ฟาร์มมิ่ง สู่ "สมาร์ทฟาร์มมิ่ง”ทางเลือกใหม่ภาคเกษตรไทย

SME in Focus
17/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 9261 คน
ฟาร์มมิ่ง สู่ "สมาร์ทฟาร์มมิ่ง”ทางเลือกใหม่ภาคเกษตรไทย
banner
หากย้อนอดีตการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของโลกครั้งยิ่งใหญ่เมื่อปี ค.ศ.1944 ที่เรียกว่า “การปฏิวัติเขียว” (The Green Revolution) ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา คือเป็นการนำวิชาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาใช้กับการเกษตร

ปัจจุบันเข้ายุคโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนตลอดเวลา ภาคการเกษตรถึงเวลาที่ต้อง "เปลี่ยน” ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็ประกาศอย่างชัดเจนว่า ภาคการเกษตรไทยต้องเดินเข้าสู่ “เกษตร 4.0 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศเข้าสู่ “ไทยแลนด์ 4.0 นั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงภาคการไทยเข้าสู่ยุคเกษตรสมัยใหม่ ที่เรามักจะได้ยินคำว่า “สมาร์ทฟาร์ม” (Smart Farm)  “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer) คือ“เกษตรอัจฉริยะ” เกษตรปราดเปรียว ผู้นำเกษตรกรหรือผู้จัดการฟาร์มอย่างมืออาชีพ สุดแต่ใครจะให้คำนิยาม แล้วมีการพัฒนาก้าวสู่การเกษตรกรรมยุคใหม่ ที่เรียกว่า สมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) คือเกษตรกรรมยุคใหม่ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มเกษตรนั่นเอง และบางครั้งเรามักได้ยินคำว่า “สมาร์ท ออฟฟิต”( Smart Officer)หรือออฟฟิตอัจริยะ  ในแวดวงการเกษตรด้วย ในขณะที่รัฐบาลเองโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังขับเคลื่อนเพื่อสร้าง “ยัง สมาร์ทฟาร์มเมอร์” (Yang Smart Farmer) คือเกษตรกรเด็กรุ่นใหม่ ปัจจุบันอยู่กว่า 9,600 ราย

คราวที่แล้วได้พูดถึง“สมาร์ทฟาร์มเมอร์” กันแล้ว คราวนี้จะพูดถึง สมาร์ทฟาร์มมิ่ง ซึ่ง “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” ที่ว่านี้ เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเกษตร และความต้องการควบคุมสภาพแวดล้อมของเกษตรกร  เพื่อให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตต่อไรที่ดีที่สุด ดังนั้นเกษตรกร จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการวิเคราะห์ และวางแผนการเพาะปลูกที่เหมาะสม มีการควบคุมสภาพแวดล้อม อาทิเช่น ความชื้น อุณหภูมิ แสงสว่าง ฯลฯ ให้อยู่ในระดับที่พอดีกับพืชแต่ละชนิด



ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายดาย “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” เป็นการเกษตรกรรมที่นำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการประมวลผลข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลทางอากาศจากโดรนและดาวเทียม โดยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) คือการเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่อาทิ แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูล ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้ รวมถึงการมีคุณสมบัติในการตรวจวัด เข้ามาใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ แสง และปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในการเพาะปลูก โดยจะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันในการแสดงผล การตั้งค่า เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำ

พื้นฐานของอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์นั้น จะเป็นการใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น อุปกรณ์ตรวจวัด ส่วนควบคุมหลัก และหน่วยประมวลผล เพื่อให้อุปกรณ์ตรวจวัดสามารถตรวจวัด และส่งผลข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมายังอุปกรณ์ควบคุมและหน่วยประมวลผล เพื่อรายงานผล จัดเก็บข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการ วางแผนงาน และการดูแลฟาร์มให้เป็นไปตามความต้องการ

ดังนั้นแล้วในพื้นที่ฟาร์ม จำเป็นจะต้องมีการวางโครงข่ายพื้นฐานการสื่อสารที่เหมาะสม โดยปัจจุบันเทคโนโลยีทั้ง 3G และ 4G มีบทบาทอย่างมากในการทำให้แนวคิดของอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์เป็นจริงมากขึ้น ที่สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากการเกษตรในการเพาะปลูกครั้งที่ผ่านมา หรือจากการเพาะปลูกในพื้นที่ใกล้เคียง มาวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่

นอกจากนี้ เป็นการใช้ IoT ในการตรวจสอบ ตรวจวัด และติดตามความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ เช่น ความชื้น แสงสว่าง และอุณหภูมิ การควบคุมการทำงานของระบบอัตโนมัติต่างๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ย และให้แสงสว่างที่เหมาะสมเป็นต้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่าง การใช้รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กแบบไม่มีคนขับ ก็จะช่วยลดความเสียหายและเพิ่มผลผลิตได้อีกทางหนึ่ง และยังจะช่วยลดความเสียหายจากการกดทับและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เนื่องจากที่ผ่านมา การใช้รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ก่อให้เกิดการบดอัดดินซึ่งทำให้ความสามารถในการกักเก็บน้ำ ธาตุอากาศ และดินลดลง ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของพืช ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่คนหนุ่มสาวทั่วโลกทำงานในภาคการเกษตรน้อยลงด้วย

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาภาคการเกษตรก้าวสู่ สมาร์ทฟาร์มมิ่ง ต้องยอมรับว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังขาดองค์ความรู้ และมีจำนวนไม่น้อยที่ผู้ประกอบการมักมีความกังวลว่า จะคุ้มค่าของการติดตั้งระบบหรือไม่  ผลที่ได้มาจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเงินลงทุนในจำนวนมาก และจะคืนทุนได้ในระยะเวลานานเท่าไร ที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาฟาร์มมักเผชิญกับปัญหาในการควบคุมความสม่ำเสมอของผลผลิต โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศแปรปรวน โดยเฉพาะร้อนจัดเป็นต้น


จรุงวัฒน์  จรัสดำรงนิตย์ อีกคนหนึ่งที่ถือว่าเป็น “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” บัณฑิตคืนถิ่น ที่หันมาทำอาชีพเกษตรแบบสมัยใหม่ ที่บ้านเกิดที่ ต.ไทยสมัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ด้วยการปลูกผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ หรือปลูกผักไร้ดิน เหตุผลเพราะเป็นคนชอบกินสลัด

จรุงวัฒน์ บอกว่า หลังจากจากคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปหาประสบการณ์ ด้วยการทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งย่านนิคมอุตสาหกรรม ที่ จ.ระยอง ได้ 3 ปีตัดสินใจกลับ เพราะใจคิดเสมอว่าอยากอยู่กับธรรมชาติ

เขา บอกว่า ที่บ้านเกิดวังน้ำเขียว อากาศบริสุทธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงตัดสินใจลาออก ไปศึกษาเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทั้งที่ไปอบรมมา 2 วัน และเรียนรู้ด้วยตัวเองคือค้นคว้าหาความจากตำราและอินเตอร์เน๊ต เริ่มทดลองปลูก 1 โต๊ะพบผักขึ้นสวยงาม จึงขยายขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมี 30 โต๊ะบนพื้นที่ 1 ไร่ในนามไร่ “เฟรช  ยู ฟาร์ม” พร้อมติดตั้ง เครื่องวัดอุณหภูมิความชื่นในอากาศ ในแปลง รวมถึงระบบน้ำ โดยรายงานผลผ่านมือถือ แม้จะอยู่ ณ หนใด หากมีอะไรก็ขึ้นในแปลง จะมีผลรายงานเข้าในมือมาตลอด และสามารถแก้ปัญหาได้ทวงที่

“การเกษตรไม่ยากครับ เทคโนโลยีช่วยเราได้ อย่างฟาร์มผมมี 1 ไร่ ผม เก็บผลผลิตขายอาทิตย์ละ 300 กก. ในราคา กก.ละ 100 บาท สร้างรายได้เดือนละกว่า 100,000 บาท และผมยังเปิดเฟรช ยู ฟาร์ม ให้เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ หรือยัง สมาร์ทฟาร์มแมอร์ และสมาร์ทฟาร์มมิ่งด้วย” จรุงวัฒน์ กล่าว

นับเป็นเกตรกรรุ่นใหม่อีกคนที่ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในฟาร์ม จนสามารถประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้พื้นที่เพียง 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้เดือนละนับแสนบาท 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
148 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
747 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
550 | 10/04/2024
ฟาร์มมิ่ง สู่ "สมาร์ทฟาร์มมิ่ง”ทางเลือกใหม่ภาคเกษตรไทย