ต่อยอดธุรกิจสิ่งทอ สู่แบรนด์รักษ์โลก ‘Earthology Studio’ ชูโมเดล Circular Economy เปลี่ยนของเหลือใช้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่น

SME in Focus
22/04/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 2065 คน
ต่อยอดธุรกิจสิ่งทอ สู่แบรนด์รักษ์โลก ‘Earthology Studio’ ชูโมเดล Circular Economy เปลี่ยนของเหลือใช้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่น
banner
ในโลกธุรกิจปัจจุบัน นอกจากจะให้ความสำคัญกับการตลาดและผลประกอบการ อีกมิติหนึ่ง คือเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ประกอบการ SME และเจ้าของธุรกิจ ให้ความสนใจอย่างมากในขณะนี้ โมเดลการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ จึงเน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy แนวคิดการนำทรัพยากรที่ไปใช้แล้ว กลับมาแปรรูป และนำกลับไปใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



บทความนี้ Bangkok Bank SME ได้รับเกียรติจาก คุณกฤติกา ชัยวิไล Vice President บริษัทไทยแทฟฟิต้า จำกัด ผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมสิ่งทอแบบครบวงจรมายาวนาน และเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่น  Earthology Studio ด้วย Vision มุ่งมั่นเป็นผู้ผลิตสิ่งทอระดับโลก ที่พัฒนาสินค้าด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อมทุกกระบวนการในการผลิต 

คุณกฤติกา เล่าถึงที่มาว่า บริษัทไทยแทฟฟิต้า จำกัด อยู่ในธุรกิจสิ่งทอมา 34 ปี มีโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง การดำเนินงานมีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีเป้าหมายสู่การเป็นโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอที่ยั่งยืน และมีสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


คุณกฤติกา ชัยวิไล Vice President บริษัทไทยแทฟฟิต้า จำกัด

“ย้อนไปช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นแนวโน้มในการพัฒนาสิ่งทอที่เรียกว่า Sustainable Fiber และ Sustainable Material ยกตัวอย่างแบรนด์ใหญ่ที่ทำเรื่องนี้เช่น The North Face เราจึงมองว่า แฟชั่น ถือเป็นหนึ่งในบริบทของธุรกิจสิ่งทออยู่แล้ว เราจึงเริ่มตั้งแต่การทำ Innovation และ R&D เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงงาน ในการปรับเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ว่าจะทำได้อย่างไรบ้าง”

ช่วงโควิด ปัญหาที่เห็นได้ชัด คืออุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากโรงงาน หรือซัพพลายเชนหยุดชะงัก ทางแก้ คือการปรับตัวโดยหันใช้วัตถุดิบจากในประเทศ หรือสิ่งที่มีในท้องถิ่น โดยจังหวัดระยองซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน มีการปลูกสับปะรดจำนวนมาก จึงนำมาใส่นวัตกรรมและพัฒนาให้กลายเป็นวัตถุดิบทดแทน ซึ่งได้ผลดี



แบรนด์แฟชั่นรักษ์โลกจากวัสดุรีไซเคิล

มุมของซัพพลายเชน และการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น นอกจากเรื่อง Sustainable ยังเป็น Way Forword ด้วย ต้องตัดสินใจเลือกและลงมือทำเพื่อให้เกิดความยั่งยืน จากจุดนั้น กลายเป็นที่มาของการต่อยอดสู่ธุรกิจ แบรนด์สินค้ารักษ์โลกจากวัสดุรีไซเคิล Earthology Studio ที่นำคำว่า  Earth + Technology มารวมเข้าด้วยกัน

คุณกฤติกา กล่าวเพิ่มเติมว่า Earth มีความหมายและเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งแวดล้อม ส่วน Technology คือ Performance ทุกอย่างที่รวมกัน สื่อถึงเราเป็นธุรกิจสิ่งทอที่เน้นในฟังก์ชันและความยั่งยืน มีการใช้ระบบหมุนเวียนเพื่อดึงกลับไปที่บริษัทแม่ นำส่วนที่เป็นของเสียกลับมาใช้ 



“วัตถุดิบตั้งต้นของ Earthology Studio มาจาก 3 แหล่ง คือ 1) การรีไซเคิลวัสดุจากโพลีเอสเตอร์  หรือขวดพลาสติกที่ใส่น้ำดื่ม 2) Core Material คือการนำวัตถุดิบที่มาจากภาคการเกษตร (Agriculture Waste) เช่นหากเกษตรกรปลูกสับปะรด หลังจากปลูกและเก็บเกี่ยวจะมีใบเหลือทิ้ง จากเดิมต้องนำไปเผาหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เราเปลี่ยนเอาส่วนนี้มาพัฒนา แปรรูปใหม่เป็นผ้าแล้วนำมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์อีกมิติหนึ่ง 



อีกหนึ่งชนิดคือ Hemp  หรือกัญชง เรานำส่วนที่ต้องทิ้งกลับมาใช้เช่นกัน เป็น Post Consumer Waste และ Agriculture Waste ส่วนอีกตัวหนึ่งคือ 3) Closed Loop  การนำเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้วเข้าระบบรีไซเคิล และนำกลับมาทอเป็นเส้นใยอีกครั้งหนึ่งให้เป็นผ้าผืน ทำเป็น Product นี่คือระบบแบบ Closed Loop หรือ Circular business model”



Key Technology ของธุรกิจสิ่งทอ 

คุณกฤติกา ขยายความว่า ผ้าไฮบริด เมื่อนำ Natural fiber และ Synthetic fiber มาเจอกัน  กลายเป็นการเพิ่มฟังก์ชันให้เนื้อผ้าให้มีความแข็งแรง คงทนมากขึ้น เป็นนวัตกรรมที่บริษัท พัฒนาเพื่อตอบโจทย์ตลาดในประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยอากาศร้อน จึงเหมาะกับผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เราจึงลดการใช้คอตตอนน้อยลง และเปลี่ยนเป็นอัลเทอร์เนทีฟไฟเบอร์ที่ค่อนข้างตอบโจทย์กว่า อีกทั้งจุดเด่นของกัญชงคือจะมี Benefit เรื่องแอนตี้แบคทีเรีย คงทน แข็งแรง จึงเป็นพืชที่มีคุณสมบัติดีมาก 



เนื่องจากธุรกิจเรา Develop กับ Global Brand เราจึงมี Technical Know-how  เรื่องการ Development หรือ  Innovation เกี่ยวกับผ้า ซึ่งการพัฒนาไม่ยาก ส่วนที่ยาก คือการรวบรวมซัพพลายเชน ถ้าเป็นระบบภายในองค์กรเราจัดการได้ แต่ส่วนที่ทำร่วมกับเกษตรกร เป็นระบบอีโคซิสเต็ม ส่งเสริมกันในฐานะพันธมิตรเพื่อให้เกิดคุณค่าในการผลิตสินค้า ต้องทำให้เขาเห็นภาพร่วมกันว่า อนาคต Trends เรื่องความยั่งยืนมาแน่  แม้ว่าขณะนี้ Agriculture Waste ยังมีดีมานด์ไม่มากหากเทียบกับรีไซเคิล แต่หลายภาคส่วนเริ่มมีความเข้าใจ สำหรับเกษตรกร อาจต้องใช้เวลา ถ้าจะให้ดีและเห็นผลเร็วต้องมีการส่งเสริมจากภาครัฐ 



Circular Economy เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น

สิ่งที่ทำให้หลายคนรู้จักและชื่นชอบ Earthology Studio คือไอเดียธุรกิจรักษ์โลกที่นำขวดพลาสติก Transformsนำกลับมาเป็นโปรดักส์ใหม่ คุณกฤติกา เผยว่ากว่าจะมาเป็นผ้าผืน ต้องมีกระบวนการในการแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ ก่อน เช่น ฉลาก ฝาขวด จากนั้นนำไปบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เข้าสู่กระบวนการ ใช้เทคโนโลยีทำให้เป็นเม็ด แล้วฉีด จนกลายเป็นผ้า 



ปัจจุบันเทคโนโลยียิ่งมีการพัฒนามากขึ้น เรื่องของ Performance อาจจะไม่ต่างจากเส้นใยใหม่ แต่ต้นทุนพบว่าสูงขึ้น 10-15% ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการหาแนวทางเพื่อให้ธุรกิจ SME สามารถอยู่ได้ หากต้องการทำธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน



ขณะนี้ แบรนด์ Earthology Studio มีสินค้าแฟชั่นประเภทเสื้อ กางเกง หมวก รวมทั้งเรายังร่วมกับ Corporate เช่น ผลิตเสื้อตราบริษัทต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งเราตอบโจทย์ในเรื่อง Sustainable Product โดยลูกค้าจะ Compile ในเรื่อง ESG อยู่แล้ว  ยกตัวอย่างเช่น เรารับผลิตสินค้าที่นำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นเสื้อผ้า เนื่องจากเรามีภาคีที่จะร่วมมือกันในการนำขวดบรรจุภัณฑ์ของลูกค้าเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลที่สมบูรณ์ แล้วออกมาเป็นชุดพนักงานเพื่อลดของเสียและนำมาใช้งานได้จริง เราจะ Engage กับลูกค้าในเรื่องการนำขยะสิ่งทอหลังการบริโภค (Post-consumer) กลับมาเป็นสิ่งของที่ใช้งานได้ นอกจากนี้ เรายังสื่อสารกับลูกค้าให้เข้าใจเรื่อง Carbon Footprint ว่าในกระบวนการที่ทำครั้งนี้ ช่วยลดคาร์บอนไปได้เท่าไหร่ เป็นต้น



ทุกอย่างต้องมีจุดตั้งต้น

เหตุผลที่เราเลือกพัฒนาเส้นใยจากสับปะรด และกัญชง เพราะเรามีดีมานด์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กัญชง ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในตลาดโลก ถือเป็นวัตถุดิบที่ Poppular ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัว นอกจากนี้ ประเทศไทยเรายังมีพืชอีกหลายชนิดที่เป็นทางเลือกสำหรับนำมาพัฒนาต่อ



3 ปีแรกที่มีสถานการณ์โควิด ทำให้เราวางแผนจะ  Establish ในประเทศก่อน และค่อย ๆ ขยับขยาย การเติบโตในภาพรวมระดับโลก ซึ่ง 10% อยู่ในเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจเราทำตลาดในกลุ่มอาเซียน+3 ส่วน Next Step การที่เราทำงานร่วมกับ Global Brand ทำให้เราเห็นเทรนด์ เห็นแนวโน้มของกำลังซื้อ Retail Index ที่ชัดว่าในอเมริกา ยุโรป ในแง่คอนซูเมอร์ 



สำหรับตลาดต่างประเทศ เรื่องของความยั่งยืนกลายเป็นข้อกำหนดแล้วว่า ภายในปี 2025 วัสดุ 80% ของสินค้าแต่ละแบรนด์ ต้องมาจาก Preferred Material ในกลุ่มของ Recycled หรือ Organics ต้องมี Bio Based ส่วนในบ้านเรา ตอนนี้ผู้ผลิตเริ่มมีการรับรู้ และตื่นตัวมากขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลา เพราะเป็นกลุ่มในตลาดที่มีความเฉพาะตัวมาก ๆ 

เรามองว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจไทย มีนักลงทุนต่างชาติทั้ง เกาหลี จีน เข้ามาติดต่อพูดคุยเพื่อดูว่าจะพาร์ทเนอร์กันในรูปแบบไหนได้บ้าง ซึ่งผู้ประกอบการ SME ต้องคว้าโอกาสนั้นให้ได้ แล้วปรับตัวให้ทัน เพราะในอนาคตอันใกล้ ตลาดโลกมีดีมานด์แน่นอน  



สินค้าแฟชั่นรักษ์โลก มาตรฐานไทย และ Global

การทำธุรกิจ ต้องใส่ใจทั้งเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน เราให้ความสำคัญทุกกระบวนการ ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการผลิตทั้งหมด ซึ่งสินค้าเราได้การรับรองจาก GTO หรือองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นอกจากนี้ ยังได้รับรองมาตรฐานตามระบบ Bluesign®  Certificate จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ด้วย 
เราผลิตสินค้าในรูปแบบ Circular Economy ที่ค่อนข้างครบองค์ประกอบ รวมถึงให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (Carbon Footprint of Circular Economy Product)

คุณกฤติกา ระบุว่า SME ควรให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และควรมี Roadmap ก่อน แม้เราอาจจะยังไปไม่ถึง Net Zero แต่เมื่อทั่วโลกมีแนวโน้มดังกล่าวในทิศทางเดียวกัน เราต้องปรับตัวและพูดภาษาเดียวกับเขา เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมจะยังถูกพูดถึงและให้ความสำคัญไปอีกในระยะยาว



Position Brand : Sustainable Fashion

การทำความเข้าใจเรื่อง Sustainable Fashion ขณะนี้อาจจะเป็นเรื่องยาก เราคาดหวังให้การออกแบบของแบรนด์ Earthology Studio มีส่วนขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะสำหรับสินค้าแฟชั่นแล้ว ความสวยงาม คือปัจจัยแรกที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ จากนั้นจึงเป็นการศึกษาที่มาของผลิตภัณฑ์ การสร้างความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนจะทำให้รู้ว่าเราทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้วบ้าง?

เชื่อไหมว่า ขวดพลาสติก ถ้าเรานำมาแยกประเภทให้ดี สามารถกลับมาเป็นชุดพนักงานเก็บขยะของกทม.ได้ โดยไม่เสียเปล่า และสิ่งที่แฝงมาในเสื้อผ้าเหล่านั้น คือเราเพิ่มเรื่องความปลอดภัยในเสื้อผ้าด้วย เรามีเทคโนโลยีที่ทำกระบวนการเหล่านี้ 

ความมุ่งหวัง คืออยากให้แบรนด์ Earthology Studio เป็นแบรนด์ของคนไทย ที่ใช้วัตถุดิบทุกอย่างในประเทศทั้งหมด เพราะเราเน้นเรื่องการสร้างงาน และสร้าง Community หลังโควิด SME กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว นี่คือโอกาสในการช่วยเหลือกัน เรามีทีม Design และ Merchandise ที่ดี และเราอยากเป็นแพลตฟอร์มการทำงานที่มีคุณภาพซึ่งเป็นทีมคนไทย หากเราก้าวออกไปนอกบ้าน หรือตลาดต่างประเทศ เราจะเป็นแบรนด์ที่ Establish ในฝั่งเอเชีย เพราะซัพพลายเชนของเรามีครบทุกอย่าง

คุณกฤติกา ทิ้งท้ายด้วยแนวคิดเรื่องธุรกิจบนเส้นทาง Net Zero ได้น่าสนใจว่า ในฐานะ SME อาจจะมองว่าเรื่องการรีไซเคิล หรือสิ่งแวดล้อมเป็นคอร์สมหาศาลที่ต้องลงทุน แต่ให้เรามองว่าธุรกิจต้องเริ่มออกเดิน เพื่อดูว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง? เพราะถ้าไม่เริ่ม อีกไม่กี่ปีนี้ คุณจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจ จะสู้กับคู่แข่งยาก 

“โลกอนาคตไม่ได้สู้กันที่เรื่องราคาเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ผู้บริโภคจะดูว่าแบรนด์นั้น ๆ ทำเพื่อโลกมากแค่ไหน” 

ติดตามเรื่องราวของ บริษัทไทยแทฟฟิต้า จำกัด  และ Earthology Studio ได้ที่ 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
25 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
371 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
378 | 22/04/2024
ต่อยอดธุรกิจสิ่งทอ สู่แบรนด์รักษ์โลก ‘Earthology Studio’ ชูโมเดล Circular Economy เปลี่ยนของเหลือใช้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่น