ถอดบทเรียนออสเตรเลีย ‘จัดการซัพพลายเชน’ ช่วงโควิด-19

SME Go Inter
30/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3633 คน
ถอดบทเรียนออสเตรเลีย ‘จัดการซัพพลายเชน’ ช่วงโควิด-19
banner

การจัดการสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในสถานการณ์โรคระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือที่เราคุ้นกับคำว่าการจัดการ ‘Supply chain’ แปลเป็นคำศัพท์ภาษาไทยเรียกว่า ห่วงโซ่อุปทานอันหลายถึงห่วงโซ่การจัดการ ลองนึกภาพว่า โซ่หนึ่งเส้นจะประกอบด้วย ห่วง จำนวนมาก ซึ่งเป็นการบรรยายภาพตามลักษณะได้อย่างชัดเชน ซึ่งในอุตสาหกรรมต่างๆ ก็เช่นกัน ตั้งแต่การเตรียมการและจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การจัดเก็บดูแลรักษา จนไปสิ้นสุดที่กระบวนการส่งถึงมือลูกค้า นี่คือ ซัพพลายเชน

ซึ่งมักจะถูกเชื่อมโยงกับคำว่าโลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงการบริหารจัดการให้กระบวนการซัพพลายเชนมีความลื่นไหลและลดต้นทุนได้มากที่สุด เรียกว่า Supply Chain คล้ายกัน Logistic มากจนหลายคนเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน ทั้งที่จริงแตกต่างกัน ไว้เวลาเหมาะๆ มาหาโอกาสสรุปเรื่องนี้ให้ฟังอีกครั้ง

แต่ในที่นี้จะโฟกัสที่การจัดการ Supply Chain ในช่วงโควิด-19 โดยในที่นี้ขอยกเคสใน ประเทศออสเตรเลียกับการจัดการด้านซัพพลายเชน ที่มีความน่าสนใจมากสำหรับคนที่ศึกษาในด้านนี้ จากที่เห็นว่าช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประชาชนต่างแห่กักตุนอาหารและของใช้จนเกลี้ยงซูเปอร์มาเก็จ ซึ่งถือว่าอันตรายอย่างมากสำหรับการจัดการซัพพลายเชนลักษณะนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

 

สินค้าเกษตร

ประเทศออสเตรียมีความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารได้มากเกินความต้องการบริโภค ภายในประเทศ และในสถานการณ์ปัจจุบันยังมีความสามารถในผลิตได้ในระดับปกติ นอกจากนี้สินค้าจากประเทศออสเตรียเป็นสินค้าที่มีราคาสูงอยู่แล้วในตลาดโลก ประกอบกับมีระบบการกระจายสินค้าสู่ตลาดที่เข้มแข็ง ด้วยการกระจายผ่านบริษัทผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงยังไม่มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนสินค้าและการขึ้นราคาสินค้าอย่างไม่สมเหตุสมผล รวมทั้งไม่มีเหตุจูงใจให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสนำสินค้าไปส่งออกแทนการจำหน่ายแบบปกติ

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่ประชาชนแห่กักตุนสินค้าเป็นจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้สินค้าบางอย่างขาดตลาดชั่วคราว แทบไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร เนื่องจากขีดความสามารถและศักยภาพในการผลิตสินค้าอาหารและวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียไม่ได้เป็นประเทศต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากต่างประเทศเป็นหลัก

ทั้งนี้รัฐบาลออสเตรเลียได้ร่วมมือกับ National Farmers Federation (NFF) กำหนดให้ภาคผลิตทางการเกษตรและอาหารเป็น Essential Service ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจและแรงงานในภาคการผลิตดังกล่าว ได้รับการยกเว้นข้อจำกัดต่างๆ จากกฎระเบียบและมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการและสามารถผลิตสินค้าได้อย่างเต็มที่ เช่น การอนุญาตให้บุคลากรในภาคผลิตทางการเกษตรและอาหารสามารถทำงานได้ตามปกติ และการผ่อนปรนสำหรับการขนส่งวัตถุดิบและสินค้าที่เกี่ยวข้องในกรณีเดินทางข้ามรัฐหรือเข้าพื้นที่ควบคุม เป็นต้น

นอกจากนี้ภาคการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ถูกจัดให้เป็น Essential Service ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภาคผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ให้สามารถขนส่งและกระจายสินค้าให้ประชาชนอย่างทั่วถึง

อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรและการผลิตอาหารได้รับผลกระทบในด้านการส่งออก เนื่องจากเที่ยวบิน ผู้โดยสารถูกยกเลิกเที่ยวบินเกือบทั้งหมด ซึ่งสินค้าเกษตรและอาหารสด (อาทิ สินค้าอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ต้องพึ่งพาช่องทางการขนส่งทางเครื่องบินเป็นหลัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่มี Shelf live ที่สั้นและ ผู้บริโภคต้องการความสดใหม่ในการบริโภค

โดยที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียได้จัดเที่ยวบินพิเศษ เพื่อส่งออกสินค้าเกษตรและนำเข้าสินค้าจำเป็นกลับเข้าประเทศในเที่ยวบินขากลับ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการ stock สินค้าเกษตรที่ต้องส่งออก อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีบริการ Air Cargo Flight ในบางเส้นทางแต่ยังไม่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ

 

สินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าหลายรายการทั้งอุปโภคบริโภคในออสเตรเลียที่นำเข้าจากจีนเริ่มขาดตลาด ล่าสุด IGA ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้ระบุว่า ซุปเปอร์มาร์เก็ต IGA ซึ่งมีประมาณ 76 สาขาทั่วประเทศอาจประสบปัญหาสต๊อกสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ช็อคโกแลต มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ และบิสกิตลดลงในช่วงสั้นๆ เนื่องจากต้องนำเข้าบรรจุภัณฑ์จากโรงงานผลิตในจีน ซึ่งมีสต๊อกสินค้าที่จำกัด และหากการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาชะลอการกลับมาผลิตสินค้าใหม่ในจีนต่อไปอีก 3 สัปดาห์ จะส่งผลกระทบกับซุปเปอร์มาร์เก็ต

ร้านค้าอย่าง Mcdonald และ Subway ซึ่งพึ่งพาบรรจุภัณฑ์ที่นำเข้าจากจีน อาจต้องหาแหล่งผลิตบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก Polyethylene terephthalate (PET) ที่ผลิตในประเทศเอเชียอื่นๆ ทดแทน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาชาวออสเตรเลียจะซื้อสินค้าอาหารแห้งเพื่อเก็บตุนอาหารไว้ล่วงหน้า แต่ Woolworths และ Coles ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่า สินค้าที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเก็บไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า ยังมีเพียงพอต่อความต้องการและจะไม่ขาดตลาด เนื่องจากสินค้าที่จำหน่ายมีแหล่ง Supply มาจากหลายประเทศ และสามารถหาแหล่ง Supply สินค้าอาหารจากแหล่งอื่นทดแทนได้ ซึ่งรวมไปถึงแหล่งผลิตในออสเตรเลียเอง เช่น กระดาษทิชชู ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตในประเทศจากโรงงานของ Kleenex ในรัฐ South Australia และโรงงานของ Sorbent ในนครเมลเบิร์น โดยมีการนำเข้าจากจีนร้อยละ 40 เท่านั้น

ทางด้านรัฐบาลออสเตรเลียระบุว่า สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นอื่นๆ ในกลุ่มที่ผลิตได้ในเองในประเทศ ยังคงความสามารถในการผลิตตามปกติ และในกลุ่มที่ผลิตในยุโรปยังคงสามารถนำเข้าได้ตามปกติ ไม่มีแนวโน้มขาดแคลนในระยะเวลาอันใกล้นี้ ปัญหาหลักมีเพียงสินค้าอื่นๆ ที่ต้องนำเข้าทางอากาศ เนื่องจากปัจจุบันมีการลดเที่ยวบินเชื่อมต่อระหว่างออสเตรีย/ยุโรป และประเทศ อื่นๆ ลงมาก ส่งผลต่อระยะเวลาในการขนส่งสินค้าให้นานขึ้น

 

อุปกรณ์ทางการแพทย์และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคระบาด

สินค้าที่ขาดแคลนหลักๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อโรคและหน้ากากอนามัย ปัจจุบันมีการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากประเทศจีนเป็นหลัก โดยบริษัทผู้นำเข้าที่ตั้งอยู่ในประเทศออสเตรีย ซึ่งบริษัทเหล่านี้ยังยืนยันว่ามีความสามารถในการจัดหาหน้ากากอนามัยได้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากมาตรการ บังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ

นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้ผลิตในประเทศที่ปรับสายการผลิต มารองรับความต้องการของตลาดวางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งมีความพยายามในการกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคง่ายขึ้น เช่น การจำหน่ายหน้ากากอนามัยผ่านตู้ขายของอัตโนมัติตามสถานีรถสาธารณะ เป็นต้น

กระนั้นสำหรับสินค้าทางการแพทย์ เช่น ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค และหน้ากากอนามัย ที่มีความต้องการสูงและขาดแคลนในปัจจุบัน พบว่าส่วนใหญ่ถูกสงวนไว้ให้กับหน่วยงานทางการแพทย์และองค์กรที่มีความจำเป็นต้องใช้เป็นลำดับแรก ผู้ค้าส่วนใหญ่ปฏิเสธการจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป

 

การควบคุมราคาสินค้าจากภาครัฐ

ประเทศออสเตรียไม่มีกฎหมายเพื่อควบคุมราคาสินค้าเป็นพิเศษ แต่มีกฎหมายที่ป้องกันการค้ากำไรเกินควรที่เข้าข่ายการขูดรีดและมีบทลงโทษ ดังนั้นการตั้งราคาสูงเกินจริงเป็นสิ่งที่สามารถพบได้ยาก หรือไม่สามารถพบได้เลยในตลาดปกติในประเทศออสเตรีย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในตลาดมืดหรือตลาดรอง เช่น แพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ที่เป็นการซื้อขายระหว่างบุคคล อาทิ ebay และ Amazon ซึ่งมีกฎเกณฑ์และกลไกในการคัดกรองผู้กระทำผิดกฎในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ประเทศออสเตรียยังมีความเข้มงวดในการจัดเก็บภาษีและการป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งรัฐสามารถตรวจสอบได้จากความเคลื่อนไหวทางบัญชี รวมถึงบัญชีส่วนบุคคล จึงเป็นการยากที่จะมีผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป จะสามารถทำการบิดเบือนข้อมูลและกลไกทางการตลาด หรือกักตุนสินค้าในปริมาณมากเพื่อทำกำไรในลักษณะดังกล่าวได้


ปรับแผนสู่เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการผลิตและใช้ในประเทศ

กระนั้นในช่วงที่ผ่านมาออสเตรเลียเริ่มพิจารณาปรับใช้แผนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ออสเตรเลียสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ทั้งในช่วงที่มีการปิดพรมแดนและการหยุดการผลิตของประเทศที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน โดยการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตที่มีศักยภาพในประเทศให้มีความยืดหยุ่น สามารถผลิตสินค้าที่จำเป็นได้หลากหลายมากขึ้น และลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ

นอกจากนี้ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และพลังงานมากกว่าความต้องการบริโภคในประเทศ การพิจารณาดำเนินแผนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตการระบาดของ COVID-19 โดยยกระดับอุตสาหกรรมผลิตที่มีศักยภาพในประเทศ (อาหารและการแปรรูป) ส่งเสริมด้านการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฟาร์มเกษตรยุคใหม่ และใช้ความได้เปรียบด้านคุณภาพและชื่อเสียงของสินค้าที่เป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

การกระทำดังกล่าวซึ่งนอกจากจะเป็นการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้การส่งออก และการสนับสนุนการใช้งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในประเทศ เพื่อให้ออสเตรเลียพึ่งพาตนเองได้เป็นหลักและได้รับผลกระทบน้อย ในกรณีที่อาจเกิดวิกฤตรุนแรงอันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต

ถึงตรงนี้บทเรียนของ COVID-19 คราวนี้ได้สอนบทเรียนให้ออสเตรเลียได้ทบทวนและปรับแผนมาพึ่งพาตนเองมากขึ้น และยังได้ฟื้นฟูอุตสาหกรรมภายในประเทศอีกด้วย

ทว่าในมุมของการจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าแม้ออสเตรเลียจะมีทรัพยากรอย่างมากมาย แต่การจัดการในช่วงฉุกละหุกกลับประสบปัญหาจนเกิดสินค้าขาดแคลนในบางช่วง แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม รวมทั้งการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา ตัวอย่างแบบนี้จะเป็นบทเรียนสำหรับธุรกิจไทยเช่นเดียวกัน  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


การอัดฉีดงบกระตุ้นเศรษฐกิจรับมือโควิดของไต้หวัน

"ธุรกิจอาหาร" โอกาสที่ติดมากับวิกฤติโควิด



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6265 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5033 | 23/10/2022
ถอดบทเรียนออสเตรเลีย ‘จัดการซัพพลายเชน’ ช่วงโควิด-19