Gift Economy โอกาสสินค้าไทยรุกตลาดจีน

SME Go Inter
24/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1979 คน
Gift Economy โอกาสสินค้าไทยรุกตลาดจีน
banner

ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ หลายๆ คนอาจจะกำลังนึกถึงการซื้อของขวัญเพื่อมอบให้คนพิเศษ ญาติมิตร หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ ซึ่งกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมการให้ของขวัญและการรับของขวัญเหล่านี้เป็นธรรมเนียมสากล แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Gift Economy  หรือเศรษฐกิจของขวัญ ซึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจนี้น่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้คือ จีน

เศรษฐกิจของขวัญจีนถือเป็นตลาดที่น่าจับตามอง เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการมอบของขวัญในช่วงเทศกาลต่างๆ และราคาต่อหน่วยในการเลือกซื้อแต่ละครั้งอยู่ในระดับกลางถึงสูง ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย ในการนำสินค้าไทยที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพสูง โดยเฉพาะผลไม้เกรดพรีเมี่ยม ขนมรับประทานเล่น ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ มีความเป็นไทย และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำมามอบเป็นของขวัญให้กับเพื่อน ญาติและผู้ใหญ่ ที่นับถือได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความสะดวกสบายในการบริโภคเป็นสำคัญ นอกจากนี้แนวโน้มผู้บริโภคหลักของตลาดของขวัญจีนเริ่มเปลี่ยนแปลง เข้าสู่ยุคของผู้บริโภควัยหนุ่มสาวที่เกิดระหว่างปี 1980–1999 (พ.ศ. 2523–2542) ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นสำคัญ

โดยหลายปีที่ผ่านมานี้ รายได้และรายจ่ายของประชาชนชาวจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ แม้ประชาชนชาวจีนบางส่วนจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด 19 แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ได้ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของขวัญจีน

บริษัท iiMedia Research บริษัทที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์ข้อมูลและการตลาดของจีน คาดการณ์ว่าในปี 2020 ขนาดของตลาดเศรษฐกิจของขวัญจะมีมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 4.5 ล้านล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับ 4.5 บาท) โดยปกติชาวจีนจะส่งมอบของขวัญในวันสำคัญและโอกาสต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

1. เทศกาลประเพณีดั้งเดิม โดยประชากรชาวจีนที่เกิดระหว่างปี1980–1989 (พ.ศ. 2523–2532) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.1 ของประชากรจีนทั่วประเทศ และชาวจีนที่เกิดระหว่างปี1990–1999 (พ.ศ. 2523–2542) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.1 ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักในสินค้าและบริการต่างๆ ในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคหลักของเทศกาลประเพณีดั้งเดิมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง

เนื่องจากประชากรที่เกิดระหว่างปี 1980–1989 (พ.ศ. 2523–2532) ได้กลายเป็นกลุ่มที่มีรายได้หลักของครอบครัว ในขณะที่การเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดปี1990–1999 (พ.ศ. 2523–2542) เริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การบริโภคของขวัญในเทศกาลประเพณีดั้งเดิมอย่างเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลบ๊ะจ่าง เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่หดตัวลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิตแต่ละรายเริ่มปรับเปลี่ยนนวัตกรรมการผลิตและแผนการตลาด ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่อย่างพร้อมเพรียงกัน

2. เทศกาลของคู่รัก จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 912 รายของบริษัท iiMedia Research พบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 78.0 นิยมส่งมอบของขวัญให้แก่คู่รักของตนในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ รองลงมาเป็นผู้บริโภคร้อยละ 62.3 ที่นิยมส่งมอบของขวัญให้แก่คู่รักของตนในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ของจีน ซึ่งตรงกับคืน 7 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินของจีน และผู้บริโภคร้อยละ 59.2 นิยมส่งมอบของขวัญให้แก่คู่รักของตนในวันบอกรัก 520 (วันที่ 20 พฤษภาคม) โดยราคาของของขวัญที่จะมอบให้แก่คู่รัก ปกติจะอยู่ที่ระดับกลางถึง ระดับสูงมาก การส่งของขวัญในเทศกาลของคู่รักจึงถือเป็นสิ่งที่น่าจับตามองของเศรษฐกิจของขวัญจีน

3. เทศกาลวันแม่และวันพ่อ ผู้บริโภคร้อยละ 34.6 ซื้อของขวัญในช่วงเทศกาลวันแม่ราคาประมาณ 300–500 หยวน รองลงมาเป็นผู้บริโภคร้อยละ 25.4 ซื้อของขวัญ ราคา 500–1,000 หยวน และผู้บริโภคร้อยละ 22.8 ซื้อของขวัญราคา 100–300 หยวน ตามลำดับ ขณะที่ราคาของขวัญที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในช่วงเทศกาลวันพ่อราคาอยู่ที่ 300–500 หยวน รองลงมาเป็น 500–1,000 หยวน และ 100–300 หยวน ตามลำดับเช่นเดียวกัน

4. เทศกาลวันครู ผู้บริโภคร้อยละ 42.6 มีพฤติกรรมส่งมอบของขวัญในช่วงเทศกาลวันครู เนื่องจากเป็นการแสดงออกถึงความเคารพครู ขณะที่ผู้บริโภคร้อยละ 41.2 รู้สึกว่าจะให้ของขวัญในวันครูหรือไม่ให้ก็ได้ และผู้บริโภคร้อยละ 16.2 ไม่มอบของขวัญในวันครู นอกจากนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชาวจีนมักจะแสดงการขอบคุณคุณครูในช่วงเทศกาลวันครู ด้วยการส่งมอบอั่งเปาและการ์ดอวยพรทางออนไลน์แทน จึงทำให้การส่งมอบของขวัญมีแนวโน้มลดลง

ทั้งนี้แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของขวัญ หรือ Gift Economy ในปี 2020 พบว่าการมอบของขวัญระหว่างบุคคลถึงบุคคล ดอกไม้สดออนไลน์ และการไลฟ์สดออนไลน์ เป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่จะผสมผสานเข้ากับการให้บริการอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในการผลิตของขวัญที่มีประโยชน์และคุณภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงเกิดรูปแบบของของขวัญที่มีการออกแบบและกำหนดเอง (DIY) และที่สำคัญที่สุด คือการเปลี่ยนแปลงการบริโภคของขวัญจากกลุ่มองค์กรเป็นรายบุคคล จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของขวัญจีนในอนาคต ให้มีความก้าวหน้าและขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับโอกาสของสินค้าไทยในเศรษฐกิจของขวัญในจีนนั้นมีมาก แต่ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และวางแผนการตลาดรูปแบบใหม่อยู่เสมอ ตลอดจนประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของจีน และใช้ Influencers ในการรีวิวสินค้าและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ให้มีความทันสมัย และมีนวัตกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อมและแปลกใหม่ เพื่อให้สินค้าไทยเป็นของขวัญที่สามารถครองใจผู้บริโภคชาวจีนยุคใหม่ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นผู้บริโภคที่มีความจงรักภักดีต่อสินค้าไทยได้ต่อไปในระยะยาว

 

แหล่งที่มา : https://www.iimedia.cn/c400/73004.html

                  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


การออกแบบ Packaging ยุคใหม่ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

‘จิ้งหรีด’ Novel Food แห่งอนาคตตลาดรับซื้อทั่วโลก


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6649 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2158 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5289 | 23/10/2022
Gift Economy โอกาสสินค้าไทยรุกตลาดจีน