ญี่ปุ่น นำเทรนด์ "ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ"

SME Go Inter
25/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4959 คน
ญี่ปุ่น นำเทรนด์ "ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ"
banner

ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ประเทศทั่วโลกต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเฉพาะ"ญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นผู้นำด้านนี้ เพราะภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเกาะล้อมรอบด้วยทะเล ประกอบกับที่ผ่านมาญี่ปุ่นเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมพลาสติกของโลก โดยมีขนาดเป็นอันดับ 2 รองจากจีนการดูแลสิ่งแวดล้อมจึงถือว่าสำคัญมาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


พลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic หมายถึงพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย ที่มีการออกแบบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายใต้สภาวะจากการทำงานของจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ทั้งนี้ พลาสติกชีวิภาพมีทั้งแบบที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ หรือ (Compostable Plastic) ซึ่งมีทั้งที่ผลิตจากพืชบางชนิด และผลิตจากปิโตรเคมี เช่น PLA และ สลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ หรือ (Non  Compostable Plastic) ซึ่งผลิตจากพืชแต่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ภาชนะสำหรับอาหารร้อนและเย็น (Bio-PP) และถุงพลาสติสำหรับอาหารร้อนและเย็น (Bio-PE)

ตลาดพลาสติกชีวภาพในประเทศญี่ปุ่นขยายตัวก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง (ตารางประกอบ) นับจากปี 2014 กระทั่งถึง ปี 2017 มีปริมาณ 47,780 ตัน จากการนำไปใช้สำหรับในภาคครัวเรือและภาคอุตสาหกรรม จากกระแสการรณรงค์ของทั่วโลกที่ให้ควาสำคัญกับท้องทะเล และกระแสการควบคุมการใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ประกอบกับญี่ปุ่นต้องเผชิญสภาพอากาศร้อนและอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2018 ทำให้ตลาดพลาสติกชีวภาพเติบโตมากขึ้น ถึง 51,285 ตัน โดยเฉพาะขวดน้ำ Bio-Pet


เพิ่มมาตรการคุมเข้มจัดการขยะพลาสติก

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสำนักนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการวางยุทธศาสตร์ในการดูแลปัญหาขยะพลาสติกด้วย โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ออกประกาศมาตรการลดการใช้ถุงพลาสติกในกลุ่มผู้บริโภค โดยการเก็บค่าธรรมเพิ่มหากผู้บริโภคต้องการถุง เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 เมษายน 2562 และกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ก็เริ่มมีมาตรการแบ่งสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ และการให้เงินสนับสนุนกับบริษัทที่หันมาใช้กระดาษแทนพลาสติก

ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกลยุทธ์ใหม่สำหรับการหมุนเวียนทรัพยากรสำหรับผลิตพลาสติก หรือที่เรียกว่า Resource Circulation for Plastics โดยแผนดังกล่าวจะดำเนินการ 3 ด้าน คือ การลดการผลิตและการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Reduce) เพื่อลดการสร้างขยะนี้ให้ได้ 25% ภายในปี 2030 รวบรวมและนำพลาสติกที่รีไซเคิลได้กลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน(Reuse และ Recycle) โดยมีเป้าหมายจะต้องทำได้ 60% ของบรรจุพภัณฑ์ทั้งหมดในปี 2030 พร้อมทั้งเพิ่มการใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถทดแทนกันได้  ( Renewable Resource) เพื่อให้เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปัจจุบันที่มีปริมาณ 2 ล้านตันในปี 2030

นอกจากนี้ยังมีมาตรการจัดการพลาสติกตามชายฝั่งทะเล การพัฒนามาตรฐานสู่ระดับสากล การริ่เริ่มโครงสร้างพื้นฐานที่มีศึกษาผลกระทบจากไมโครพลาสติก การให้ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาวิจัยและพัฒนาสินค้าที่ทำจากพลาสติกชีวภาพ

ในส่วนของภาคเอกชนต่างก็ตอบรับมาตรการส่งเสริมของภาครัฐและได้นำเสนอนวัตกรรมการเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติก เช่น บริษัท KANEKA Corporation ได้ขยายการลงทุนพลาสติกชีวภาพเพิ่ม 100 เท่า หรือ 1 แสนตันต่อปี เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท Ichikawa Kankyo Engineering จำกัด ได้รีไซเคิลพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง และรีไซเคิลพลาสติกผสมขั้นสูง หรือบริษัท Mitsubishi Chemical Holding Corporation ผลิตโพลิเมอร์ขั้นสูงที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตแก้วกระดาษ และประกาศร่วมลงทุนกับบริษัทด้านวัสดุและเคมีภัณฑ์ จัดตั้งกองสตาร์ทอัพพัฒนาวัสดุขึ้น ด้วยเงินลงทุนกว่า 6,000 ล้านเยน


จากความพยายามของรัฐบาลญี่ปุ่นทั้งหมดนี้ จะเป็นแรงผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องหันมาตระหนักถึงการใช้พลาสติกชีวภาพมากขึ้น โดยจะส่งผลต่อการสั่งซื้อนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกรวมถึงไทย ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแผนระยะยาว  ตอบสนองความต้องการของลูกค้าญี่ปุ่น และเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ให้ได้ 

 เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก

EU เห็นชอบข้อบังคับสำหรับพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6322 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2032 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5059 | 23/10/2022
ญี่ปุ่น นำเทรนด์ "ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ"