7 วิธี ‘รัดเข็มขัดการเงิน’ ให้ผ่านพ้นในทุกวิกฤติ

SME in Focus
27/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2283 คน
7 วิธี ‘รัดเข็มขัดการเงิน’ ให้ผ่านพ้นในทุกวิกฤติ
banner

การเงินในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่ให้ต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะการบริหารจัดการระเบียบทางการเงินได้ดี มีการวางแผนอย่างรอบครอบรัดกุม นอกจากจะทำให้รอดในทุกสภาพเศรษฐกิจแล้วยังจะช่วยให้เกิดความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ด้วย โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางการเงิน เพราะพิษโควิด 19 เล่นงานจนทำให้รายรับลดน้อยชะลอตัวทั้งในภาคธุรกิจและครัวเรือน ทางเลือกของการรอดจากสถานการณ์นี้คือการเข้มงวดกับการใช้จ่าย จัดระบบระเบียบทางการเงินใหม่ และหากใครยังไม่เริ่มต้นวางแผนทางการเงินอย่างจริงจัง ก็น่าจะได้บทเรียนกันไปบ้างแล้วในช่วงที่เศรษฐกิจหยุดชะงักจารการล็อคดาวน์เมือไปแล้วถ้วนหน้า

ถ้าไม่เริ่มต้นให้ความสำคัญกับการจัดการด้านการเงินก็เห็นทีว่าจะไม่รอด เพราะมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังคงดิ่งลง และอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 2 ปีกว่าจะฟื้นเศรษฐกิจให้กลับสู่ปกติ ซึ่งแน่นอนว่าอะไรๆ ย่อมเกิดขึ้นได้บนความมั่นคงทางการงานที่อาจจะไม่มั่นคงอีกต่อไปในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ดังนั้นหากอยากอยู่รอดผ่านสถานการณ์นี้และมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น นี่คือเทคนิควิธีรัดเข็มขัดทางการเงินให้รัดกุมและจัดการได้อย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในทุกสภาพเศรษฐกิจ

1. ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตัวเอง ด่านแรกคือต้องรู้ตัวเองก่อนว่าสถานการณ์ทางการเงินส่วนตัวเป็นอย่างไร ยังมีความมั่นคงและมีความสามารถในการหาเงินได้ปกติดีหรือไม่ มีรายรับเป็นอย่างไร รายจ่ายมากแค่ไหน ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ คือการจดบันทึกทำบัญชีรับ-จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต แค่เพียง 1 เดือนก็จะเห็นแล้วว่ารูรั่วอยู่ตรงไหน อะไรที่ควรตัดหรือมีต่อไป เพื่อประเมินสุขภาพทางการเงินละวางแผนรับมือได้อย่างรอบครอบรัดกุม โดยคิดจากรายรับที่มีในปัจจุบันเป็นตัวตั้งในสภาพที่ปกติไปจนถึงต้องรัดเข็มขัดกันอย่างเหนียวแน่น เพราะถ้าผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างช่วงขณะนี้ไปได้ ในวันที่เศรษฐกิจการเงินกลับมาเป็นปกติดี ก็อาจจะทำให้กลายเป็นคนมั่งมีไปเลยก็ได้

2. ลดรายจ่าย-ประหยัดให้สุดในทุกเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ โดยเฉพาะรายจ่ายฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นทั้งหลาย ควบคุมการใช้ไฟฟ้าประปาและค่ากินอยู่ในครัวเรือน ลดการท่องเที่ยวลง เพื่อยุติการรั่วไหลของเงินที่ควรไว้ใช้สำหรับเรื่องจำเป็น ในขณะที่การหารายได้เสริมนั้นทำได้ยากเต็มที ดังนั้นการลดรายจ่ายคือหนทางเพิ่มความมั่นคงทางการเงินได้ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้

3. หักเก็บก่อนใช้อย่างน้อย 15% ของรายได้ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือฟรีแลนซ์ การหักรายได้ที่ได้รับมาในแต่ละรอบบัญชีเก็บไว้ก่อน เป็นกฎเหล็กของการเก็บเงินที่ดี เพราะในความเป็นจริงแล้วการรอให้เงินเหลือแล้วจึงค่อยเก็บนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากไปจนถึงไม่สามารถทำได้เลย เพราะเมื่อมีเงินอยู่ในมือคนเราจะหาเรื่องใช้เงินในมือนั้นให้หมดไปโดยใช้อารมณ์นำเหตุผลเสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากมนุษย์เรามีพฤติกรรมการใช้เงินตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล ทั้งนี้เงินที่หักเก็บไว้ควรจะอยู่ในบัญชีที่ไม่ได้ผูกติดกับแอพพลิเคชั่น บัตรเดบิต หรือเอทีเอ็ม ที่พร้อมจะเข้าถึงข้อมูลบัญชีทางการเงินได้แค่เพียงปลายนิ้ว เพราะมีโอกาสที่คนเราจะหาเหตุผลแบบถูกอารมณ์ครอบงำในการใช้เงินเก็บนั้นๆ ได้ง่าย ทางที่ดีควรจัดสรรเงินเก็บส่วนนี้ไว้ในรูปแบบเงินหุ้นสหกรณ์ฯ บัญชีเงินฝากประจำ พันธบัตร หรือฉลากออมทรัพย์ ก็จะเป็นการปลอดภัยต่อตัวเองได้ดีกว่า และยังเป็นหนทางแห่งการออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณที่ดีอีกด้วย

4. ลงทุนในประกันชีวิต ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่าไง ราคาค่ารักษาพยาบาล ค่าวิชาชีพแพทย์ ค่าพยาบาลและค่ายารักษาโรคก็ไม่เคยลดลงเลย นอกจากนี้ค่ารักษาพยาบาลยังจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้หมดเนื้อหมดตัวหรือทำให้เงินเก็บมาทั้งชีวิตหายไปได้ในพริบตา ดังนั้นการมีประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุไว้จึงเป็นเสมือนหลักประกันอันมั่นคง ที่จะทำให้ไม่ต้องหมดตัวไปกับค่ารักษาพยาบาลที่แสนแพง หรืออาจเลวร้ายกว่านั้นคือเกิดสภาพหนี้จากค่ารักษาพยาบาลเข้าไปอีก ฉะนั้นจงทำไว้เถอะ เพราะถ้าอย่างน้อยรักษาโรคไม่หายจนถึงแก่การเสียชีวิตลงไป สามี ภรรยา พ่อ แม่ บุตรหลาน หรือเครือญาติ จะได้มีเงินจากเบี้ยประกันไว้เป็นทุนในการตั้งต้นชีวิตหรือจัดการงานศพให้โดยที่ไม่ทำให้คนที่คุณรักต้องเดือดร้อน

5. งดการลงทุนในทุกความเสี่ยง การลงทุนในความเสี่ยงทุกชนิดควรเลี่ยงหลบไปเลยในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ รวมถึงการพนันที่คนไทยทั่วประเทศ ทุกวงการชื่นชอบจนกลายเป็นกระแสนิยมและติดเป็นนิสัย อย่างการเสี่ยงซื้อลอตเตอรี่หรือหวยในภาษาชาวบ้าน ที่ทำให้ต้องควักเงินออกจากกระเป๋าได้ถึงเดือนละ 2 ครั้ง เพราะทุกคนมีความฝันถึงรางวัลใหญ่อันยั่วยวน ที่เป็นภัยคุกคามต่อการจัดระเบียบทางการเงินเป็นอย่างยิ่ง ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่มีงานทำหรือรายได้ลดลง ผู้คนจะยิ่งกล้าเสี่ยงโชคด้วยการซื้อลอตเตอรี่กันมากขึ้น เพราะมีความหวังที่แม้จะลมๆ แล้งๆ ก็ยังหวังกันทุกรอบว่าอาจถูกรางวัลใหญ่เข้าในสักวันหนึ่ง ซึ่งหากการเสี่ยงนี้กลายเป็นพฤตกรรมที่เสพติดไปโดยยากจะยับยั้งช่างใจได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง

6. จัดเก็บเงินสดไว้ใช้เผื่อในกรณีฉุกเฉิน หลังมีการหักเงินเก็บออมไว้ใช้ในระยะยาวไปจนถึงเป็นการวางแผนเพื่อเกษียณไปแล้ว ก็จำเป็นต้องมีเงินสดไว้ใช้เผื่อในกรณีฉุกเฉินด้วยเช่นกัน เพราะชีวิตมีสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ทุกวัน เช่น ลูกป่วย รถเสีย บ้านชำรุด ล้วนเป็นเหตุมาบั่นทอนสถานการณ์ทางการเงินให้สะดุดหยุดชะงักได้ทั้งสิ้น ซึ่งการวางแผนการเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่ดี ควรมีไว้ 3-6 เท่าของรายได้ที่หาได้เฉลี่ยตลอดเดือนในช่วงปกติ และอยู่ในบัญชีที่พร้อมเบิกจ่ายได้ตลอดเวลา  

7. ชำระหนี้ที่ต้องชำระอย่าผิดนัด หากชีวิตมีภาระหนี้สินพัวพันอยู่ในสภาพการที่สภาพคล่องทางการเงินลดลง แต่ยังคงชำระได้ไหว การคงสภาพลูกหนี้ที่ดีด้วยทำชำระหนี้ตรงเวลาเป็นประจำสม่ำเสมอ แม้จะเป็นเพียงยอดขั้นต่ำก็ควรจะทำต่อไป เพราะเชื่อเถอะว่าการปล่อยให้เป็นหนี้ค้าง หนี้เสีย หรือผิดนัดชำระ นั้นเป็นประสบการณ์อันเจ็บปวดมากกว่าการรู้ว่ายอดเงินที่จ่ายเพียงขั้นต่ำในยอดบัตรเครดิตนั้นไปลดเงินต้นเพียงเล็กน้อย และเหลือเป็นดอกเบี้ยมากมายเสียอีก เพราะการผิดนัดชำระจะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวดีดสูงขึ้นจากอัตราปกติ อีกทั้งยังตามมาด้วยเบี้ยปรับ และค่าธรรมเนียมต่างๆ อีกมากมาย ดังนั้นการรักษาเครดิตไว้ในสภาพดี ก็เป็นการจัดระเบียบทางการเงินที่ควรกระทำ และหากถ้าไม่สามารถผ่อนชำระต่อไปได้ไหว การเดินเข้าหาเจ้าหนี้เพื่อปรับสภาพโครงสร้างหนี้ใหม่ ก็เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามไปในสภาพการณ์เช่นนี้ด้วยเช่นกัน

สุดท้าย หากไม่มีเหตุผลและความจำเป็นเพียงพอ อย่าก่อหนี้ผูกพันเพิ่มขึ้นอีกในช่วงนี้ เพราะอาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ และส่งผลต่อรายจ่ายในระยะยาวด้วย หรือหากอยากลงทุนอะไรสักอย่าง ควรดูในแน่ชัดก่อนว่าสามารถไปได้ อยู่ในกระแส และเป็นสิ่งที่ผู้คนจำเป็นต้องใช้ เพื่อประกันความเสี่ยงในเบื้องต้น


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ เศรษฐกิจไทยยังไม่พ้นปากเหว

‘SMEs’ ฟันเฟืองพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
63 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
187 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
806 | 17/04/2024
7 วิธี ‘รัดเข็มขัดการเงิน’ ให้ผ่านพ้นในทุกวิกฤติ