เตรียมรับมือ! ส่งออกอาจเผชิญการกีดกันการค้าที่เข้มข้น

SME in Focus
14/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3607 คน
เตรียมรับมือ! ส่งออกอาจเผชิญการกีดกันการค้าที่เข้มข้น
banner

โควิด-19 เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ตั้งแต่พฤติกรรมของผู้คน สังคม การเมือง เศรษฐกิจประเทศ ไปจนถึงเศรษฐกิจโลก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 ได้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลง 3% โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ซึ่งจะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดนับแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Great Depression ในช่วงทศวรรษที่ 1930

โรคระบาดครั้งนี้ได้ฉุดให้โลกเข้าสู่วิกฤตการณ์ที่ไม่เหมือนวิกฤตครั้งใดๆ และการระบาดที่ยืดเยื้อจะเป็นบททดสอบความสามารถในการควบคุมสถานการณ์วิกฤตของรัฐบาล และธนาคารของประเทศต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์หลังจากโควิด-19 สงบลง อาจเกิดการกีดกันทางการค้าเกิดขึ้นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศตัวเอง ไปจนถึงเกิดการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (De-globalization) ที่อาจส่งผลต่อการนำเข้าและส่งออกสินค้าต่างๆ ด้วย 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลอะไรต่อเศรษฐกิจไทย 

ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทางด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และการขนส่ง โดยแต่ละประเทศมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนตามกระแสโลกาภิวัฒน์ มุ่งเน้นความเชื่อมโยงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละขั้นตอนการผลิตจนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global value chain) มาตั้งแต่ปี ค..1990 โดยไทยมีสัดส่วนการเข้าร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกอยู่ในลำดับที่ 21 จากทั้งหมด 59 ประเทศ

ดังนั้นจึงอธิบายได้ว่าโลกาภิวัตน์นั้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และทำให้เกิดการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการพึ่งพาปัจจัยและวัตถุดิบบางประการจากประเทศอื่นแทนสินค้าและวัตถุดิบที่ประเทศตัวเองมีน้อย หรือขาดแคลน เมื่อโควิดมาทำให้เศรษฐกิจโลกช้ำ หลายประเทศจำเป็นต้องหามาตรการมาเยียวยาตัวเอง โดยจะมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจในประเทศก่อน คือการพึ่งพาตนเอง ใช้ของภายในประเทศ

นั่นเท่ากับว่าอาจลดการพึ่งพาการนำเข้ามาของวัตถุดิบสินค้าอื่นจากต่างประเทศ ที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างเลี่ยงไม่ได้ และหากเป็นเช่นนี้จริงเศรษฐกิจประเทศไทยจะแย่ลงไปจากที่กูรูหลายท่านคาดการณ์ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวและการส่งออก โดยมีสินค้าเกษตร อุปกรณ์ไฟฟ้า แร่มีค่า ยานพาหนะ เป็นกลุ่มสินค้าหลัก และในปี 2019 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมกว่า 7.7 ล้านล้านบาท โดยส่งออกเครื่องจักร คอมพิวเตอร์และยานพาหนะสูงสุด

นอกจากนี้ไทยเรายังส่งออกยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลกและส่งออกข้าว น้ำตาล และเครื่องปรับอากาศ เป็นอันดับ 2 ของโลกอีกด้วย

หากเกิดการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ขึ้นมาหลังโควิด-19 สงบ อาจจะกระทบต่อการนำเข้าสินค้าและการส่งออกได้ เพราะจะทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นายสุพริศร์ สุวรรณิก ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ในเรื่องนี้ว่าการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (deglobalization) จะมีความเข้มข้นมากขึ้นหลังโควิด-19 ดังที่ได้เห็นหลายประเทศใช้นโยบายแบบเน้นตนเอง (inward-looking policy) หรือปกป้องทางการค้า (protectionism) โดยเฉพาะจากสงครามการค้าที่ปะทุขึ้นโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติอเมริกันกลับมาผลิตในประเทศมากขึ้น และกีดกันการค้าจากต่างประเทศนั้นกลับมาชัดเจนยิ่งขึ้นช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ฝ่ายขวาจัดและผู้ไม่สนับสนุนโลกาภิวัตน์เชื่อมั่นว่า การพึ่งพิงระบบการผลิตระหว่างประเทศมากเกินไปเป็นเรื่องอันตราย

ซึ่งจะเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานโลกที่มีอยู่แล้วให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นั่นคือประเทศต่างๆ จะหันมาพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานในประเทศตนเองเพิ่มขึ้นอีก และกระจายความเสี่ยงด้านการผลิตและขายสินค้าโดยไม่พึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น เพราะเห็นผลกระทบชัดเจนจากขั้นตอนการผลิตหรือตลาดขายสินค้าเมื่อยามที่ต้องปิดตัวลง ซึ่งเป็นผลจากมาตรการต่างๆ อาทิ การปิดเมืองหรือประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

 

มาตรการกีดกันทางการค้าที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ

สำหรับมาตรการกีดกันทางการค้าที่สร้างความยุ่งยากชัดเจนเรื่องการนำเข้า-ส่งออก ที่ทำให้เกิดปมขัดแย้งไปทั่วโลก จนฉุดเศรษฐกิจโลกให้ทรุดตัวลงคงหนีไม่พ้นกรณีข้อพิพาทของประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนในปัจจุบัน โดยมีรายงานที่บ่งชี้ว่านับตั้งแต่ปี 2551 บรรดาประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าใช้มาตรการกีดกันการค้ากันมากขึ้น และในจำนวนนี้ สหรัฐ เป็นประเทศที่ใช้มาตรการกีดกันการค้ามากที่สุดจำนวน 790 มาตรการ

อันดับ 2 คืออินเดีย 566 มาตรการ อันดับ 3 รัสเซีย จำนวน 423 มาตรการ อันดับ 4 เยอรมนี จำนวน 390 มาตรการ อันดับ 5 สหราชอาณาจักร จำนวน 357 มาตรการ อันดับ 6 บราซิลจำนวน 302 มาตรการ อันดับ 7 ฝรั่งเศส จำนวน262 มาตรการ อันดับ 8 จีน จำนวน 256 มาตรการ อันดับ 9 เม็กซิโกจำนวน 103 มาตรการ และอันดับ10 ซาอุดิอาระเบีย จำนวน 44 มาตรการ

ทั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่า ประเทศใดก็ตามที่มีมาตรการกีดกันทางการค้ามากข้อ มักจะประสบปัญหาประเทศอื่นไม่ปลื้มเอาได้ง่ายๆ

ซึ่งมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers/Non-tariff Measures) นั้นเป็นกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐบาลที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศได้แก่ มาตรการกึ่งภาษีอากร การควบคุมราคา การควบคุมปริมาณข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าบางชนิด การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า และมักจะมาแบบไม่ชัดเจนแต่มีผลกระทบต่อการค้าได้มากกว่าการจัดเก็บภาษีขาเข้า

ตัวอย่างมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non- tariff barriers) มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่

1. การเรียกเก็บภาษีที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non- tariff barriers) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) ภาษีธุรกิจ (business taxes) ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีที่นอกเหนือไปจากภาษีศุลกากร (customs duties) ที่มีการเรียกเก็บกันโดยปกติของการค้าระหว่างประเทศ 

2. การจำกัดปริมาณนำเข้า (Quantitative restrictions on imports) รวมถึงการออกใบอนุญาตนำเข้า (non-automatic licensing) การกำหนดสัดส่วนของชิ้นส่วนภายในประเทศ (local content requirements) การห้ามการนำเข้า(prohibited imports) การกำหนดโควตาการนำเข้า (trade quotas) และการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ (voluntary export restrictions) 


3. การกำหนดเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (sanitary and phytosanitary regulations) 


4. การห้ามนำเข้า (Import Prohibitions) 

5. การกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้า 

6. การกำหนดมาตรฐานสินค้าที่มีความแตกต่างไปจากมาตรฐานสากล ที่เป็นบรรทัดฐานของการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่มีมาตรฐานการผลิตอยู่บนพื้นฐานของระบบมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ ไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาดของประเทศตนได้


ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นกับบางประเทศหลังโควิด-19 สงบลง ซึ่งอาจกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยอีกมาก และเมื่อทิศทางเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องปรับแผนการดำเนินงานและเตรียมตัวรับมือไว้ด้วยเช่นกัน หากเมื่อวันหนึ่งการส่งออกทำได้ยากจากมาตรการกีดกันทางการค้า ค่าเงินบาท สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และอีกมากมายหลายปัจจัย จะรับมือกันอย่างไรแล้วจะปรับตัวไปเป็นแบบไหนหรือเกิดใหม่เป็นอะไร.

 

แหล่งอ้างอิง : ธนาคารแห่งประเทศไทย

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Mar2020.aspx  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร

เทรนด์เปลี่ยน! ดัชนีอุตสาหกรรมบางกลุ่มโตสวนกระแส




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
146 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
250 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
869 | 17/04/2024
เตรียมรับมือ! ส่งออกอาจเผชิญการกีดกันการค้าที่เข้มข้น