รู้ก่อนรุก! ตลาด Organic/Natural Cosmetics ในญี่ปุ่น

SME Go Inter
02/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5304 คน
รู้ก่อนรุก! ตลาด Organic/Natural Cosmetics ในญี่ปุ่น
banner

ปัจจุบันผู้บริโภคญี่ปุ่นมีความใส่ใจในสุขภาพและความปลอดภัยกันมากยิ่งขึ้น พร้อมกับกระแส ECO /Ecology หรือนิเวศวิทยา และ LOHAS (Lifestyles of Health & Sustainability) จึงมีความสนใจและความต้องการสินค้าประเภทออร์แกนิค และการใช้ชีวิตด้วยสินค้าออร์แกนิค ( Organic Life Style) เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่สินค้าอาหาร เสื้อผ้า ข้าวของ เครื่องใช้ รวมไปถึงสินค้าเครื่องสําอางด้วย

ตลาดสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิค และเครื่องสําอางธรรมชาติในญี่ปุ่น จากสถิติล่าสุดที่ได้มีการสํารวจโดยบริษัท Yano Research Institute เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 ในปี 2017 มูลค่าตลาดสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิค และเครื่องสําอางธรรมชาติ 1.29 แสนล้านเยน (ประมาณ 3.87 หมื่นล้านบาท) โดยมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นกว่าร้อยละ 5 ในทุกปี

ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริเวณจําหน่ายเครื่องสําอางในห้างสรรพสินค้าแทบทุกแห่งในญี่ปุ่น จะมีมุมเครื่องสําอางออร์แกนิคหรือเครื่องสําอางธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีการจัดสัมมนา งานแสดง/จําหน่ายสินค้า เครื่องสําอางออร์แกนิคอยู่บ่อยครั้งยิ่งขึ้น โดยเป็นที่คาดกันว่าสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิคจะเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีแนวโน้มความต้องการของตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในอนาคต

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme  


เครื่องสำอางออร์แกนิค – เครื่องสำอางธรรมชาติ ต่างกันอย่างไร

เครื่องสําอางออร์แกนิค (Organic Cosmetics) หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “organic-cosme” หมายถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมซึ่งได้จากวัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์ หรือออร์แกนิค โดยในกระบวนการทุก ขั้นตอนตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงการการผลิตจะต้องปราศจากการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง

ในขณะที่เครื่องสําอางธรรมชาติ (Natural Cosmetics) เป็นเครื่องสําอางที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งอาจไม่ใช่ออร์แกนิคก็ได้ แต่ปัจจุบันเนื่องจากภายในญี่ปุ่น วัตถุดิบอินทรีย์หรือออร์แกนิคยังมีไม่มาก การผลิตสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิคยังมีข้อจํากัด เครื่องสําอางธรรมชาติจึงได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในระดับใกล้เคียงกันกับเครื่องสําอางออร์แกนิค

นอกจากนั้นยังมีคําเรียกสินค้าที่คล้ายคลึงกันอื่นๆ ได้แก่ Botanical Cosmetics หมายถึง เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมที่เป็นพืช โดยเป็นพืชอินทรีย์หรือไม่ก็ตาม และอาจมีส่วนผสมมาจากพืชทั้งหมด 100% หรือมีส่วนผสม หลักบางส่วนที่มาจากพืชก็ได้ ความแตกต่างกับ Natural Cosmetics คือ Natural Cosmetics อาจมีส่วนผสมที่ไม่ใช่พืช เช่น น้ำผึ้ง น้ำมันม้า (horse oil) ฯลฯ ก็ได้

สําหรับ Mineral Cosmetics เป็นเครื่องสําอางที่มีส่วนผสมทั้งหมดมาจากแร่ธาตุธรรมชาติ เช่น Titanium Oxide, Zinc Oxide, Iron Oxide, แร่ไมก้า Mica1 ฯลฯ โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถล้างออกได้เพียงแค่ด้วยสบู่

 

พัฒนาการของเครื่องสําอางออร์แกนิคในญี่ปุ่น

แต่เดิมเครื่องสําอางที่ผลิตจําหน่ายในญี่ปุ่น ปกติมีส่วนผสมที่เป็นสารเคมีไม่มากก็น้อย ต่อมาในช่วงประมาณปี 1970 ได้เกิดกรณีที่ผู้บริโภคประสบปัญหาผิวหนังเสีย เนื่องจากสารเคมีในเครื่องสําอาง ผู้บริโภคจึงเริ่มมี ความต้องการเครื่องสําอางที่ใช้สารเคมีน้อยหรือปราศจากสารเคมี ในปี 1980 รัฐบาลญี่ปุ่นได้กําหนดให้สินค้าที่มีส่วนผสม 102 ประเภท ซึ่งอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้จะต้องมีการระบุบนฉลาก แต่ส่วนผสมอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นไม่จําเป็นต้องระบุ

ในปี1998 ได้เริ่มมีสินค้าที่เรียกว่า เครื่องสําอางปราศจากสารเติมแต่ง (Non-additive cosmetics) ออกจําหน่าย แต่เนื่องจากในกฎหมายของญี่ปุ่นยังไม่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับสารเติมแต่งในเครื่องสําอาง ดังนั้น จึงทําให้เกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มผู้บริโภคกับคําเรียกดังกล่าว เนื่องจากบางสินค้าอาจมีส่วนผสมสังเคราะห์ (synthetic ingredient) อยู่ด้วย และต่อมาในปี 2001 ได้มีกฎหมายกําหนดให้สินค้าประเภทเครื่องสําอางต้องระบุส่วนผสมทั้งหมดที่ใช้

ในปีเดียวกันองค์กร NGO ชื่อ ISISGAIANET ได้ออกจําหน่ายหนังสือเรื่อง “Organic Cosme” ซึ่ง เป็นครั้งแรกที่ได้มีการให้ข้อมูลที่ละเอียดและชัดเจนเกี่ยวกับสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิคแก่ผู้บริโภค จากนั้นจึงเริ่มมีผู้สนใจและต้องการสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิคกันมากขึ้นเรื่อยมา ในปี 2007 ได้มีการก่อตั้งสมาคม เครื่องสําอางออร์แกนิคญี่ปุ่น (Japan Organic Cosmetics Association : JOCA)  ซึ่งจัดว่าเป็นองค์กรที่เป็นแกนหลักของอุตสาหกรรมและธุรกิจเครื่องสําอางออร์แกนิคในญี่ปุ่น


มาตรฐานสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิคในญี่ปุ่น

ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานร่วมของทุกประเทศสําหรับเครื่องสําอางออร์แกนิค แต่ละประเทศต่างก็มีการกําหนดมาตรฐานของตนเอง ในโซนยุโรป ได้แก่ ECOCERT ของฝรั่งเศส BDIH ของเยอรมัน และมาตรฐานร่วมของยุโรป คือ COSMOS และ NATRUE ในขณะที่สหรัฐฯ มีมาตรฐาน USDA Organic สําหรับในญี่ปุ่นแม้ว่ายังไม่มีมาตรฐานที่กําหนดตามกฎหมาย แต่มีมาตรฐานที่กําหนดโดยสมาคมเครื่องสําอางออร์แกนิคญี่ปุ่น (JOCA) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอิสระภาคเอกชนของญี่ปุ่น ที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเครื่องสําอางออร์แกนิคและเครื่องสําอางธรรมชาติ ปัจจุบันมีสินค้าที่ได้รับเครื่องหมายรับรอง JOCA แล้ว 37 บริษัท (ณ มิถุนายน 2019)

 

ตามมาตรฐาน Standards for JOCA Recommended Products ได้มีการกําหนดเกณฑ์สําหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็น “เครื่องสําอางออร์แกนิค” 7 ไว้ดังนี้

- จะต้องไม่มีส่วนผสมของน้ำมันหรือส่วนผสมที่สกัดจากน้ำมัน  

- ส่วนผสมที่ใช้ควรต้องสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Biodegradable) และต้องไม่ส่งผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศ (ecological balance) เช่น พืช ดิน แร่ธาตุ

- ต้องไม่ใช้ส่วนผสมที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งถูกดัดแปรงจากส่วนประกอบดั้งเดิมที่มีในธรรมชาติ และ หรือไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติ

- พึงประสงค์ให้ใช้พืชที่เติบโตเองในธรรมชาติ หรือพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีไม่ว่าจะมี ใบรับรองหรือไม่ก็ตาม

- ไม่ใช้ส่วนผสมซึ่งโครงสร้างดั้งเดิมถูกทําให้ย่อยสลายโดยใช้แรงดัน และ หรืออุณหภูมิสูง รวมทั้งส่วนผสมสังเคราะห์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาติ แม้ว่าจะสกัดได้จากพืชก็ตาม

- สินค้าที่ผลิตขึ้นขั้นสุดท้ายจะต้องผลิตจากส่วนผสมตามธรรมชาติ 100% เท่านั้น

- การละลายให้เข้ากับน้ำ (Emulsification) จะต้องทําโดยอาศัยส่วนผสมตามธรรมชาติเท่านั้น โดยต้องไม่ใช้สาร ลดแรงดึงผิวสังเคราะห์ (Synthetic surfactant)

- สารทําความสะอาด (Cleaning agent) จะต้องผลิตโดยใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติเท่านั้น โดยปราศจากสารลด แรงดึงผิวสังเคราะห์

- จะต้องใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติเท่านั้น โดยปราศจากสารสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น ในการให้คุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค (antiseptic) หรือกันบูดเสีย(preservative property)

- จะต้องใช้วิธีการสกัด ปรุงแต่ง ฟอกขาว และการสกัดสารสกัดจากพืช (extract)จะต้องไม่ใช้ตัวทําละลาย สังเคราะห์ (Synthetic solvent)

- ตัวทําละลายที่ใช้ในการสกัดสารสกัดจากพืช จะต้องผลิตจากส่วนผสมตามธรรมชาติ เช่น น้ำ น้ำมันพืช กลีเซอรีน (glycerin) หรือ fermented brew ethanol) ห้ามไม่ให้ใช้น้ำมัน และ หรือส่วนผสมที่ได้จากน้ำมัน (BG)

- จะต้องไม่พบส่วนผสมหลงเหลือ (Carryover ingredients) ในสารสกัดจากพืช ยกเว้นหากเป็นสารธรรมชาติโดย สมบูรณ์

ทั้งนี้คำว่า “ส่วนผสมตามธรรมชาติ หรือ Natural ingredients” สําหรับเครื่องสําอาง หมายถึงส่วนผสมที่ ปลอดภัยและบริสุทธิ์ ดังนั้นจะต้องปราศจากสารใดๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ เช่น Aconite ฯลฯ นอกจากนั้นจะต้องไม่ใช่เพียงแต่ผลิตจากพืชวัตถุดิบธรรมชาติ แต่จะต้องคํานึงไปถึงโครงสร้างโมเลกุลดั้งเดิมของส่วนผสมนั้น ว่าจะต้องไม่ถูกทําลายไปโดยกระบวนการจัดการทางเคมี

และห้ามการใช้ส่วนผสมต่อไปนี้ เนื่องจากได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อเอาจากกระดูกสันหลัง เช่น น้ำมันปลาวาฬ (whale oil), น้ำมันม้า (horse oil), กรดไฮยาลูนิค (hyaluronic acid) ที่ได้จากหงอนไก่ (Rooster combs) และน้ำมันตับปลาฉลาม (squalene from sharks) แต่สําหรับ Lanolin ที่ได้จากขนแกะโดยไม่ได้มีการฆ่าสัตว์ อนุญาตให้ใช้ได้ตามมาตรฐานของ EU ว่าด้วยการคุ้มครองดูแลสวัสดิการสัตว์


โอกาสของผู้ส่งออกไทย ตลาดเครื่องสำอางออร์แกนิค/ธรรมชาติ

ตลาดสินค้าเครื่องสําอางออร์แกนิคและเครื่องสําอางธรรมชาติในญี่ปุ่น มีการประมาณว่าจะเป็นตลาดที่ยังคงขยายตัวต่อไปในอนาคต ในขณะที่ไทยมีศักยภาพในการพัฒนาและผลิตสินค้าประเภทนี้ ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยที่มุ่งเป้าส่งออกไปยังญี่ปุ่น ควรต้องศึกษามาตรฐานของเครื่องสําอางออร์แกนิค ซึ่งกําหนดโดย JOCA ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งแม้ว่าจะ เป็นมาตรฐานที่มิได้บังคับใช้ทางกฎหมายแต่เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมดังกล่าวรวมทั้งจากผู้บริโภคในญี่ปุ่น


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


โอกาสเครื่องสำอางไทยเจาะตลาดเมียนมา

ตลาดเครื่องสำอางอินโดนีเซียโตสวนกระแส


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6267 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5038 | 23/10/2022
รู้ก่อนรุก! ตลาด Organic/Natural Cosmetics ในญี่ปุ่น