4 เคล็ดลับการส่งต่อกิจการ ให้การเปลี่ยนผ่าน ‘ธุรกิจครอบครัว’ ราบรื่น-ยั่งยืน

Family Business
12/02/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 12967 คน
4 เคล็ดลับการส่งต่อกิจการ ให้การเปลี่ยนผ่าน ‘ธุรกิจครอบครัว’ ราบรื่น-ยั่งยืน
banner
หลังจากบทความที่แล้ว เราได้พูดถึง ‘กับดัก’ 8 อย่าง ที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในการบริหารธุรกิจครอบครัว พร้อมทั้งอธิบายถึงวิธีแก้ไขไปแล้ว

อ่านบทความก่อนหน้า :

ครั้งนี้ เราจะขอนำเสนออีกหนึ่งประเด็น ที่เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจควรรู้และนำไปปรับใช้ ในมุมของการเปลี่ยนผ่าน เมื่อผู้บริหารรุ่นปัจจุบันวางแผนเกษียณตัวเอง และถึงเวลาต้องส่งไม้ต่อให้ทายาทธุรกิจเข้ามารับหน้าที่ ซึ่ง 4 เคล็ดลับสำหรับการส่งต่อกิจการเหล่านี้ จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่าน ‘ธุรกิจครอบครัว’ ราบรื่น-ยั่งยืนได้แบบมืออาชีพ



ธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ องค์กรธุรกิจที่อาจอยู่ในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน โดยมีบุคคลในครอบครัวเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ (51 - 100%) 

โดยกิจการในประเทศไทยส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นธุรกิจครอบครัว แต่โอกาสที่ ธุรกิจครอบครัวจะสามารถเปลี่ยนผ่านจากรุ่นแรกสู่รุ่นที่ 2 นั้น อยู่ที่ 30% ขณะที่โอกาสรอดจากการเปลี่ยนผ่านจากรุ่นที่ 2 ไปสู่รุ่นที่ 3 อยู่ที่ประมาณ 10% เท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า 90% ของธุรกิจครอบครัว ไม่สามารถดำเนินกิจการได้เกิน 3 รุ่น (อ้างอิง : Famgroup.com)

ทว่า เป้าหมายของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทั่วไป หรือ sme นั่นคือ ความยั่งยืนและยาวนาน  เมื่อผู้บริหารถึงวัยที่จะต้องเกษียณตัวเอง  สิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจครอบครัว ควรต้องทำความเข้าใจ คือทำอย่างไร จะลดรอยต่อให้ไร้อุปสรรค เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนผ่านกิจการ หรือการสืบทอดธุรกิจ (Succession Planning) ได้อย่างลงตัว เราขอสรุป 4 เคล็ดลับการส่งต่อกิจการ ให้การเปลี่ยนผ่าน ‘ธุรกิจครอบครัว’ ราบรื่น-ยั่งยืน ดังนี้



1. สร้างสมดุล ระหว่าง ‘ควบคุม’ กับ ‘ทำงานร่วมกัน’

ธุรกิจครอบครัว มีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้ง ทั้งเรื่องของการใช้อำนาจและการควบคุมของผู้ใหญ่ ไม่ต่างจากการทำธุรกิจอื่น ๆ  ซึ่งเมื่ออำนาจการบริหารต้องเปลี่ยนมือ อาจทำให้ปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้น 
บทบาทในการเป็นผู้นำในธุรกิจของครอบครัว ต้องอาศัยความเชื่อมั่นของสมาชิกในครอบครัวที่มีให้กัน ซึ่งหากทายาทธุรกิจไม่มีอิสระหรืออำนาจในการจะตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ หรือรู้สึกถึงความไม่ไว้วางใจในตัวเขา ท้ายที่สุดอาจเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย หรืออาจเลวร้ายถึงขั้นที่ทายาทไม่มีใจจะสานต่อกิจการในครอบครัว

เทคนิค คือการปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) โดยการสร้างความสมดุลในการบริหารระหว่างผู้ส่งต่อ และผู้สืบทอดให้สอดคล้องกัน เช่น มีการกำหนดแผนงานการสืบทอดตำแหน่ง ซึ่งกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจน ว่า ความรับผิดชอบเรื่องใด ใครเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว สมาชิกทุกคนต้องเคารพในเงื่อนไขที่ได้ตกลงร่วมกัน จะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของผู้ก่อตั้งและความยืดหยุ่นของผู้นำคนใหม่ ให้ดำเนินการตามวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ



2. เปลี่ยนมุมมอง และเปิดใจ

จากผลการวิจัยล่าสุดของ PWC ระบุว่า ธุรกิจครอบครัว ที่มีข้อตกลงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันนั้น จะมีความพร้อมในการสืบทอดตำแหน่งได้ดีกว่า แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการบริหารบริษัทให้เกิดความยั่งยืน สมาชิกครอบครัวต้องมีเป้าหมายในความสำเร็จร่วมกัน รับฟังและเปิดใจในการแก้ปัญหาร่วมกัน 

แม้ว่ารุ่นก่อตั้งส่วนใหญ่ มักจะมีความกังวลว่าทายาทธุรกิจ จะสร้างการเติบโตและต่อยอดให้เกิดความมั่งคั่งจากธุรกิจที่สร้างมาได้หรือไม่ ซึ่งวิธีที่จะคลายความวิตกจากเรื่องนี้ คือการเปิดโอกาสให้ทายาทได้แสดงวิสัยทัศน์ แบ่งปันมุมมองดูว่าพวกเขามีแนวคิดจะสร้างความมั่งคั่งของครอบครัว และรักษาคุณค่าของธุรกิจได้อย่างไรบ้าง 

เมื่อผู้ใหญ่เปิดใจและรับฟัง จะทำให้ลดช่องว่างของข้อสงสัย ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เหนียวแน่นขึ้น และก่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวทายาทรุ่นต่อไปที่จะเข้ามาบริหาร 



3. ปลูกฝัง และสร้างความคุ้นเคย

คุณพ่อคุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว ควรปลูกฝังลูกที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวคนต่อไป ให้เขามีความคุ้นเคยกับธุรกิจครอบครัว เพราะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเติบโตตั้งแต่วัยเยาว์ โดยในสมัยเด็กมักได้ติดตามพ่อแม่ไปที่บริษัท จึงมีความใกล้ชิดคุ้นเคยและมีโอกาสได้เรียนรู้ สัมผัสกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ระยะแรกเริ่มนี้คือ ระยะการตระเตรียมทายาทในวัยเด็กก่อนเข้าสู่ธุรกิจ เปรียบเสมือนการสร้างพื้นฐานเพื่อนำไปสู่ระยะที่ชัดเจน

ธุรกิจครอบครัวในมุมมองของหลาย ๆ คน คือ มีวิสัยทัศน์เดียวกัน ทุกคนมีส่วนร่วมในอุดมการณ์และความเชื่อในสิ่งที่ควรทำเหมือน ๆ กัน ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกพิเศษที่มุ่งมั่นและภาคภูมิใจ ที่เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ



4. ตอบคำถามในใจให้เคลียร์ ก่อนส่งต่อธุรกิจ

 ผู้ก่อตั้ง อาจจะลองต้องตั้งประโยคคำถามกับตัวเองไว้ในการวางแผนของกระบวนการถ่ายทอดธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในขณะที่กำลังส่งต่อธุรกิจให้ทายาท อาทิเช่น

 -คุณตั้งใจจะส่งต่อธุรกิจให้กับสมาชิกครอบครัวของคุณหรือไม่ 

- ทายาท ทราบในสิ่งที่คุณได้วางแผนไว้หรือไม่ 

- คุณเชื่อมั่นในสมาชิกครอบครัวของคุณว่ามีความพร้อม และมีความสามารถที่จะเข้ามาสานต่อธุรกิจของคุณหรือไม่?

- คุณได้ให้การสนับสนุนสมาชิกครอบครัวเพื่อให้พวกเขามีอำนาจการตัดสินใจทั้งเป็นการส่วนตัว และอย่างเป็นทางการต่อผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ หรือไม่ เป็นต้น

ซึ่งเมื่อหาคำตอบเหล่านี้ได้แล้ว และพบคำตอบว่าใช่ จากนั้น ให้หาจุดร่วมที่ทั้ง 2 รุ่นจะเดินไปด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสแห่งการเติบโตและขยายตัวต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดตามเรื่องราวดี ๆ ที่จะช่วยให้การบริหารธุรกิจครอบครัวของคุณ ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืนในบทความหน้า 

ขอบคุณข้อมูล
•รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย akachai@famzgroup.com

อ่านบทความ SME SERIES ที่น่าสนใจ :

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ การส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้แก่ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวรุ่นต่อไป เนื่องจากผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวอาจจะเป็นทายาทธุรกิจที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน…
pin
149 | 27/04/2024
5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
5001 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4601 | 30/03/2024
4 เคล็ดลับการส่งต่อกิจการ ให้การเปลี่ยนผ่าน ‘ธุรกิจครอบครัว’ ราบรื่น-ยั่งยืน