แบรนด์ปรับตัวอย่างไร เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไปหลังโควิด-19

SME in Focus
09/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2707 คน
แบรนด์ปรับตัวอย่างไร เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไปหลังโควิด-19
banner

การระบาดของ COVID-19 ที่ตามมาด้วยมาตรการล็อคดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา ทําให้เกิดการหยุดชะงักในทุกด้าน ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปในหลายด้าน แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าความเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลที่ยั่งยืนแค่ไหน และจะกลับสู่ภาวะปกติอีกหรือไม่ แต่เชื่อว่าทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าและบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้จากรายงาน “Turn the Tide” ของ Facebook และ Boston Consulting Group ที่ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และแนะนําโอกาสสําหรับธุรกิจในการปรับตัวให้เท่าทันวิถีชีวิตแบบใหม่ หรือ “New Normal” ซึ่งมีกลยุทธ์ที่แบรนด์ต่างๆ น่าจะสามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้ อาทิ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. เชื่อมโยงผู้บริโภคผ่านช่องโซเชียลมีเดีย ในช่วง Social Distancing ที่ทุกคนต้องรักษาระยะห่างกัน โดยสร้างคอนเทนต์ หรือเลือกใช้ Influencers เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคให้มากขึ้น รู้สึกถึงความใกล้ชิดและเข้าถึงได้ง่าย

 2. เน้นกลยุทธ์ Hyper-Localization คือการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แคบลง สามารถช่วยให้แบรนด์ได้เปรียบจากการเข้าสู่ตลาดก่อนคู่แข่ง ซึ่งการเข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ แบรนด์ควรทําความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่นและเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ผู้บริโภคจดจําแบรนด์ได้ เพราะสมัยนี้ไม่มีแล้วคำว่าเมืองหลวงหรือบ้านนอก จะมีก็แต่เมืองใหญ่และเมืองรอง ซึ่งโอกาสในเมืองรองก็ไม่น้อยเช่นกัน

3. สร้างประสบการณ์ในโลกเสมือนจริง (Virtual Experience) มากขึ้น แบรนด์จึงควรประโยชน์นี้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น การไลฟ์บน Facebook หรือ Instagram เพราะยุคนี้คือยุคที่สังคมโซเชียลมีบทบาทสำคัญสำหรับทุก Generation เพียงแต่คุณต้องรู้ว่า ลูกค้าของคุณใช้ช่องทางไหนในการสื่อสารในโลกออนไลน์

4. แบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มๆ เพื่อจะได้สื่อสารตรงความต้องการแต่ละกลุ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคยุคนี้เริ่มใส่ในด้านคุณค่ามากขึ้น ดังนั้นแบรนด์ควรปรับการแบ่งสัดส่วนลูกค้าให้ดี เพื่อจะได้เสนอสินค้าหรือบริการของตนให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

 5. ปรับปรุงช่องทางการตลาดที่หลากหลาย หรือที่เรียกว่า Marketing Mix คือการใช้ช่องทางการตลาดและช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย การที่แบรนด์ปรับปรุงส่วนผสมทางการตลาด เพื่อสร้างความรับรู้และเติบโต การเลือกใช้แพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ และไม่ให้น้ำหนักไปในด้านหนึ่งด้านใดมากจนเกินไป

6. สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์อยู่เสมอ จะเรียกว่าตามกระแสก็ได้ เช่น มีไวรัลหรือดรามาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แบรนด์สามารถปรับใช้กระแสดังกล่าว เพื่อสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ให้ผู้บริโภคได้รับรู้อยู่เสมอ

7. หลังบ้านต้องแข็งแรงด้วยระบบดิจิทัล งานด้านระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าต้องเข้มแข็ง การแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องสําคัญมากสําหรับทุกแบรนด์ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRMSolutions) แบบดิจิทัล เช่น การส่งข้อความ แชทบอท หรือระบบอื่นๆ ที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ ในยุควิถีชีวิตแบบใหม่ หรือ “New Normal” การดําเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไป จึงทําให้พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้ประกอบการที่จะสามารถอยู่รอดในอนาคตซึ่งมีภาวะการณ์แข่งขันที่สูงและไร้พรมแดนได้นั้น จําเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดของตนให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอยู่เสมอ

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 

COVID-19 ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป

6 เทรนด์ต้องรู้ เพื่อช่วยเซฟแบรนด์



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
553 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
467 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
815 | 25/04/2024
แบรนด์ปรับตัวอย่างไร เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไปหลังโควิด-19