เทรนด์โลกมุ่งสู่ Circular Economy ธุรกิจไทยควรปรับตัวอย่างไร?

SME in Focus
16/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1897 คน
เทรนด์โลกมุ่งสู่ Circular Economy ธุรกิจไทยควรปรับตัวอย่างไร?
banner

สหภาพยุโรป (อียู) นับเป็นอีกกลุ่มประเทศที่มีการกำหนดนโยบายในการลดขยะพลาสติก ลดการฝังกลบขยะ (Landfill) และเพิ่มปริมาณการรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ สะท้อนให้เห็นว่า “ระบบเศรษฐกิจแบบวงรอบ” หรือ “ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน” (Circular Economy) ได้ถูกผลักดันอย่างจริงจังทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2018 ได้ประกาศใช้ “2018 Circular Economy Action Package” ครอบคลุมเป้าหมายและนโยบายในการลดขยะพลาสติก การลดการฝังกลบขยะ และเพิ่มปริมาณการรีไซเคิล

ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจะถูกนำมาแทนที่ระบบเศรษฐกิจแบบเดิม (Linear Economy) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ “ใช้ (ทรัพยากร) - ผลิต - ทิ้ง” (Take-Make-Dispose) ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจะเข้ามามีบทบาทในอนาคตของภาคธุรกิจ ในการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่สำคัญของโลก

ในเมื่อประเทศอียูและชาติมหาอำนาจโลกกำลังให้ความสำคัญยิ่งยวดกับระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ทำให้ภาคธุรกิจไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกลับมาทบทวนกระบวนการดำเนินงานของบริษัทตนเอง และเตรียมพร้อมเพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตสินค้าให้ตรงกับชาติมหาอำนาจ

ตลอดทั้งการบริการให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ดังกล่าว ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำมาสู่การปราศจากของเสียก่อมลพิษทั้งกระบวนการของสินค้าและบริการครบวงจร

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โมเดลธุรกิจสู่ Circular Economy

สำหรับภาคธุรกิจไทยที่จะปรับตัวเข้าสู่ Circular Economy โดยเริ่มจากการทบทวนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของตนเอง การตั้งวิสัยทัศน์ของธุรกิจในการตอบสนองต่อ Circular Economy เรียนรู้ที่จะนำโมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย

1. Circular Design มุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ผู้ใช้สามารถซ่อมแซม อัพเกรด ปรับปรุง หรือตกแต่งใหม่ได้ รวมถึงออกแบบให้เอื้อต่อการนำผลิตภัณฑ์ไปรีไซเคิลได้ง่ายหลังจากที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว ซึ่งโมเดลธุรกิจในรูปแบบดังกล่าวต้องอาศัยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ไปใช้ซ้ำให้ได้มากที่สุด

2. Circular Supplies นำวัสดุจากการรีไซเคิล วัสดุชีวภาพ (Bio-based materials) และวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมดมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการเกิดของเสีย ตลอดจนการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต ปัจจุบันโมเดลธุรกิจในรูปแบบดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมากและมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว เช่น IKEA Sweden ได้เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้และขวดพลาสติก PET รีไซเคิล รวมถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นพลังงานหลักใน IKEA Store ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

3. Product as a service โมเดลธุรกิจที่มุ่งเน้นการนำผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาให้บริการในรูปแบบการเช่าหรือ “การจ่ายเมื่อใช้งาน” (pay-for-use) แทนการซื้อขาด ซึ่งเป็นการลดภาระผู้ซื้อในการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันเป็นการช่วยลดการซื้อที่ไม่จำเป็น และทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

4. Sharing Platform มุ่งเน้นการใช้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยธุรกิจที่นำ Sharing Platform ไปใช้ เช่น บริการแบ่งปันพื้นที่หรือสถานที่ทำงานร่วมกัน การเช่าพื้นที่ระยะสั้น การเช่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือบริการร่วมเดินทางที่ให้ผู้โดยสารใช้รถร่วมกัน เพื่อลดปัญหาการจราจร การปล่อยมลภาวะ และการใช้พื้นที่ในการจอดรถ

5. Resource Recovery การออกแบบให้มี “ระบบนำกลับ” (take-back system) ในกระบวนการเพื่อนำวัตถุดิบเหลือใช้ ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ถูกกำจัด ซึ่งยังสามารถใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการใหม่ เพื่อลดการเหลือทิ้งให้มากที่สุด

 

การนำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้สอดคล้องธุรกิจ

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และการสร้างระบบนิเวศของ Circular Economy ทั้งในการสนับสนุนโมเดลธุรกิจในข้างต้น การก่อให้เกิดการสื่อสารในช่องทางใหม่ๆ การพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่ลดลง ได้แก่

Digital Technologies บริหารจัดการข้อมูลและการสื่อสาร เช่น Big data, Blockchain และ Internet of Things (IoT) เป็นต้น ได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการติดตามข้อมูลการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโมเดลธุรกิจ Sharing Platform ก็ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน

Physical Technologies เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของวัสดุและพลังงาน เช่น เทคโนโลยี 3D-printing Nanotechnology สามารถช่วยในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงทนทาน และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ จึงลดการเกิดของเสียในกระบวนการ ขณะที่เทคโนโลยี Robotics ทำให้การผลิตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดค่าใช่จ่ายและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Biological Technologies ด้านโครงสร้างทางชีวภาพ เช่น Bio-energy Bio-based materials Hydroponics สามารถนำมาใช้พัฒนาวัสดุทดแทนที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ช่วยให้ธุรกิจลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เทคโนโลยีในกลุ่มนี้จึงมีบทบาทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ

นับวันโมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีเหล่านี้ที่ทั่วโลกที่นำมาใช้กับภาคธุรกิจและจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริม Circular Economy ได้เริ่มถูกนำมาใช้แล้วเช่นกัน ด้วยความเชื่อมั่นว่ารูปแบบธุรกิจและเทคโนโลยีเหล่านี้ จะช่วยสร้างมูลค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนไปพร้อมกับการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยจึงไม่ควรมองข้ามประเด็นดังกล่าวว่าเป็นเรื่องอยู่ไกลตัวอีกต่อไป แต่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวเพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ เพื่อแสวงหาโอกาสจากความท้าทายเศรษฐกิจยุคใหม่เติบโตไปกับทั่วโลกอย่างยั่งยืนและมั่นคงของธุรกิจ

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://www.set.or.th 

                                   http://ec.europa.eu 

                                   https://www.weforum.org  



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


BCG โมเดล สานพลังเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วงการพลาสติกเจอทางแยก ชีวภาพ- รีไซเคิล แบบไหนคือยั่งยืน?


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
331 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
327 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
676 | 25/04/2024
เทรนด์โลกมุ่งสู่ Circular Economy ธุรกิจไทยควรปรับตัวอย่างไร?