หากจะพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ตั้งแต่ช่วง 2564 เป็นต้นไปนี้ คงจะหนีไม่พ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ แม้ว่าช่วงปีที่ผ่านมา โควิด 19 จะพรากหลายสิ่งไปจากมนุษยชาติ ไม่ว่าจะความสุข เงินทอง หรือแม้แต่ชีวิตของผู้คนนับล้าน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของเราไปไกลกว่าสมัยก่อนมาก เพราะไม่ถึง 1 ปี ก็สามารถสร้างวัคซีนที่มีคุณภาพสูงพร้อมสู้กับเชื้อโรคร้ายนี้ได้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีสุดล้ำทางการแพทย์ที่ในอนาคตอาจจะเกิดขึ้นจริงอะไรบ้าง?
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1) Big Data และ AI เพื่อเพิ่มการดูแลผู้ป่วย
ในแต่ละวันบุคลากรทางการแพทย์จะต้องเจอเอกสารเป็นกอง
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ เอกสารประวัติการรักษา
พอผู้ป่วยจะย้ายการรักษาก็ต้องทำเรื่องส่งเอกสารวุ่นวายต่อไป
สิ่งแรกที่หลายท่านคาดหวังว่าจะได้เห็นก็คือ
แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากแหล่งที่มาแตกต่างกันไว้ในหนึ่งเดียว
เหมือนการใช้สมุดบันทึกอาการป่วยในเล่มเดียวกัน
เพื่อช่วยยกระดับให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลทางการแพทย์ที่มีคุณภาพเหมือนกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกใบนี้
รวมถึงมีระบบ
AI สามารถวิเคราะห์และระบุโรคจากอาการป่วยได้อย่างแม่นยำ
โดยประมวลจากข้อมูลอาการทั้งหมดที่มีอยู่ใน Big Data ต่อไป
รวมถึงแนะนำตัวยาและวิธีการรักษาที่เหมาะที่สุดกับอาการ
เพื่อเสนอให้แพทย์ตัดสินใจวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
2) เทคโนโลยีไบโอเซนเซอร์รูปแบบต่างๆ
ไบโอเซนเซอร์
หรือการใช้เทคโนโลยีที่มีเซ็นเซอร์มาติดไว้กับร่างกาย เพื่อตรวจเช็คอาการต่างๆ
เช่น ตามอาการโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน, อัตราการเต้นของหัวใจ, ระดับออกซิเจน ฯลฯ ยังเป็นที่ต้องการของผู้คนในตลาดต้องการอีกมาก
โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้งาน Biosensor กว่า 900
ล้านคน ในปี 2565 เลยทีเดียว
ทั้งนี้เชื่อว่าจะได้เห็นการพัฒนามากขึ้น
โดยอาจจะมีขนาดเล็กลงหรือทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น สามารถตรวจสอบระดับกลูโคสของผู้ป่วยเบาหวาน
ผ่านการระบายเหงื่อบนผิวหนังได้แบบเรียลไทม์, ตรวจจับการกลายพันธุ์ของ DNAได้ทันที, แจ้งเตือนเมื่อสัมผัสกับเอนไซม์กลูตาไธโอน
เอส–ทรานสเฟอเรส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื่อมโยงกับพาร์กินสัน
อัลไซเมอร์ มะเร็งเต้านม และโรคอื่นๆ ฯลฯ
3) หุ่นยนต์ ทำหน้าที่แทนบางส่วน
เมื่อพูดถึงหุ่นยนต์ในทางการแพทย์
หลายคนมักจะกังวลใจว่าจะเกิดความผิดพลาดไหม? จะมาแทนที่แพทย์ตัวจริงเลยรึเปล่า?
ความจริงแล้วที่ได้มีการคาดการณ์ไว้
อาจจะไม่ได้ถึงขั้นนำหุ่นยนต์มาแทนคุณหมอตัวจริงขนาดนั้น เพียงแต่ทำหน้าที่ในบางส่วนที่ไม่ซับซ้อนง่ายๆ
ไม่ใช่การรักษาผู้ป่วยโดยตรง หรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์
เช่น ช่วยต้อนรับและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย, นำส่งยา, ใช้ในทางการแพทย์ระยะไกล, เซ็นเซอร์และคัดกรองผู้ป่วยอัตโนมัติ,
ดูแลการฉายรังสี ฯลฯ
4) สร้างสิ่งเสมือนจริงก่อนลงมือทำการรักษา
ปัจจุบันเวลาทำการรักษาโดยเฉพาะการลงมือผ่าตัด
มักจะคุ้นเคยกับการตรวจร่างการผ่านภาพเอ็กซเรย์ 2 มิติ ก่อนผ่าตัดจริง
กระทั่งเริ่มมีการนำการพิมพ์ 3 มิติ
มาใช้ในการรักษาเพื่อช่วยทำอวัยวะทดแทนในบางส่วนให้เหมาะกับบุคคลนั้นๆ แล้ว
ยังมีแนวโน้มที่จะนำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือเทคโนโลยี VR
มาใช้ในการสร้างแบบจำลอง เพื่อให้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบด้าน
เหมือนเห็นอวัยวะของบุคคลนั้น ก่อนลงมือรักษาจริง
เพื่อลดข้อผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุด และลดระยะในการรักษาลง 30-40%
5) เครื่องมือเชื่อมต่อและส่งผลแบบเรียลไทม์
หนึ่งในปัญหาสำคัญของวงการแพทย์
คือมีบุคลากรไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วยได้ตลอดเวลา จึงมีแนวคิดมาตลอดว่า
อนาคตจะต้องสร้างตัวช่วยแบบ IoT ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วยไปยังแพทย์
โดยประมวลผลข้อมูลที่สำคัญได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์
สามารถติดตามอาการได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสทางการรักษาให้มีประสิทธิภาพ
เพราะหากมีปัญหาด้านสุขภาพเร่งด่วน ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทัน
ลดระยะเวลาของแพทย์และผู้ป่วยในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องพบโดยตรง
เพราะสามารถตรวจเช็คอาการผ่านเครื่องมือที่เชื่อมต่อกันแล้ว สั่งยาให้ได้ทันที
เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการเหมือนช่วงเดือนก่อนที่มาพบแพทย์โดยตรง ฯลฯ
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการแพทย์ถือเป็นเรื่องท้าทายที่น่าจับตามองกันไป
แต่ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อถึงวันที่เทคโนโลยีทางการแพทย์เหล่านี้สามารถช่วยลดต้นทุน
ทั้งในเรื่องเวลาของแพทย์ และค่าใช้จ่ายหลายๆ ด้าน ได้แต่หวังว่าทุกคนบนโลกใบนี้จะสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดีได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นต่อไป
ขณะที่สำหรับธุรกิจ
เรื่องนี้อาจจะเร็วไปที่จะมองหา New Business Model เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ
เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ยังอยู่ในช่วงพัฒนา ทำให้มีความเป็นไปได้มากมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จึงต้องมีการติดตามเทรนด์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด หรือาจมีเหตุการณ์ใหม่ๆ
ที่จะเปลี่ยนวงการแพทย์ไปในจุดที่เกินความคาดหมาย เช่นเหตุการณ์โควิด 19
ที่ระบาดในปัจจุบัน ทั้งยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะนำไปสู่จุดใด