มองโอกาส Food Tech จากกระแสบริโภค ‘เนื้อจากพืช’

SME Startup
27/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2769 คน
มองโอกาส Food Tech จากกระแสบริโภค ‘เนื้อจากพืช’
banner

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตในสิงคโปร์และในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก มีความสนใจเนื้อที่ทำจากพืช (plant based meat) เพิ่มมากขึ้น บริษัทผลิตอาหารปราศจากเนื้อสัตว์ต่างๆ ได้ทยอยกันเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท พร้อมกับนำเสนอความสำคัญของความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์และเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ กระแสดังกล่าวทำให้ต้องฉุกคิดว่าตลาดนี้อาจไม่ได้ง่ายๆ โตไว เพราะเกาะเทรนด์ใหม่อย่างที่คิด

แม้จากสถิติจากข้อมูลกลุ่มผู้บริโภคที่สำรวจโดย Nielsen พบว่า ยอดขายผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากพืชในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 265% รวมถึงรายงานที่เผยแพร่โดย World Economic Forum และสำนักข่าว Reuters ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการซื้อโปรตีนจากพืชในเอเชียเพิ่ม สูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลว่าเนื้อสัตว์อาจมีเชื้อไวรัสเจือปน

จากสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชทั้งบริษัทต่างชาติและบริษัทสตาร์ทอัพต่างขยายการลงทุนและขยายกิจการมากขึ้นทั่วโลก หยิบยกที่ใกล้ตัวเรา อาทิ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

บริษัท Next Gen ผู้ผลิตเนื้อจากพืชได้เปิดสำนักงานใหญ่และศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างเป็นทางการในสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 หลังจากที่มีการระดมทุนมูลค่ากว่า 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเงินทุนดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เพื่อรวบรวมทีมของบริษัทในสิงคโปร์และสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา เพื่อดำเนินการผลิตเนื้อจากพืช เนื่องจากสิงคโปร์มีสภาพแวดล้อมทางที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ ระบบนิเวศเกษตรอาหารที่กำลังเติบโต และกลุ่มคนทำอาหารหลากสัญชาติ โดยบริษัทมุ่งที่จะเป็นผู้นำในตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีใครทำมาก่อนอย่างเนื้อไก่ และจะเพิ่มช่องทางในการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการสร้างแบรนด์อีกด้วย

นอกจากนี้ รายงานข่าวยังระบุว่า หลายบริษัทกำลังระดมทุนเพิ่มสำหรับแผนการขยายธุรกิจในเอเชีย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีโอกาสในการพัฒนา ในขณะที่ตลาดสหรัฐฯ และยุโรปมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด

หรือกรณีบริษัทสตาร์ทอัพ Shiok Meats ผู้ผลิตอาหารทะเลจากเซลล์สัตว์ในสิงคโปร์ ที่ได้รับเงินระดมทุน มูลค่า 12.6 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก Enterprise Singapore ซึ่งพัฒนาโรงงานแห่งแรกในสิงคโปร์ ผลิตสินค้าเนื้อกุ้งทางเลือก

เห็นได้ว่าบริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทใหญ่ด้านอาหารทั่วโลกต่างเร่งคิดค้นหาวิธีการผลิตเนื้อจากพืช เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใส่ใจเรื่องโภชนาการและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตเนื้อจากพืช Impossible Foods และ Beyond Meat ต่างเพิ่มส่วนแบ่งการระดมทุนในสิงคโปร์ เพราะบริษัทมุ่งขยายไปยังตลาดใหม่ๆ ในขณะที่ บริษัทสตาร์ทอัพอื่นๆ ต่างมุ่งพัฒนาเนื้อจากพืชที่สร้างในห้องทดลอง สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการรับประทานเนื้อสัตว์จริงและอาหารทะเลที่ไม่ได้มาจากสัตว์มีชีวิต

 

สถานการณ์เนื้อจากพืชในไทย

สำหรับประเทศไทย อาหารประเภททางเลือก หรือในกลุ่มเนื้อจากพืช ย่อมไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใด เพราะหากทราบกันดีว่าในไทยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารมังสะวิรัติ อาหารเจ อาหารเผื่อสุขภาพที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์อยู่มากในตลาด

ทั้งมีการต่อยอดของบรรดาสตาร์ทอัพของไทย ที่มีการนำแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจผลิต “เนื้อจากพืช“ ซึ่งเป็น เทรนด์อาหารใหม่ บริโภคได้โดยไม่ทำร้ายสัตว์และได้ดูแลสิ่งแวดล้อมไปในคราวเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารให้กับโลกแล้ว ยังเป็นการเพิ่มอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ขณะเดียวกันเชนร้านอาหารรายใหญ่ในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาเมนูอาหารเพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มเนื้อจากพืชอีกมากมาย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ดังนั้นตรงนี้จะเห็นว่าแม้เทรนด์ในตลาดจะเปิดกว้าง แต่ผู้เล่นในตลาด และการแข่งขันก็เริ่มส่อเค้าดุเดือดขึ้นเช่นกัน

ดังนั้นผู้ประการด้านอาหารในไทยควรศึกษาอย่างจริงจัง ในเรื่องของโอกาสเนื้อจากพืชที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์หลักในตลาด อาทิ การต่อยอดจากสินค้าเกษตรไทย เช่นกลุ่มผลไทย ธัญพืชต่างๆ ที่เริ่มมีความต้องการสินค้าดังกล่าวในต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมพืชทดแทนเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น

1. การพัฒนารูปแบบให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากสินค้าดั้งเดิม

2. การเน้นกลุ่มเป้าหมายที่อยากจะลองเปลี่ยนมารับประทานพืชแทนเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นการบริโภคที่ยั่งยืน 

3. การพัฒนาการผลิตที่ต้องทันสมัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้รสชาติและรสสัมผัสที่เหมือนเนื้อสัตว์จริง   

4. สร้างความหลากหลายในตลาดให้แตกต่างจากสินค้ามังสะวิรัติแบบเดิม เช่น การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชหรือธัญพืช และชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ด้านโภชนาการของสินค้า

5. พยายามเสาะหาตลาดในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อาทิกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย อเมริกาเหนือ ยุโรป ที่มีกระแสความนิยมอาหารจากพืชเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ดังนั้น ประเด็นสำคัญของผู้ผลิตอาหาร และ Food tech สตาร์ทอัพคนไทยในขณะนี้ จึงไม่ใช่เทรนด์อาหารจากพืชอีกต่อไป แต่ต้องโฟกัสที่การสร้างความแตกต่างของสินค้า การพัฒนาช่องทางการตลาด การใช้ความดั้งเดิมสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ โดยอาศัยจุดเด่นที่ประเทศไทยเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ผลิตอาหารส่งออกทั่วโลก ที่สำคัญต้องใส่ใจด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ต้องทำควบคู่กันอีกด้วย ธุรกิจกิจนี้จึงจะสามารถแข่งขันในตลาดได้

 

อ้างอิง :  Straitstime//BusinessTimes//Nextgenfoods

           : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์

            http://omni-recipes.com/ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


โมเดลธุรกิจ ‘คิดนอกกรอบ’ จากสตาร์ทอัพอาหารเบลเยียม 

ขนมที่มีส่วนผสมของ ‘จิ้งหรีด’ โดนใจผู้บริโภคญี่ปุ่น



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2341 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4539 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2302 | 22/12/2022
มองโอกาส Food Tech จากกระแสบริโภค ‘เนื้อจากพืช’