'สังคมสูงวัยจีน' เริ่มตั้งเค้าก่อวิกฤต..ที่แฝงด้วยโอกาส

SME Go Inter
09/01/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4060 คน
'สังคมสูงวัยจีน' เริ่มตั้งเค้าก่อวิกฤต..ที่แฝงด้วยโอกาส
banner

การมีผู้คนสูงวัยในประเทศจำนวนมากไม่เพียงแค่เป็นสังคมที่มีคนแก่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของทุกคนในอนาคต ดังนั้นจึงต้องเตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด รวมถึงการทำให้อยู่กับการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

ทั่วโลกเผชิญปัญหานี้ จีน ก็เช่นกัน


สถาบันวิจัยผู้สูงอายุของ Renmin University of China และสมาคมประชากรจีน คาดการณ์ว่า ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2564 - 2568 ภายใต้การทำงานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 ระยะ 5 ปี จีนจะมีประชากรผู้สูงอายุอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มากเกินกว่า 300 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่งผลให้แดนมังกรก้าวเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุระดับ ปานกลาง

ดังนั้นเมื่อปี 2556 จีนจึงเริ่มผ่อนปรน นโยบายลูกคนเดียว และเริ่มดำเนินการ นโยบายลูกคนที่สอง อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเตรียมตัวในการรับมือกับแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2559 - 2563 นโยบายลูกคนที่สอง ไม่ได้รับผลตามที่คาดการณ์ไว้

ก่อนเป็นเหตุผลให้เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2564 จีนอนุญาตให้คู่สามี - ภรรยามีลูกได้สามคน หรือเรียกกันว่าเป็น นโยบายลูกคนที่สาม โดยจีนมีมาตรการสนับสนุนต่างๆ เช่น การลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัว การปรับปรุงกฎระเบียบการลาคลอดบุตรและการประกันคลอดบุตรให้สมบูรณ์แบบ รวมทั้งเพิ่มการสนับสนุนด้านภาษีและที่อยู่อาศัย


ประชากรจีนเพิ่มต่ำสุดใน 60 ปี

ก่อนหน้านี้ ทางการจีนเปิดเผยว่า ในปี 2564 ประชากรจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพียง 12 ล้านคน นับเป็นจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ที่มีตัวเลขต่ำสุดนับจากปี 2504 เป็นต้นมา จำนวนประชากรที่เพิ่มน้อยลง ไม่เพียงจะกระทบต่อจีนเอง แต่จะมีผลต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก แม้เศรษฐกิจแดนมังกรอาจยังเติบโตอยู่แต่ก็จะชะลอตัวลง

การสำรวจประชากรระบุว่า ปี 2564 จีนมีประชากร 1.4 พันล้านคน ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มประชากรมีอัตราเฉลี่ยปีละ 0.53% สัดส่วนประชากรวัยทำงานลดจาก 70% ในปี 2554 มาเหลือ 63.4% ในปีที่แล้ว ส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงขึ้น

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จำนวนประชากรของจีนอาจเพิ่มขึ้นแบบติดลบ ลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น โดยแดนปลาดิบมีจำนวนประชากรมากสูงสุดในปี 2554 เกาหลีใต้ในปี 2562 และสิงคโปร์ในปี 2546 แต่ทั้ง 3 ประเทศนี้กลายเป็นสังคมของคนสูงอายุ ล้วนมีมาตรฐานชีวิตของประชากรในระดับสูง และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่มีคุณภาพ

ผลที่ตามมาเมื่อประเทศที่เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย

จากแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานและการออมลดลง รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลและปฐมพยาบาลผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้การลงทุน - รายได้ประชาชาติลดลง

ทั้งนี้การที่แรงงานลดลงอาจแก้ไขโดยการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรมาใช้ ทดแทนแรงงานคนหรือใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น หากไม่มีการเตรียมความพร้อมการจัดสรรทรัพยากรแรงงานที่จะลดลง จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้


ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ

จีนให้ความสำคัญกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศอย่างรวดเร็ว และเตรียมตัวรับมือ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ นโยบายลูกคนที่สอง อย่างเต็มรูปแบบในปี 2559 แต่ยังไม่สามารถบรรลุผลตามที่ คาดการณ์ไว้โดยในการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งที่ 7 พบว่าจำนวนประชากรวัยทำงาน (อายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี) และอัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรจีนลดลงทั้งคู่

นอกจากนี้ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ชาวจีนบางส่วนเป็นกังวลต่อความไม่แน่นอนของการจ้างงานและรายได้ จึงทำให้จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงไปอีก ซึ่งในปัจจุบันพบว่า แดนมังกรมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 260 ล้านคน ในที่นี้เป็นประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 190 ล้านคน

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของจีนเป็นอุปสรรคและปัญหาที่สำคัญในการทำงานของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดียังถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคธุรกิจ ไม่เพียงแต่ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุเท่านั้น ยังเป็นโอกาส ของธุรกิจสินค้าและบริการอื่นด้วย อาทิ ธุรกิจอาหารเสริม ธุรกิจบริการการแพทย์ ธุรกิจเครื่องสำอาง ธุรกิจ บริการเพื่อความบันเทิง รวมถึงธุรกิจบริการอีคอมเมิร์ซด้วย


ดังนั้นผู้ประกอบการไทยที่อยากเจาะตลาดสูงอายุจีน ควรใช้กลยุทธ์ทางการตลาดยอดฮิตด้วยการร่วมมือกับ KOL / KOC ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการผ่านสื่อโซเชียลมีเดียแดนมังกร เพื่อสร้างการรับรู้และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุชาวจีนได้มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น หากสามารถเสนอโปรโมชันทดลองใช้สินค้าฟรี หรือส่งสินค้าตัวอย่างให้ทดลองใช้ ก่อนชำระเงินสินค้าจริงก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถดึงดูดความต้องการจากผู้สูงอายุจีนได้ดีเช่นกัน

 

แหล่งอ้างอิง : กรมกิจการผู้สูงอายุ, ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

https://www.163.com/dy/article/GQ3IM9BF0534VBC0.html

https://thaipublica.org/2021/06/pridi251/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6358 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2044 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5096 | 23/10/2022
'สังคมสูงวัยจีน' เริ่มตั้งเค้าก่อวิกฤต..ที่แฝงด้วยโอกาส