‘Future Food’ Mega Trend มาแรง สร้างอนาคตด้วยอาหาร สู่โอกาสทองผู้ประกอบการ SME ไทย

Mega Trends & Business Transformation
11/10/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 13722 คน
‘Future Food’ Mega Trend มาแรง สร้างอนาคตด้วยอาหาร สู่โอกาสทองผู้ประกอบการ SME ไทย
banner
‘Future Food’ หรืออาหารอนาคต อีกหนึ่ง Mega Trend กำลังมาแรงและถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จากการเพิ่มขึ้นของประชากร โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนจากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 7.3 พันล้านคนเป็น 8.5 พันล้านคน ในปี 2030 และเพิ่มเป็น 11.2 พันล้านคนในปี 2100 ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนทรัพยากรโดยเฉพาะอาหารเนื่องมาจากปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ยังมี Climate Change หรือการเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้ผู้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น กินแล้วไม่ป่วยกินแล้วสุขภาพแข็งแรง SME Series ตอนนี้ขอนำประเด็นเกี่ยวกับ ‘Future Food’ มาให้ผู้ประกอบการและ SME เมืองไทยได้เข้าใจมากขึ้น เพื่อ Business Transformation องค์กร นำเทคโนโลยีมาผลิตอาหาร ประสบความสำเร็จมีที่ยืนในตลาดอุตสาหกรรมอาหารที่นับวันการแข่งขันจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ



รู้จัก 5 ประเภท Future Food

ด้วยแนวโน้มในอนาคตการขาดแคลนทรัพยากรอาหารยิ่งชัดเจนขึ้น รวมถึงวิถีการผลิตอาหารเดิม ๆ ที่เคยทำมีส่วนสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือมนุษย์เราจึงได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาการอาหารมาเพื่อเตรียมการรับมือปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งนี่คือ Mega Trend ที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นไปได้ว่าอาหารของลูกหลานเราในอนาคตนั้นย่อมแตกต่างจากอาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้ ลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอาหารและเทคโนโลยีอะไรที่เราเตรียมการเอาไว้สำหรับมนุษยชาติในอนาคตกันบ้าง



แมลง

หลายวัฒนธรรมบนโลกนี้ โดยปกติแล้วมีวันธรรมหรือประเทศที่มีการกินแมลงเป็นอาหาร ยกตัวอย่างประเทศไทย ที่มีอาหารเป็นสตรีทฟู้ดเต็มไปหมด และมีผู้คนเกือบ 2 พันล้านคนกินแมลงเป็นปกติอยู่แล้วในวัฒนธรรมของตนมานานหลายศตวรรษแล้ว

ไม่เพียงแต่แมลงจะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนเท่านั้น แต่ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในด้านของการเจริญเติบโต ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกน้อยกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์อย่างมาก



เนื้อสัตว์จากพืช (Plant Based Meat)

มีการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชโมเลกุลที่เรียกว่า Heme ที่สามารถรับรสชาติและเนื้อสัมผัสแบบเนื้อสัตว์ได้ กำลังถูกดัดแปลงเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น โปรตีนจากข้าวสาลี น้ำมันมะพร้าว และแป้งมันฝรั่ง ก็มีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์ทางเลือกจากพืชแทนเนื้อสัตว์ และตลาดนี้ก็กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว 



3D Printing Food

เทคโนโลยี 3D Printing Food ถูกนำมาใช้จริงในอุตสาหกรรมอาหารแล้ว เช่น สำหรับเชฟที่สร้างอาหารรูปทรงแปลกใหม่ หรือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหากับการเคี้ยวอาหาร ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารในรูปทรงเหมือนจริงแต่ย่อยได้ง่ายกว่า ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้เนื้อเสมือนจริงแล้ว การพิมพ์แบบ 3 มิติ ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณเศษอาหารได้ เพราะในเศษอาหารบางชนิดยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการพิมพ์ได้ จึงนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและลดของเสียอันเป็นปัจจัยที่ทำให้โลกร้อนอีกด้วย



เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง (Lab Grown Meat, Cultured Meat)

เนื้อสัตว์ที่สังเคราะห์ในห้องทดลอง เป็นการเพาะเนื้อเยื่อในห้องแล็บจากเซลล์ต้นกำเนิด เป็นแนวคิดที่มีการพัฒนามาได้สักพักแล้ว เพราะหากทำสำเร็จย่อมจะมีข้อดีหลายประการ ทั้งสามารถลดการทำปศุสัตว์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาการปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ ลดปัญหาทางจริยธรรมในการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาบริโภค และการทำปศุสัตว์แบบเลี้ยงทรมาน



สาหร่าย

‘สาหร่าย’ หรือบางครั้งก็เรียกว่า ‘ผักทะเล’ เป็นเทรนด์อาหารอีกอย่างหนึ่งที่รุกเข้าสู่นิสัยการบริโภคของเราแล้ว คุณอาจเคยกินพวกมันในซูชิ หรือในรูปของสาหร่ายแปรรูปในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งอาหารเสริมยอดนิยมสำหรับคนรักสุขภาพ เช่นเดียวกับแมลง 

สาหร่ายยังก่อให้เกิดอันตรายเพียงเล็กน้อยต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีสารอาหารมากมาย ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นอาหารแห่งอนาคต ตัวอย่างเช่น บริษัทสตาร์ทอัพ Cascadia Seaweed ในแคนาดา ได้ดำเนินการทำฟาร์มนอกชายฝั่งและโรงเพาะเมล็ดแล้ว และตอนนี้ก็เน้นที่การเปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้บริโภค



ปัจจัยที่จะส่งผลต่อรูปแบบของอาหารในอนาคต

ในงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก Sial Paris 2018 นั้น Future Lab ได้มีการนำเสนอ 3 แนวโน้มที่ส่งผลต่อรูปแบบของอาหารในอนาคตปี 2030 ที่น่าสนใจดังนี้

1. กระแสการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์สำหรับเป็นอาหารกลับลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง จากการถูกแทนที่ด้วยที่อยู่อาศัย

จึงไม่แปลกที่ในอนาคตอันใกล้นี้ ผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่ อาทิ โปรตีนจากพืช และโปรตีนสัตว์อย่างแมลง จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค โดยปัจจุบันเริ่มมีผู้ผลิตนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกสู่ตลาดแล้ว ยกตัวอย่างเช่น สแน็กบาร์จากจิ้งหรีด สเปรดโปรตีนจากถั่ว และน้ำนมถั่ว เป็นต้น

2. แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ของประชากร ซึ่งส่วนใหญ่นิยมการเข้าเมืองเพื่อมาหางานทำและประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ที่มากกว่าการอาศัยอยู่ในชนบท ทำให้เกิดชุมชนเมืองที่มีการแข่งขันและการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ ส่งผลให้หลายครอบครัวมีเวลาในการปรุงอาหารเพื่อรับประทานด้วยตนเองลดน้อยลง

3. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ยังคงเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยแนวโน้มของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ผู้บริโภคต้องการในอนาคต จะต้องมาจากวัตถุดิบธรรมชาติที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น กลุ่มอาหาร Probiotic (อาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส และอาหารหมักดองด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นต้น) และกลุ่มอาหาร Prebiotic (อาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ Probiotic ในร่างกาย เช่น น้ำตาลแอลกอฮอล์ โอลิโกแซกคาไรด์ และอินนูลิน เป็นต้น) จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น



ตลาด Future Food โลกโต โอกาสทองผู้ประกอบการและ SME ไทย

จากข้อมูลช่วง 7 เดือนแรกปี 2565 ไทยมีการส่งออกสินค้าอาหาร มูลค่ารวม 906,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกได้ 698,329 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 29.7% นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ได้เปิดเผยว่า ประเทศคู่ค้าอาหารไทย 5 อันดับช่วง 7 เดือนแรกปี 2565 ได้แก่ 

1. จีน สัดส่วน 25% มีอัตราการขยายตัว 21% 
2. อาเซียน สัดส่วน 23% ขยายตัว 31% 
3.สหรัฐอเมริกา สัดส่วน 10.1% ขยายตัว 33% 
4.ญี่ปุ่น สัดส่วน 10% ขยายตัว 13% 
5. สหภาพยุโรป (อียู) สัดส่วน 7% ขยายตัว 33%

ซึ่งนอกจากการส่งออกสินค้าในรูปแบบเดิม ๆ ที่ยังขยายตัวได้ดีแล้ว ยังมีสินค้าอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่เป็น Mega Trend ของโลก ที่กำลังได้รับความนิยมและมีทิศทางการส่งออกที่ดีใน 5 กลุ่มได้แก่ 

1. อาหารที่คำนึงถึงโลก สภาพอากาศ และความยั่งยืน 
2. Flexitarian Vegan Foods (มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น) 
3. Whole Food (อาหารที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรือผ่านการปรุงแต่งน้อย) 
4. Immunity Boosting Food (อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน/ เสริมสร้างสุขภาพ) 
5. Functional foods (อาหารที่มีสารอาหารหรือคุณค่าอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ) ในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น Vegan Egg, Functional Fizzy Drink, Healthy Probiotic & Fiber Drink



ขณะที่ Forbes นิตยสารธุรกิจการเงินชั้นนำในสหรัฐอเมริกา คาด Future Food ของโลกในปี 2568 จะมีมูลค่าถึง 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับปี 2563

โดยมูลค่าการส่งออก Future Food ของไทย ปี 2564 มีมูลค่า 115,490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7% คิดเป็นสัดส่วน 10% ของการส่งออกอาหารในภาพรวม ส่วนช่วง 7 เดือนแรกปี 2565 มีมูลค่าส่งออก 95,592 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% สัดส่วน 12% ของการส่งออกอาหารในภาพรวม

โดยตลาดส่งออกสำคัญ Future food ของไทยช่วง 7 เดือนแรก ประกอบด้วย อาเซียน สัดส่วน 37% สหรัฐฯ 18% สหภาพยุโรป 11% จีน 10.9% และออสเตรเลีย 4%

ทั้งนี้ Future Food ของไทยที่มีการส่งออกมากสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ 
1. อาหารเสริมสร้างสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชัน (Functional Foods and Drinks) 
2. อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel Food) 
3. อาหารอินทรีย์ (Organic Foods) 
4. อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) 

ผู้ประกอบการและ SME ไทย สนใจรุกตลาด Future Food ควรปรับตัวอย่างไร?

การที่ภาคธุรกิจผลิตอาหารจะเติบโตในตลาดฟิวเจอร์ ฟู้ด อย่างยั่งยืน (Sustainability) ควรปรับตัวดังต่อไปนี้

1. ศึกษาตลาดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการตอบโจทย์ความต้องการทั้ง ประเภทอาหาร รสชาติ การทำ Marketing อย่างตรงจุด

2. เลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สนใจ เพื่อนำมาวิจัยและพัฒนา เช่น แมลงชนิดต่าง ๆ ศึกษาแนวโน้มความนิยม เพื่อสร้างความแปลกใหม่มีที่ยืนในตลาด 

3. วางแผนการลงทุน เนื่องจากต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต มีการลงทุนค่อนข้างสูงจึงต้องมีการบริหารต้นทุน รวมถึงการปรึกษาสินเชื่อทางการเงินกับสถาบันการเงินเพื่อสร้างสภาพคล่องในการขยายธุรกิจ

4. เนื่องจากเป็นสินค้าใหม่จึงต้องมีการทดลองตลาด เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จัก สร้างความคุ้นเคยในการเอาชนะใจผู้บริโภคประเทศนั้น ๆ

นอกจากนี้ภาคธุรกิจที่สนใจผลิตอาหารอนาคต ควรมองหาช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการสนับสนุนข้อมูลแนวโน้มสินค้า ตลาด รวมถึงรายชื่อผู้นำเข้าจากตลาดต่างประเทศ และผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่ควรทำต่อมาก็คือ ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

โดยมีทุนสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรต่าง ๆ หรือจะร่วมพัฒนาสินค้า - แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต, MTEC (ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น

เพื่อการคิดค้นอาหารทางเลือกเพื่อมาทดแทน กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิมและลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันด้าน Marketing กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ได้ ประสบความสำเร็จมีที่ยืนในอุตสาหกรรมผลิตอาหารอย่างยั่งยืน 


บทความอาหารเพื่ออนาคต :


แหล่งอ้างอิง : ฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรม สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
https://www.industry.go.th/th/industrial-economy/9980 
https://pmuc.or.th/?p=3846 
https://www.hdi.global/infocenter/insights/2021/future-of-food/ 
https://www.bbc.com/news/science-environment-61505548 
https://www.bbc.com/news/business-61523624

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ กลายเป็นโจทย์หลักของนักการตลาดในยุคดิจิทัล หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการดิสรัปด้านเทคโนโลยีรอบนี้…
pin
544 | 10/04/2024
5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

ประเพณีสงกรานต์ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สนับสนุนให้ “สงกรานต์” เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์เทศกาลระดับโลก…
pin
3412 | 10/04/2024
5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
971 | 25/03/2024
‘Future Food’ Mega Trend มาแรง สร้างอนาคตด้วยอาหาร สู่โอกาสทองผู้ประกอบการ SME ไทย