งไม่เพียงกำหนดคุณสมบัติในการรับเข้าบำบัดแล้ว ยังต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามากำจัดที่เหมาะสมด้วย

อย่างไรก็ตามสำหรับกากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย แม้จะไม่มีกฎหมายข้อบังคับมากเท่ากากอุตสาหกรรมอันตราย แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสม ตลอดทั้งมีการบริหารจัดการพื้นที่กำจัดขยะอย่างรัดกุม รวมถึงด้านความปลอดภัย เพราะมีโอกาสที่จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมหรือเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายได้

จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2562 ระบุอีกว่า ในพื้นที่โครงการเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีปริมาณกากขยะอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วอยู่ที่ประมาณ 2 แสนตัน ส่วนใหญ่เป็นประเภทของเสียไม่อันตราย หรือคิดเป็นกว่า 70% ซึ่งกากขยะอุตสาหกรรมพบได้มากที่สุดในจังหวัดระยอง คิดเป็น 51% ของปริมาณกากขยะจากอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซีทั้งหมด

โดยตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐสนับสนุนให้กลุ่มนักลงทุนเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในพื้นที่ อีอีซีเริ่มส่งผลให้มีจำนวนโครงการที่ได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2562 เพิ่มขึ้นกว่า 32% เมื่อเทียบปีต่อปีโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์

 

ธุรกิจกำจัดขยะโอกาสเปิดกว้างในอีอีซี

ธุรกิจกำจัดกากอุตสาหกรรมเป็นธุรกิจไม่ค่อยมีผู้เล่นรายใหม่ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการขนส่ง, ระบบคัดแยกและแปรรูป, ระบบบำบัด และอื่นๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในการขนส่งกากขยะอุตสาหกรรมมายังโรงบำบัด โดยเฉพาะกากขยะอันตรายที่การขนส่งต้องเป็นไปอย่างรัดกุม ตรงตามที่กฎหมายกำหนด

ซึ่งภาครัฐได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุน โดยให้ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ โรงงานที่มีกระบวนการแปรรูปเพิ่มเติมและกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) สามารถได้รับการยกเว้นอากร ทั้งการนำเข้าเครื่องจักร การนำเข้าเพื่อวิจัย และพัฒนาวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก และยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี

ส่วนโรงงานคัดแยกขยะได้รับการยกเว้นภาษี 5 ปี คาดว่านโยบายส่งเสริมจากภาครัฐจะสามารถแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในธุรกิจดังกล่าว อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของการจัดการกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและคนทำงานในพื้นที่ อีอีซี ดีขึ้นตามไปด้วย

 

‘การรีไซเคิล’ มูลค่าพุ่ง2.24แสนล้านบาทปี2024

การรีไซเคิล ถือเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ขยะล้นเมืองหรือสิ่งของเหลือทิ้งต่างๆ ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมประเมินว่าตลาดรีไซเคิลในไทย จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 5.7% จากปี 2019 ที่มีมูลค่า 1.7 แสนล้านบาท จะเพิ่มมูลค่าพุ่งสูงถึง 2.24 แสนล้านบาท ในปี 2024 หรือมีขนาด 1.2% ของจีดีพีรวมภายในประเทศเลยทีเดียว

สาเหตุที่ตลาดรีไซเคิลของไทยเติบโตก้าวกระโดดในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG Model) ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

รวมทั้งภาครัฐได้ตั้งเป้าหมายลดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2027 การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ได้สร้างความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นความต้องการวัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิต แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่การไม่คัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในส่วนนี้ รีไซเคิลแพลตฟอร์ม จะเข้ามามีบทบาทในการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ขายและผู้รับซื้อขยะรีไซเคิล นำไปสู่การหมุนเวียนของขยะรีไซเคิลในวงจรเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

การจัดการขยะนับเป็น Pain Point สำคัญสำหรับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะใน อีอีซี ดังนั้นหากมีธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ ย่อมมีโอกาสเข้าถึงขุมทรัพย์มหาศาลนี้ แต่สำหรับธุรกิจรายขนาดกลางและขนาดเล็ก การลงทุนระบบจัดการขยะอาจไม่ใช่ตัวเลขการลงทุนน้อยๆ


ดังนั้นผู้ที่สนใจธุรกิจนี้อาจจะศึกษา โดยนำโมเดลต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมาประยุกต์ใช้ อาทิ การใช้แอปพลิเคชั่นในการรวมรวบขยะรีไซเคิลภายในเขตอุตสาหกรรม หรือที่พักอาศัยย่านอุตสาหกรรม เป็นลักษณะตัวแทนในการรวบรวมและส่งต่อให้โรงงานรีไซเคิล แม้จะไม่แปลกใหม่เท่าใดนัก แต่ปัจจุบันก็มีธุรกิจด้านนี้และถือว่าไปได้สวยเลยทีเดียว แถมยังเข้ากับเทรนด์รักษ์โลกที่เข้มข้นมากขึ้นทุกปีด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นโมเดลธุรกิจเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะต่อยอดมันได้อย่างไร 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


พัทยา ศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง (TOD)

Smart City ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและการลงทุนในอีอีซี



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

“บริษัท เท็บโต จำกัด” ผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ Oracle NetSuite อันดับหนึ่งในประเทศไทย  กับแนวคิดการลงทุนนวัตกรรมเพื่อพิชิตตลาดโลก

“บริษัท เท็บโต จำกัด” ผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ Oracle NetSuite อันดับหนึ่งในประเทศไทย กับแนวคิดการลงทุนนวัตกรรมเพื่อพิชิตตลาดโลก

ในโลกของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ หนึ่งในเทรนด์ที่มาแรง คือ โซลูชัน ERP บนคลาวด์ ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ…
pin
3 | 16/05/2025
“เทวาศรม เขาหลัก” มอบสุนทรียะแห่งการพักผ่อน  ด้วยกลยุทธ์ Experience-Driven Hospitality ที่สร้างเอกลักษณ์เหนือระดับ

“เทวาศรม เขาหลัก” มอบสุนทรียะแห่งการพักผ่อน ด้วยกลยุทธ์ Experience-Driven Hospitality ที่สร้างเอกลักษณ์เหนือระดับ

เป็นที่รู้กันว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมในประเทศไทยมีการแข่งขันสูงเพียงใด ทว่า “เทวาศรม เขาหลัก” ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในรีสอร์ตหรูที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล…
pin
9 | 09/05/2025
“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)”  เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)” เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

ในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร การจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยวัตถุดิบคุณภาพสูงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งบริษัทที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะปรับตัวสู่แนวทางที่ยั่งยืน…
pin
14 | 29/04/2025
‘จัดการขยะ’ ขุมทรัพย์ 2.24 แสนล้านในอีอีซี