ภาคอุตสาหกรรมชง ‘ข้อเสนอ’ ลดผลกระทบจากโควิด-19

SME in Focus
24/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2229 คน
ภาคอุตสาหกรรมชง ‘ข้อเสนอ’ ลดผลกระทบจากโควิด-19
banner

อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รายงานผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สถานประกอบการใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว นับตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 โดยมีสถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราว 4,458 แห่ง ส่งผลกระทบต่อลูกจ้างสูงถึง 896,330 คน และลูกจ้างที่ว่างงานจากกรณีลาออก เลิกจ้างจากการปิดกิจการ 332,060 คน รวมทั้งมีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ใช้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานฯ 62% กว่า 1,369,589 คำร้อง

ทั้งคาดจะมีเพิ่มขึ้นอีกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2563 หากมีการขยายมาตรการฯ กว่าอีก 800,000 คน รวมจะมีลูกจ้างในระบบที่ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 3,397,979 คน 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ขณะเดียวกันภาคเอกชนได้เสนอมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือและเยียวยา 7 ข้อ ดังนี้

1. ลดเงินสมทบประกันสังคมทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้างเหลือร้อยละ 1 โดยให้มีผลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

2. เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยจาก 90 วัน เป็น 150 วัน และขยายระยะเวลาการขอรับสิทธิประโยชน์ จากเดิมวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เป็นจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

3. เร่งพิจารณาการอนุมัติให้สามารถปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ โดยคิดค่าจ้างในอัตราชั่วโมงละ 40-41 บาทต่อชั่วโมง ระยะเวลาจ้างขั้นต่ำ 4-8 ชั่วโมงต่อวัน

4. ขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาการรับรองการอบรมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการจัดอบรม ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

5. ขอปรับอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 เหลือร้อยละ 0.01

6. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ ดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อปี

7. จัดสรรกองทุนเยียวยาผู้ประกอบการเพื่อรักษาเสถียรภาพการจ้าง โดยให้เงินเยียวยาแก่ลูกจ้างผ่านนายจ้าง

นอกจากนี้เสนอให้สํานักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาบรรจุโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงาน Upskill/Reskill ให้อยู่ภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (งบ 400,000ล้านบาท) เพื่อรับรองการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal  

 

เอกชนเปิดแผนฟื้นฟูหลังโควิด-19 มุ่งสนับสนุนสินค้าไทย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลัง COVID-19  ระบุว่า คณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลัง COVID-19 ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการวางแผนฟื้นฟูในระยะกลาง (6-12 เดือน) และระยะยาว (18-24 เดือน) โดยแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมดั้งเดิม 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ มี 3 ข้อหลัก ดังนี้

1) สนับสนุนสินค้าไทย (Made in Thailand) ซึ่งได้นำเสนอกับกรมบัญชีกลางในการปรับปรุงระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง ให้เพิ่มแต้มต่อในด้านการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมากขึ้น

2) เน้นการพัฒนาห่วงโซ่การผลิต ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ตลอดซัพพลายเชน ทั้งนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบจาก Trade War เมื่อปีที่ผ่านมา และยังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ขาดชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากการปิดประเทศและการ Lock Down ของจีน แต่บางอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการสั่งของจากต่างประเทศไม่ได้ จึงหันมาสั่งของจากไทย แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น จึงเป็นที่มาของ Deglobalization การหันกลับมาพัฒนาสิ่งของหรือวัตถุดิบใช้เองในประเทศ นอกจากนี้กรณี Trade War รอบสองเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ดังนั้นการจะทำให้ซัพพลายเชนในประเทศกลับมาได้ คือการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ

3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรและอาหาร ในขณะที่การส่งออกและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการจ้างงาน แต่ประเทศไทยมีต้นทุนที่ดีมาก คือความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นอุตสาหกรรม Bio Economy การทำเกษตรแปรรูป เกษตรเพิ่มมูลค่า จะเป็นสิ่งที่ตรงกับคนไทยมากที่สุดในอนาคต และเป็นความต้องการของโลกด้วย

สำหรับแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความสำคัญในอนาคต 6 อุตสาหกรรม ได้แก่

1. อุตสาหกรรมดิจิทัล

2. อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับสุขภาพ

3. เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ 

4. อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 

5. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์

6. อุตสาหกรรม Bio Economy  

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม, คลัสเตอร์ และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด โดยสภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะหน่วยงานภาคเอกชน เห็นว่าเรื่องแผนฟื้นฟูควรเป็นแผนระยะยาวที่มีความยั่งยืนและต่อยอดได้ ดังนั้นความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นความร่วมมือจากคลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัด โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการสำเร็จได้ คือ

Ownership ต้องมีเจ้าภาพดำเนินการ อาจเป็นมืออาชีพ หรือผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ

Business Plan ต้องมีแผนธุริจที่ชัดเจน การดำเนินงานจะต้องมีกำไร ขยายต่อไปได้อย่างยั่งยืน

Co-Operation การเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


แบงก์ชาติปรับเงื่อนไข ‘คลินิกแก้หนี้’ ลดผลกระทบโควิด-19

ธุรกิจน่าทำช่วงหลังโควิด-19 ปรับตัวให้สุดปังกับ New Normal


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
474 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
429 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
777 | 25/04/2024
ภาคอุตสาหกรรมชง ‘ข้อเสนอ’ ลดผลกระทบจากโควิด-19