‘ศรีราชา’ เมืองหลวงอุตสาหกรรมใน EEC

SME in Focus
22/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 7250 คน
‘ศรีราชา’ เมืองหลวงอุตสาหกรรมใน EEC
banner

อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีความได้เปรียบในการเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง พร้อมเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและหลากหลาย โดยเฉพาะเส้นทางทางน้ำมีท่าเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะแก่การขนส่งสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศ ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังซึ่งเป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ศรีราชา มีเนื้อที่กว่าหกพันไร่ จัดตั้งขึ้นรองรับการพัฒนาสู่การเป็นเมืองท่าพาณิชย์ ซึ่งจากการจัดอันดับ พบว่าท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือสำคัญอันดับที่ 16 ของโลก นอกจากนี้มีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 หรือมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี สามารถเดินทางสู่กรุงเทพมหานครเพียง 105 กิโลเมตร รวมถึงเส้นทางทางอากาศอยู่ใกล้สนามบินนานาชาติอู่ตะเภาเพียง 68 กิโลเมตร หรือจะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิก็ไม่ไกลนัก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

ที่ผ่านมา ศรีราชา ถูกนำไปผนวกกับพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยพยายามผลักดันตามแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศยุคอุตสาหกรรม 4.0 มีจุดมุ่งหมายพัฒนาตลาดและฐานการผลิตของไทย สู่การกระจายสินค้า การบริการ รวมถึงการลงทุน และแรงงานได้อย่างเสรี

โดยตั้งเป้าให้เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสต์ติก และการคมนาคมในระดับภูมิภาค ASEAN สามารถดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster จากต่างชาติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมหลายโครงการด้วยกันในแถบภาคตะวันออก นำร่องใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

ทั้งนี้จากแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ ทั้งการพัฒนาคมนาคมระบบรางด้วยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง และรถไฟรางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา –สุวรรณภูมิ และดอนเมือง

นอกจากนี้ยังก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด พร้อมพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังเฟส 3 เพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสต์ติก ส่วนการคมนาคมทางอากาศ มีแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อการพาณิชย์เต็มรูปแบบ ซึ่งแผนพัฒนาทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จไล่เรียงกันในปี 2560 – 2568 หากโครงการสำเร็จลุล่วงตามแผน ศรีราชา จะกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของภาคตะวันออกของไทย

จากสถิติจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2560 จำนวนแรงงานเฉพาะในเขตอำเภอศรีราชา พบว่ามีจำนวนกว่า 180,000 ราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนแรงงานสูงที่สุดในจังหวัดชลบุรี มีโรงงานในศรีราชากว่า 1,300 แห่ง

จากการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่พื้นที่นี้เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ หลายราย เริ่มพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ตอบรับดีมานด์ที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มดีมานด์ที่มีกำลังซื้อสูง ได้แก่ แรงงานผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในบริษัทแม่ ซึ่งมีฐานการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

โดยจำนวนแรงงานชาวญี่ปุ่นที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย พื้นที่ศรีราชาอยู่ที่ราว 8,000 คน หากรวมจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ย้ายมาอยู่ด้วย จะอยู่ที่ราว 10,000 – 15,000 คน นับว่าเป็นสถิติที่สูงมาก โดยลักษณะการพำนักนั้นเป็นแบบระยะสั้นและระยะยาว จนที่ผ่านมาศรีราชาถูกขนานนามว่า ‘Little Osaka’ เนื่องจากมีทั้งร้านอาหาร คอมมูนิตี้มอลล์ โรงพยาบาล และโรงเรียนสอนภาษาที่รองรับความต้องการพื้นฐาน และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะ


สำหรับ ศรีราชา ในมุมของ EEC อาจถูกเรียกว่าเมืองหลวงของอุตสาหกรรมใน EEC เพราะสภาพปัจจุบันเป็นศูนย์การลงทุนด้านพาณิชยกรรม ค้าปลีก โรงแรม ที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และกิจกรรมเศรษฐกิจสนับสนุนหน่วยกระจายสินค้าของแหลมฉบังและการพาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกของพื้นที่ภาคตะวันออกอยู่แล้ว ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นับเป็นฐานทางกายภาพและฐานทางเศรษฐกิจสำคัญ ที่จะทำให้ศรีราชาเป็นศูนย์เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตระดับสูงในอนาคต

ด้วยเหตุนี้จากศักยภาพของศรีราชา ภายใต้การเกิดขึ้นของการลงทุนใน EEC ศรีราชาจะกลายเป็นเมืองที่มีขีดความสามารถในทุกด้าน ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มที่กำลังมองหาทำเลทองสำหรับทำธุรกิจในชลบุรี เป็นไปได้ที่จะมองข้าม อ.พนัสนิคม มองข้ามบ้านบึง หรือแม้แต่พัทยา แต่จะมองข้ามโอกาสในศรีราชาอีกไม่ได้อีกต่อไป 

 

อ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

           : DDproperty

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ส่องแผนบริหารจัดการน้ำ ‘อีอีซี’

การส่งเสริมยานยนต์ EV โอกาสของ SMEs อยู่ตรงไหน?



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)”  เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)” เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

ในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร การจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยวัตถุดิบคุณภาพสูงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งบริษัทที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะปรับตัวสู่แนวทางที่ยั่งยืน…
pin
1 | 29/04/2025
“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)”  เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)” เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

ในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร การจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยวัตถุดิบคุณภาพสูงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งบริษัทที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะปรับตัวสู่แนวทางที่ยั่งยืน…
pin
0 | 29/04/2025
การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
7 | 18/04/2025
‘ศรีราชา’ เมืองหลวงอุตสาหกรรมใน EEC