เมื่อ ‘ทายาท’ ไม่อยากสานต่อกิจการ ผู้บริหาร “ธุรกิจครอบครัว” ควรรับมืออย่างไร

Family Business
27/10/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 1543 คน
เมื่อ ‘ทายาท’ ไม่อยากสานต่อกิจการ ผู้บริหาร “ธุรกิจครอบครัว” ควรรับมืออย่างไร
banner
การดำเนินกิจการในรูปแบบของ ธุรกิจครอบครัวนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทุกคนมีเป้าหมายเหมือน ๆ กันคือการบริหารจัดการเพื่อให้ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ก้าวหน้า มั่นคง และพร้อมสืบทอดธุรกิจนั้นไปยังรุ่นลูกและรุ่นหลานต่อไปแบบไม่รู้จบ

อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจครอบครัวที่สมาชิกทุกคนซึมซับและสัมผัสการทำธุรกิจของรุ่นบุกเบิก และส่งไม้ต่อจากรุ่นสู่รุ่นมาโดยตลอด อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ทายาทธุรกิจที่เป็นรุ่นลูกหรือหลานนั้น มีความชื่นชอบในสายงาน หรือการบริหารธุรกิจที่ครอบครัวมีอยู่

โดยอาจจะมาจากเหตุผลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ต้องการเรียนรู้และหาประสบการณ์จากการทำงานข้างนอก หรือ ธุรกิจของครอบครัวไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการ, เห็นประสบการณ์ความเครียดความกังวลของพ่อแม่, อยากทำธุรกิจส่วนตัวของตัวเอง รวมถึงความคิดเห็นของพ่อแม่ และลูกไม่เหมือนกัน 



ซึ่งอาจจะทำให้หัวหน้าครอบครัวที่ต้องเตรียมสืบทอดทายาทรุ่นต่อไป ต้องเตรียมการรับมือเรื่องดังกล่าวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้มีทางออกในการแก้ไขปัญหาในทั้งในด้าน ‘การทำธุรกิจ’ และ ‘ครอบครัว’ ได้อย่างลงตัวและราบรื่น 

รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความเห็นว่า ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านธุรกิจและครอบครัว ต้องเริ่มการวางแผนโดยทำในรูปแบบก้าวบันไดให้สมาชิกครอบครัวที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารค่อย ๆ ได้เรียนรู้ทุกส่วนของธุรกิจ 



โดยอาจจะเริ่มที่บันไดขั้นต่าง ๆ ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ก่อนเข้าสู่ธุรกิจ เช่น พาลูกเข้าไปดูกิจการอย่างไม่เป็นทางการ ให้ลูกได้เรียนรู้ว่าธุรกิจนี้เป็นของครอบครัว และให้เขาได้เห็นการทำงานโดยภาพรวม 

ขั้นที่ 2 แนะนำให้รู้จักกับลูกจ้างพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจทุกคน 

ขั้นที่ 3 เมื่อทายาทธุรกิจสำเร็จการศึกษาและมีความสามารถเบื้องต้นในการทำงาน ควรให้เข้าทำงานเต็มเวลาเป็นพนักงานในตำแหน่งทั่วไปที่ยังไม่ใช่ตำแหน่งบริหาร เช่น อยู่ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขนส่ง 

ขั้นที่ 4 เมื่อเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้บริหารที่ดูแลทั่วทั้งกิจการ แต่การตัดสินใจนั้นต้องอยู่ที่พ่อแม่หรือผู้บริหารดั้งเดิม เพราะยังมีอิทธิพลความเป็นผู้นำเหลืออยู่ และที่สำคัญมีประสบการณ์การบริหารธุรกิจสูง 

และขั้นที่ 5 หากทายาทก้าวเข้ามาเป็นผู้บริหารอย่างเต็มตัว ต้องทำให้สมาชิกทุกคนในองค์กรเชื่อถือ และร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดประสงค์ของผู้บริหาร

การดำเนินธุรกิจครอบครัวบนความเปลี่ยนแปลงของโลก จำเป็นต้องอาศัยการประสานงานของคนทุกรุ่น เพราะอย่าลืมว่า ธุรกิจต้องเติบโต และถูกพัฒนาไป ซึ่งในบางครั้ง ลูกหลานคงทำเองหมดไม่ได้ การให้ประสบการณ์แบบค่อยเป็นค่อยไป จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งมอบกิจการ นำองค์ความรู้ต่าง ๆ เสริมสร้างให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อพัฒนาธุรกิจและขยายให้เติบโตต่อไป



ขณะที่ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า ธุรกิจครอบครัว ที่ดำเนินกิจการโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการสร้างความมั่งคั่งของประเทศต่าง ๆ มาหลายศตวรรษ คนส่วนใหญ่รับรู้ถึงความเสี่ยงและความสามารถอันเหลือเชื่อในการเปิดตัวกิจการใหม่ ๆ มากมาย อย่างไรก็ตามมีเจ้าของธุรกิจครอบครัวไม่มากนักที่จะเข้าใจความซับซ้อนในการจัดการเรื่องครอบครัวในธุรกิจ

แม้สิ่งที่ดีที่สุดของธุรกิจครอบครัวคือสมาชิกในครอบครัวอันเป็นรากฐานของความไว้วางใจและความจงรักภักดีต่อธุรกิจ แต่ในทางกลับกันก็อาจเกิดสถานการณ์ไม่ดีคือความขัดแย้งในครอบครัวที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจได้ และบ่อยครั้งก็เหตุทำลายความตั้งใจในการส่งผ่านมรดกจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย



การแยกธุรกิจ และครอบครัวออกจากกัน เพื่อความยั่งยืน

ความท้าทายของเจ้าของธุรกิจครอบครัวคือ การรักษาขอบเขตของครอบครัวและธุรกิจไม่ให้ก้าวก่ายกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบทบาทครอบครัวและบทบาททางธุรกิจอาจทับซ้อนกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก อาจทับซ้อนกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายและลูกจ้างเมื่อพ่อแม่เป็นนายจ้างของลูกด้วย ทั้งนี้ยิ่งสมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในธุรกิจมากเท่าใดก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น

และเมื่อเป้าหมายของธุรกิจตรงข้ามกับเป้าหมาย หรือความต้องการของครอบครัวแล้ว ปัญหาจะรุนแรงขึ้น สังเกตได้จากเรื่องธุรกิจจะปรากฎเป็นประเด็นบนพูดคุยบนโต๊ะอาหาร หรือเมื่อบทบาทของครอบครัวถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวกับธุรกิจมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความแตกแยกและจะขัดขวางการพัฒนาความสามัคคีในครอบครัวได้

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจะเพิ่มขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาแผนแยกธุรกิจ (business) และบริษัทครอบครัว (family enterprise) ซึ่งบริษัทของครอบครัวจะเป็นนิติบุคคลที่คอยดูแลผลประโยชน์จากธุรกิจครอบครัว มีลักษณะเป็นโฮลดิ้ง และ/หรือบริษัทบริหารทรัพย์สิน ธุรกิจครอบครัวกับบริษัทครอบครัวจึงมีพันธกิจ เป้าหมาย บทบาท และความคาดหวังที่ชัดเจน และแตกต่างกัน กุญแจสำคัญคือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาแต่ละส่วนให้ประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัญหาของครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ว่าปัญหาอะไรก็ตาม การพูดคุยและทำความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็นของกันและกันตั้งแต่แรก และไม่สร้างความกดดันให้ลูก จะช่วยลดปัญหาได้อย่างดี หากผู้บริหารที่รับบทบาทเป็นทั้งหัวหน้างานและ พ่อแม่ อยากให้ลูกสานต่อธุรกิจครอบครัว ควรแสดงให้เขาเห็นว่าการทำธุรกิจนั้นดีอย่างไร และสอนให้เขารู้จัก เข้าใจ รักงานที่ครอบครัวสร้างมา และผู้ที่จะมารับช่วงต่อนั้น พ่อแม่ให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัวเป็นอันดับต้น ๆ 

ในอีกแง่หนึ่ง ระหว่างที่ยังไม่มีการสืบทอดในตำแหน่งผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบมากนัก อาจจะใช้วิธีลองทำธุรกิจที่บ้านแบบ Part-Time เพื่อเรียนรู้งาน หรือการเปิดโอกาสให้ทายาทได้ออกไปเรียนรู้การทำงาน และสะสมประสบการณ์จากการทำงานข้างนอกจริง ๆ  เป็นอีกหนึ่งใบเบิกทางที่สร้างการเรียนรู่ใหม่ ๆ และเป็นมุมที่ธุรกิจครอบครัวอาจจะมองข้ามไป ซึ่งทายาทสามารถนำความรู้ที่ได้มากลับมาต่อยอดกิจการของครอบครัว และอาจจะนำมาซึ่งการปรับปรุงการบริหาร สร้างคอนเนคชันใหม่ ๆ ให้ธุรกิจครอบครัวเจริญก้าวหน้า ได้อย่างคาดไม่ถึง และจบปัญหาเรื่องการสานต่อธุรกิจที่บ้าน พร้อมการได้ทำในสิ่งที่ความชอบไปพร้อม ๆ กันอย่างลงตัว

อ้างอิงข้อมูล  : Myre, E. Dec 7, 2021. To Preserve the Family Legacy, Keep Business and Family Separate. Available:https://www.mpmwealthplan.com/blog/preserve-family-legacy-keep-business-and-family-separate

https://www.thansettakij.com/blogs/business/535604?fbclid=IwAR3x6WXchNPVpivKJfXDWKFRDWUTOmqdh3mc7mMR8v24pkh1P5RT-C1OS-Q

https://famz.co.th/page/home/

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
4510 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4181 | 30/03/2024
ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ธุรกิจครอบครัวที่บริหารด้วยค่านิยมแบบดั้งเดิม มักจะมีมุมมองว่าลูกผู้ชาย เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการในตำแหน่งหัวหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการหารายได้…
pin
5311 | 08/03/2024
เมื่อ ‘ทายาท’ ไม่อยากสานต่อกิจการ ผู้บริหาร “ธุรกิจครอบครัว” ควรรับมืออย่างไร