How-to ห้าง/ร้านค้าปลีกที่เปิดตัวให้บริการท่ามกลางโควิด-19

SME Update
08/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2105 คน
How-to ห้าง/ร้านค้าปลีกที่เปิดตัวให้บริการท่ามกลางโควิด-19
banner

หลังรัฐบาลปลดล็อกให้ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้ากลับมาเปิดบริการได้ตามปกติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่ามีผู้คนกลับมาใช้บริการอีกครั้งอย่างคึกคักหลังจากปิดตัวไปนาน หากแต่การกลับมาให้บริการ/ใช้บริการครั้งนี้มีความแตกต่างและเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งในมุมของผู้ประกอบการและผู้มาใช้บริการที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ New Normal กับการใช้บริการห้างร้านหลังโควิด-19 ต้องมีการปรับตัวกันยกใหญ่ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการปลอดโรคให้แก่ผู้บริโภค และผู้ประกอบการร้านค้าในห้างฯ สิ่งที่ทางศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้นำมาปรับใช้เพื่อลดและเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แก่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. คัดกรองสุขภาพอนามัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้างร้าน โดยระบุให้

- พนักงานต้องสวมหน้ากากอนามัย และเฟซชิลด์ (Face Shield) ตลอดเวลา ขณะปฏิบัติงาน และทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังบริการ

- ตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานทุกคนทุก 3 ชั่วโมง และตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าใช้บริการทุกคน รวมถึงลูกค้า พนักงานร้านค้า พนักงานคู่ค้า พนักงานรับ-ส่งสินค้า DELIVERY ด้วย THERMO SCAN และ THERMOMETER ณ ประตูทางเข้าศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า โดยต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส จึงจะอนุญาตให้เข้าพื้นที่

- ควบคุมดูแลระบบระบายอากาศหมุนเวียน (Air Change) มากกว่า 10 เท่า เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งยังเพิ่มระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง UVC ในระบบปรับอากาศตลอดเวลา

- มีระบบติดตาม (Tracking) ข้อมูลลูกค้าที่มาใช้บริการ รวมถึงพนักงานที่เข้ามาปฏิบัติงานที่ห้างสรรพสินค้า

- คัดกรองตรวจสุขภาพพนักงานโดยจัดทำการ Tracking ข้อมูลสุขภาพ และการเดินทางของพนักงานบริษัทย้อนหลัง 14 วัน พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิของพนักงานทุกคนก่อนเข้าในพื้นที่ทุกวัน 100%

- พนักงานต้องลงทะเบียนการเข้า-ออก ทุกพื้นที่ปฏิบัติงานผ่าน Application (หรือผ่าน QR Code หรือ แบบฟอร์ม Online) ทุกวัน

- การ Self-Checked ตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานระหว่างวัน

- พนักงานทำความสะอาดต้องสวมถุงมือขณะปฏิบัติงาน

- สร้างการตระหนักรู้และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

 

2. ทำความสะอาดทุกจุดที่มีการสัมผัส ในบางจุดให้บริการมีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับการสัมผัสมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อโรคสะสมหรือเป็นช่องทางแห่งการแพร่กระจายเชื้อ จำต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้ง ได้แก่

- สินค้าที่จำเป็นต้องสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง อาทิ ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ เสื้อผ้า รองเท้า หรือแผนกเครื่องครัว ต้องนำสินค้าที่ลองหรือสัมผัสแล้ว ไปฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งทำความสะอาดภายในห้องลอง ด้วยการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังใช้บริการ

- ปูผ้าหุ้มพรม บริเวณประตูทางเข้า-ออก ห้างฯ พร้อมพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และเปลี่ยนผ้าวันละ 2 รอบ หรือบ่อยครั้งตามความเหมาะสมของแต่ละสาขา

- จัดให้มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ อาทิ ทางเข้าห้างฯ จุดประชาสัมพันธ์ เคาน์เตอร์แคชเชียร์ และในลิฟต์ทุกตัว รวมทั้งตรวจจุดติดตั้งเครื่องเจลแอลกอฮอล์ ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อเติมไม่ให้ขาด

- ทำความสะอาดห้องน้ำทุก 30 นาที และติดตั้งเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อโรคบนฝาสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ

- ทำความสะอาดตามรอบความถี่ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งทำความสะอาด Deep Cleaning ทั่วพื้นที่ขาย และห้องให้บริการต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เครื่องอบโอโซน และเครื่อง UVC เคลื่อนที่ หลังปิดทำการในแต่ละวัน พร้อมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคผ่าน Disinfecting Fogger Technology ทั่วทุกพื้นที่ และทำความสะอาดในจุดที่ลูกค้าสัมผัสมากด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อโรคทุกครึ่งชั่วโมง เช่น ราวบันไดเลื่อน ที่จับประตู และปุ่มกดลิฟต์ พื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด เช่น จุดเก้าอี้นั่งคอย และที่นั่งโดยสารภายในของ Shuttle Bus, Shuttle Boat เป็นต้น

- ทำความสะอาดบัตรจอดรถและบัตรศูนย์อาหาร ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้ง

- ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ร้านผู้เช่า ในระบบท่อน้ำทิ้งของศูนย์ฯ และร้านค้าทั้งหมด

- ล้างเครื่องส่งลมเย็นในพื้นที่ส่วนกลาง และใช้สาร Enzyme ฉีดเคลือบ Coil&Fin เพื่อยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ ทำความสะอาดระบบปรับอากาศด้วยเครื่องฆ่าเชื้ออบโอโซน

- แยกขยะหน้ากากอนามัยจากขยะทั่วไป

 

3. ลดความแออัดจำกัดจำนวน จากในอดีตที่เปิดให้บริการแบบไม่จำกัดจำนวนคนเข้าใช้บริการ เน้นเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด ท่ามกลางสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่ยังควบคุมไม่ได้ และยังไม่หายไปจากโลกแบบถาวร การลดความแออัดจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการต่อวัน กลายเป็นตัวเลือกที่ทุกห้างฯร้านเลือกใช้

- จำกัดจำนวนคนเข้าห้างฯ ไม่เกิน 1 คน ต่อ 5 ตร.ม. บางแห่งระบุจำนวนคนต่อวัน ผ่านระบบการนับที่เคร่งครัด

- กำหนดจุดเว้นระยะห่าง ทุกประตูทางเข้า-ออก และทุกจุดให้บริการ อาทิ เคาน์เตอร์แคชเชียร์ เคาน์เตอร์บริการลูกค้า จุดเข้าคิวห้องน้ำ จุดแลกซื้อ จุดรอลิฟต์ บันไดเลื่อน ร้านและศูนย์อาหาร

- มีการจัดที่นั่งเว้นระยะห่าง ณ พื้นที่ห้องบริการ และที่นั่งคอยในพื้นที่ขาย บริเวณเคาน์เตอร์ รวมถึงจุดบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับภาชนะต่างๆ ในห้องเลาจน์ อาทิ แก้วน้ำ และช้อน เปลี่ยนเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง

- จัดให้มีพื้นที่ติดต่อของบุคคลภายนอก และพนักงานรับส่งอาหาร โดยจัดทำป้ายและสติ๊กเกอร์การเว้นระยะห่าง รวมทั้งทำความสะอาดตามรอบที่กำหนด

- มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้ลูกค้าเว้นระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างกัน ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

- กำหนดทางเข้า-ออกของลูกค้า โดยใช้คนละข้างของประตู

- ทำฉากกั้นใส (Window Shield) ที่เคาน์เตอร์บริการลูกค้า และบนโต๊ะรับประทานอาหาร (Table Shield) ในร้านและศูนย์อาหาร

- ทำป้ายรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พร้อมข้อควรปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ อาทิ การใช้ห้องน้ำ การใช้ลิฟต์ และการใช้บันไดเลื่อนที่ปลอดภัย

 

4. สร้างสังคมไร้สัมผัส (TOUCHLESS SOCIETY)

- ส่งเสริมการชำระเงินผ่านโมบายแบงกิ้ง หรืออีเพย์เมนต์ แทนการชำระเงินสด *กรณีลูกค้าชำระเงินสด ทั้งธนบัตรและเหรียญที่ได้รับจะแยกไว้เพื่อนำไปฆ่าเชื้อโรคโดยการอบโอโซน และเงินที่ทอนให้ลูกค้าจะมีการใส่แผ่นรองเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง

- จัดพนักงานบริการกดลิฟท์ทุกตัวให้กับลูกค้า และฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในลิฟท์ทุก 10 นาที รวมถึงจัดพนักงานบริการเปิด–ปิดประตูศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าเพื่อลดการสัมผัส

- ลดการสัมผัสประตูห้องน้ำด้วยอุปกรณ์พิเศษ

- ส่งเสริมให้มีการช้อปปิ้งสินค้าทุกประเภทของห้างฯ ผ่านช่องทางออนไลน์

 

5. คัดกรองผู้เข้าใช้บริการอย่างเคร่งครัด มีระบบตรวจสอบได้ เรื่องนี้มีใช้มานานรับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย หากแต่เพิ่มการคัดกรองอย่างเข้มงวดขึ้น เพื่อรองรับระบบการตรวจสอบและเข้าถึงตัวบุคุคลที่มีความเสี่ยงได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ผ่านมาตรการ

- ลงทะเบียนก่อนเข้าออกภายในศูนย์ฯ ด้วย Mobile Application เพื่อเฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

- กำหนด Zoning ในการเข้า-ออก เพื่อให้ทุกคนผ่านจุดคัดกรอง 100%

- ติดตั้งเครื่องสแกนวัดอุณหภูมิร่างกายทุกประตูทางเข้าของอาคาร มีการนำนวัตกรรมสุดล้ำหุ่นยนต์อัจฉริยะ True5G Temi Thermal Scan, AutoBot มาช่วยวัดอุณหภูมิผู้ใช้บริการ และแจ้งเตือนได้ทันทีผ่าน Line Application ไปยังผู้เกี่ยวข้องกรณีมีผู้ที่อุณหภูมิเกินเกณฑ์กำหนด

- จัดให้มีจุดบริการเจลล้างมือกระจายครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ใช้ดำเนินการท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงไม่หยุดนิ่ง หากแต่ถ้าให้ปิดห้างฯ นิ่งนานไปเศรษฐกิจชาติและปากท้องคนไทยคงออกอาการสาหัสจนยากจะเยียวยา และในเมื่อต้องดำเนินธุรกิจต่อไปท่ามกลางความเสี่ยงของโรคระบาด นี่จึงเป็นหนทางการรับมือและนับเป็นการปรับตัวทุ่มทุนสร้างระบบป้องกัน เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้ต่อไปที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร้านค้าขนาดย่อมควรศึกษาไว้เป็นแบบอย่างแนวทาง.


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


แก้จน! รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิด-19

เกษตรยอดขายพุ่ง ฮิตติดตลาดออนไลน์รับ New Normal


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1588 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
2021 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2168 | 25/01/2024
How-to ห้าง/ร้านค้าปลีกที่เปิดตัวให้บริการท่ามกลางโควิด-19