"ธุรกิจอาหาร" โอกาสที่ติดมากับวิกฤติโควิด

SME Go Inter
11/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4542 คน
"ธุรกิจอาหาร" โอกาสที่ติดมากับวิกฤติโควิด
banner

หลังเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือโควิด -19 ส่งผลให้หลายประเทศต้องปิดการเดินทางเข้าออกทั้งประชาชนและสินค้า นำมาสู่ภาวะความตื่นตระหนกของประชาชนที่ต้องลดการเดินทางออกจากบ้าน เปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากบ้าน หรือ Work from Home ส่งผลให้ต้องหันไปซื้ออาหารเพื่อกักตุนสต๊อกเอาไว้ใช้ในครัวเรือนเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น หรือบางกลุ่มก็หันไปใช้บริการอาหารเดลิเวอรี่เพิ่มมากขึ้น 

โดยประเภทสินค้าที่ประชาชนทั่วโลกกักตุนมากที่สุด จะเป็นกลุ่มสินค้าอาหารสำเร็จรูปที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ยาวนานอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น หลายประเทศโดยเฉพาะแถบตะวันตก สหรัฐฯ แคนาดา ต่างพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


นั่นคือโอกาสของ "ไทย" ซึ่งนับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารสำคัญของโลก จนได้ถูกเรียกขนานว่า "ครัวโลก" ด้วย เพราะไทยมีความสมบูรณ์วัตถุดิบเกษตรต้นน้ำ อุตสาหกรรมกลางน้ำ และปลายน้ำแปรรูปผลิตอาหารมากมาย

ข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ระบุว่าปัจจุบันไทยมีโรงงานอาหารอยู่มากกว่า 53,000 โรงงาน แบ่งเป็นการผลิตแปรรูปทางเกษตรประมาณ 43,000-44,000 โรงงาน โรงงานแปรรูปอาหาร 9,100 โรงงาน และโรงานผลิตเครื่องดื่ม 800 โรงงาน โดยผลิตเพื่อการส่งออกปีละ 1 ล้านล้านบาทเป็นอันดับ 11 ของโลก

อีกด้านหนึ่งผลจากความต้องการอาหารในทุกประเทศทั่วโลก นำมาซึ่งความกังวลต่อ "ปัญหาการขาดแคลนอาหาร" ในไทย ซึ่งในประเด็นนี้สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปมีรายงานระบุว่าชัดว่า ภาพรวมการผลิตปัจจุบันเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศมูลค่าปีละ 2 ล้านล้านบาท “มากกว่า” การผลิตเพื่อการส่งออกเท่าตัว อีกทั้งปัจจุบันโรงงานทั้งหมดใช้กำลังการผลิตอยู่เพียง 60-70% หากความต้องการเพิ่มขึ้นก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 100% เพื่อรองรับความต้องการของประชากรไทย  

พร้อมทั้งให้ความมั่นใจด้วยว่า หากสถานการณ์ยืดเยื้อยาวนาน ผู้ผลิตไทยมีการสต๊อกอาหารในระดับที่การันตีได้ว่าพอใช้ได้นานถึง 3 เดือน และมีการผลิตสินค้าเกษตรชนิดต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง


สำหรับปริมาณการสต๊อกต่อเดือนตามประเภทโรงงาน จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่า กลุ่มโรงงานผักและผลไม้แช่แข็ง แปรรูป สับปะรดกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋องผลไม้อบแห้ง น้ำผลไม้ กะทิ กลุ่มนี้มีสต็อกตั้งแต่ 42-606% 

กลุ่มอาหารทะเลแปรรูป เช่น ปลากระป๋อง มีสต๊อก195-436% กลุ่มอาหารทะเลแช่แข็ง130-291% กลุ่มไก่ และปศุสัตว์แปรรูป เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก เนื้อไก่ปรุงสุก มีสต๊อก16-50% บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีสต๊อก 23% นมมีสต๊อก 72% และน้ำดื่มมีสต๊อก 32% เป็นต้น 

ขณะเดียวกันโรงงานอาหารส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ และอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งวัตถุดิบกว่า 90% ส่วนวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบก็อยู่ในประเทศ ระยะเวลาการขนส่งประมาณ 1- 24 ชั่วโมง อย่างเช่น กลุ่มวัตถุดิบอาหารทะเล ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เดียวกับแหล่งวัตถุดิบเช่น สมุทรสาคร ชลบุรี สงขลา สมุทรปราการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงปิดอ่าวอาจจะทำให้สินค้าวัตถุดิบลดลง และมีวัตถุดิบบางส่วนต้องนำเข้าเช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ซึ่งจะใช้เวลาขนส่งประมาณ 2-12 ชั่วโมง เป็นต้น

ทั้งหมดนี้อาจะกล่าวได้ว่า ในวิกฤติยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหาร ขอเพียงจะต้องบริหารจัดการการผลิต วัตถุดิบ ระบบโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่ซัพพลายเชนไม่สะดุด ให้โรงงานต่างๆ วางแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินที่เรียกว่า แผน BCM หรือ Business Continuity Management ซึ่งเป็นการบริหารความต่อเนื่องการดำเนินงาน บริหารภัยคุกคามต่อองค์กร ต่อการดำเนินธุรกิจ และแนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้กับธุรกิจ

ขณะเดียวกันธุรกิจได้มีแผน BCP หรือ Business Continuity Plan ซึ่งเป็นแผนตอบสนองต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ภาวะฉุกเฉินและหรือภัยคุกคามได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องหยุดกิจการ อาทิ การคัดกรองพนักงาน และผู้เข้าพื้นที่อย่างเข้มงวด โดยการตรวจสอบประวัติย้อนหลังต้องไม่ผ่านการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง 14 วัน ตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายยต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส วางกฎระเบียบด้านสุขอนามัย ต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย รองเท้า ถุงมือกำหนดโซนพื้นที่ปลอดภัย และให้ความรู้พนักงานสม่ำเสมอ เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ผลิตอาหารกว่า 50% ได้ปรับรูปแบบการให้บริการใหม่ โดยหันมาให้ความสำคัญกับการขายผ่านช่องทางออนไลน์ และใช้ระบบเดลิเวอรรี่มาช่วยเสริมการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น


ดังนั้นจึงเชื่อมั่นได้เลยว่า หากผู้ประกอบการรายใดสามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย อย่างเพียงพอ ก็จะสามารถใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสกับธุรกิจได้ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


กล้วยหอมทองผลไม้ยืนหนึ่ง ตลาดญี่ปุ่นต้องการสูง

สตาร์ทอัพฝรั่งเศส เพาะเลี้ยงแมลงป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6264 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2025 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5031 | 23/10/2022
"ธุรกิจอาหาร" โอกาสที่ติดมากับวิกฤติโควิด