Economies of Scale มีผลต่อ SMEs ภาคการผลิตอย่างไร

SME in Focus
29/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 16672 คน
Economies of Scale มีผลต่อ SMEs ภาคการผลิตอย่างไร
banner

ผู้ผลิตมักมองหาวิธีการลดต้นทุนในภาคการผลิตที่ต่ำแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอยู่เสมอ เพราะการที่คุณสามารถผลิตสินค้าในต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งในตลาด นั่นเท่ากับเป็นโอกาสในการแข่งขันที่ดีกว่า และอีกนัยหนึ่งคือกำไรที่มากกว่า ดังนั้นวิธีหนึ่งที่มักนิยมใช้คือแนวคิดที่เรียกว่า การประหยัดต่อขนาด หรือ Economies of Scale เรามาดูถึงความหมายและวิธีการที่ธุรกิจของคุณได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้กัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การประหยัดต่อขนาด คือการลดต้นทุนการผลิตโดยการผลิตสินค้าจำนวนมากพอจนได้ต้นทุนที่ต่ำ หรือจะบอกว่ายิ่งผลิตมากเท่าใดต้นทุนก็จะยิ่งลดน้อยลง กระนั้นการประหยัดต่อขนาดในการผลิตนั้นคือความแตกต่างระหว่างต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ไม่เพิ่มขึ้นตามขนาดของการดำเนินการผลิตในขณะที่ต้นทุนผันแปรเป็น 

ตัวอย่างเช่นผลิตล้อจักยาน ซึ่งหากสั่ง OEM หรือจะผลิตเองคราวละมากๆ จนทำให้ต้นทุนในการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำลงได้ อย่างไรก็ตามการที่ธุรกิจสามารถมีผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้นหรือเกิดการประหยัดต่อขนาดภายในกิจการ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุได้แก่ 

- การประหยัดจากแรงงาน : ธุรกิจสามารถใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่แรงงานแบ่งงานกันทำเกิดความชำนาญเฉพาะทางขึ้น จึงผลิตผลผลิตได้เพิ่มมากขึ้นทั้งที่จ้างแรงงานจำนวนเท่าเดิม 

- การประหยัดจากการลงทุน :  ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนจากการลงทุนได้ คือเสียดอกเบี้ยให้กับค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนได้ลดลงต่อหน่วยการผลิต 

- การประหยัดในการจัดซื้อจัดจ้าง : ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยในการดำเนินการซื้อวัตถุดิบ การว่าจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วน เนื่องจากซื้อหรือว่าจ้างในปริมาณมากจึงได้ส่วนลดเพิ่มขึ้น 

- การประหยัดด้านการวิจัยและพัฒนา : เนื่องจากส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ดังนั้นหากยิ่งมีการผลิตมากขึ้นก็จะทำให้ค่าใช่จ่ายด้านนี้เฉลี่ยต่อหน่วยผลผลิตลดต่ำลงได้ด้วย

- การประหยัดด้านการใช้ทุน : เกิดขึ้นได้จากการสามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงได้อย่างคุ้มค่า เพราะมีการผลิตปริมาณมากๆ และลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตได้ 

- การประหยัดด้านส่งเสริมการขาย : การผลิตครั้งละมากๆ ทำให้ต้นทุนในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ เกิดการประหยัดต่อหน่วยการผลิตได้ 

- การประหยัดด้านการขนส่งและการกระจายสินค้า : เพราะเมื่อมีการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งและการกระจายผลผลิตลดลง เพราะเมื่อมีผลผลิตที่มากขึ้น ต้นทุนในการดำเนินการด้านนี้ย่อมลดลงได้ หรือแม้แต่การเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้บริการขนส่งภายนอกมาเป็นดำเนินการขนส่งและกระจายสินค้าเอง หากจะทำให้สามารถประหยัดต้นทุนลงได้ 

การประหยัดจากการใช้ประโยชน์ผลผลิตพลอยได้จากกระบวนการผลิต หรือ By-products ในบางธุรกิจ การผลิตจำนวนมากทำให้มีส่วนที่เหลือจากการผลิตจำนวนมากเพียงพอที่จะนำมาจำหน่ายหรือนำมาสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ 

อย่างไรก็ตามการผลิตครั้งละมากๆ ไม่ได้มีเฉพาะด้านดี ตัวอย่างเช่น การผลิตมาก นั่นหมายถึงการลงทุนในเงินจำนวนมาก ผู้ประกอบการต้องประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบในการระบายสินค้าและเก็บเงินลูกค้า ที่สำคัญการผลิตครั้งหนึ่งจำนวนมากยังหมายถึงการจัดเก็บและการดูแลรักษา ตรงนี้ต้นทุนด้านคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ส่วนหลังบ้านย่อมเกิดขึ้นแน่นอน

ผู้ประกอบการต้องลองชั่งนำหนักให้ดีว่าคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งต้องมองที่ออเดอร์และโอกาสในการระบายสินค้าเป็นหลัก เพราะจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของโควิด-19 ที่รอลุ้นว่าการระบาดระลอกสองจะเกิดขึ้นหรือไม่ ดังนั้นการเก็บเงินสดไว้กับตัว หรือที่เรียกกันว่า Cash is King ย่อมดีที่สุด

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


วิกฤต COVID-19 ‘ธุรกิจก่อสร้าง’ จะปรับตัวอย่างไร?

ราคาที่ธุรกิจ ‘ต้องจ่าย’ สู่การปรับตัวเป็น New Normal



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

“บริษัท เท็บโต จำกัด” ผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ Oracle NetSuite อันดับหนึ่งในประเทศไทย  กับแนวคิดการลงทุนนวัตกรรมเพื่อพิชิตตลาดโลก

“บริษัท เท็บโต จำกัด” ผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ Oracle NetSuite อันดับหนึ่งในประเทศไทย กับแนวคิดการลงทุนนวัตกรรมเพื่อพิชิตตลาดโลก

ในโลกของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ หนึ่งในเทรนด์ที่มาแรง คือ โซลูชัน ERP บนคลาวด์ ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ…
pin
4 | 16/05/2025
“เทวาศรม เขาหลัก” มอบสุนทรียะแห่งการพักผ่อน  ด้วยกลยุทธ์ Experience-Driven Hospitality ที่สร้างเอกลักษณ์เหนือระดับ

“เทวาศรม เขาหลัก” มอบสุนทรียะแห่งการพักผ่อน ด้วยกลยุทธ์ Experience-Driven Hospitality ที่สร้างเอกลักษณ์เหนือระดับ

เป็นที่รู้กันว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมในประเทศไทยมีการแข่งขันสูงเพียงใด ทว่า “เทวาศรม เขาหลัก” ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในรีสอร์ตหรูที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล…
pin
10 | 09/05/2025
“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)”  เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)” เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

ในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร การจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยวัตถุดิบคุณภาพสูงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งบริษัทที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะปรับตัวสู่แนวทางที่ยั่งยืน…
pin
15 | 29/04/2025
Economies of Scale มีผลต่อ SMEs ภาคการผลิตอย่างไร