เศรษฐกิจโลกปั่นป่วน แต่ EEC ยังสดใส

SME Update
08/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3097 คน
เศรษฐกิจโลกปั่นป่วน แต่ EEC ยังสดใส
banner

ท่ามกลางวิกฤติสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนสั่นคลอนตลาดทุนทั่วโลก แต่วิกฤติดังกล่าวหากมองในแง่บวกประเทศไทยกลับได้รับอานิสงส์ เพราะกลุ่มทุนจากประเทศจีนจำนวนมากสนใจย้ายฐานการผลิตย้ายเม็ดเงินมาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย ในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เพื่อหลีกหนีวิกฤติสงครามการค้าที่ยังปะทุไม่หยุด ซึ่งการลงทุนในพื้นที่อีอีซีถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

กลุ่มทุนแห่มาลงทุนในประเทศไทยและในพื้นที่อีอีซีคึกคักเป็นพิเศษในช่วง 9 เดือนของปี 2562 (มกราคม-กันยายน)ที่ผ่านมาโดย น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผย ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก(บีโอไอ รวมทั้งสิ้น 1,165 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,048 โครงการ ขณะที่มีมูลค่าการลงทุนรวม 314,130 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในปี 2561 มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกิจการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป

อย่างไรก็ตามสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวน 689 โครงการ เงินลงทุน 203,366 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 69 โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 167 โครงการเงินลงทุน 59,187 ล้านบาท ตามด้วยอันดับ 2 คือ จีน มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 139 โครงการ เงินลงทุน 45,439 ล้านบาท และอันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์ มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 15 โครงการ เงินลงทุน 11,710 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 




9 เดือนทะลักลงทุน”อีอีซี”1.6แสนล้าน

ตลอดปี 2561ต่อเนื่องปี 2562 รัฐบาลได้ออกไปโรดโชว์ต่างประเทศ ตลอดทั้งเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกมาลงทุนในพื้นที่อีอีซีโดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นพันธมิตรคู่ค้ามายาวนานให้หันมาลงทุนในพื้นที่อีอีซีเพิ่มมากขึ้น เพราะรัฐบาลมอบสิทธิประโยชน์มากมายซึ่งกลุ่มนักลงทุนทั้งสองประเทศไม่ทิ้งโอกาสสนใจเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี จำนวน 360 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 262 โครงการ

โดยมีเงินลงทุนรวม 167,930 ล้านบาท แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23 เนื่องจากในปี 2561 มีโครงการขนาดใหญ่ในกิจการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซี ขณะที่การขอรับการส่งเสริมตามมาตรการส่งเสริม SMEs มีคำขอรับการส่งเสริม จำนวน 43 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 87 จากเดิมอยู่ที่ 23 โครงการ โดยมีเงินลงทุนรวม 2,350 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 167 จากเดิมอยู่ที่ 880 ล้านบาท

สอดคล้องกับข้อมูลของ นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขยอดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาคึกคักมาตั้งแต่ต้นปีซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซี โดยตลอดปี 2562 จะมียอดเงินลงทุนเกิดขึ้นพุ่งทะลุไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท หรืออาจเกินเป้า ซึ่งมีมากกว่าที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 1 แสนล้านบาท แต่แท้จริงแล้วสามารถประเมินได้จากยอดการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ  ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2562 จำนวน 1,126 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 7.9 แสนล้านบาท ซึ่งนักลงทุนจะยังคงทยอยมาขอรับประกอบกิจการและขยายกิจการโรงงานต่อเนื่อง

“การลงทุนในพื้นที่อีอีซีเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดมาจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซีของรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ เป็นจำนวนมาก โดยในช่วง 1-2 ปีแรกกาลงทุนยังไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควรเนื่องจากนักลงทุนใช้เวลาในการพิจารณารายละเอียดโครงการต่างๆ จากนั้นก็ตัดสินใจลงทุน ทำให้เกิดการลงทุนจริงเป็นจำนวนมากในปี 2562  และคาดว่าปี 2563 การลงทุนประกอบกิจการใหม่และขยายกิจการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีนี้อย่างแน่นอนเพราะทุกอย่างมีคความชัดเจนสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มนักลงทุน”

ขณะเดียวกันปัญหาวิกฤติสงครามการค้าที่เกิดขึ้นเป็นผลบวกกับการลงทุนไทยที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วย เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าไปยังประเทศต่างๆ หลีกเลี่ยงการตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐอเมริกา เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นศัตรูกับสหรัฐฯตรงกันข้ามประเทศไทยทำการค้ากับทุกฝ่าย ทำให้ที่ผ่านมานักลงทุนทั้งจากญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้  ต่างจากการเข้ามาขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น


ไฮสปีดเทรน 3 สนามบินเชื่อมโอกาสการค้า

หลังกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) จรดปากกาเซ็นสัญญากับรัฐบาลไทยเดินหน้าลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท โดยมีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2566 ยิ่งช่วยกระตุ้นให้กลุ่มนักลงทุนจากญี่ปุ่นและจีนเร่งตัดสินใจลงทุนเร็วมากขึ้น หากไม่ต้องการพลาดโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุนในในพื้นอีอีซีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เนื่องจากจะเอื้ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศและยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าให้กับผู้ประกอบการที่สามารถเชื่อมโยงไปยังจังหวัดอื่นๆ และภูมิภาคอาเซียนและยังเชื่อมไทย สปป.ลาวและจีน ซึ่งเป็นโอกาสทองที่จะย้ายฐานการผลิตและเข้าไปลงทุนในโครงการอีอีซี

โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กมาลงทุนไม่ขาดสาย เช่น บริษัทขนาดใหญ่เข้าไปลงทุนภาคอุตสาหกรรมรถยนต์,เคมีภัณฑ์,คอนซูมเมอร์ ฯลฯ ส่วนบริษัทขาดกลางและเล็กส่วนใหญ่จะลงทุนด้าน Smes ซึ่งการที่บริษัทจีนแห่งมาลงทุนในประเทศไทยและอีอีซีในปี 2562 ไม่ต่ำกว่า 1,000  รายและการลงทุนครั้งนี้ยังได้สิทธิประโยชน์จากบีโอไอ สูงถึง 8 ปี ลดหย่อนภาษี 50% และยังจะต่อออกไปอีก 5 ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมทัพนักลงทุนจากมณฑลกวางตุ้งที่สนใจเข้ามาลงทุนด้วยอีกกว่า 200 บริษัท เช่นเดียวกับนักลงทุนจากเกาะฮ่องกงอีกจำนวนมากแห่มาลงทุนในไทยเพื่อหนีวิกฤติการชุมนุมประท้วงยืดเยื้อที่ไม่มีท่าที่จะจบลงเมื่อไหร่ทำให้ย้ายฐานการลงทุนมาที่อีอีซี

ขณะที่กลุ่มทุนจากญี่ปุ่นเองก็ไม่พลาดที่จะเข้ามาลงทุนในไทยและอีอีซี เพราะหากปล่อยโอกาสให้จีนเข้ามาลงทุนฝ่ายเดียวอาจจะทำให้จีนแซงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยแทนญี่ปุ่นที่ครองแชมป์มาแล้วหลายทศวรรษ โดยทางด้านรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมที่จะสนับสนุนให้นักลงทุนมาลงทุนในอีอีซี โดยจะมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่น ไปสู่ 4.0 และเชื่อมไปยังกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ตลอดทั้งให้ความร่วมมือการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆของไทย โดยเฉพาะด้านระบบอัตโนมัติ และระบบหุ่นยนต์ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่มีเทคโนโลยีระดับสูงในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายก็เตรียมตัวเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม โครงการอีอีซีกำลังกลายเป็นสนามสู้ศึกสงครามการค้า การลงทุน ระหว่างญี่ปุ่น ซึ่งในฐานะที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในอีอีซีค่อนข้างมากเพราะลงทุนในไทยมานานกว่าจีน แต่ปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้ากองทัพนักลงทุนจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยและอีอีซีเต็มรูปแบบเพื่อหนีภัยสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน


500 บริษัทญี่ปุ่นลุยลงทุน EEC 

หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1226 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1585 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1872 | 25/01/2024
เศรษฐกิจโลกปั่นป่วน แต่ EEC ยังสดใส