อุปสรรค์ของสินค้าเกษตรไทยในตลาดเกาหลีใต้

SME Go Inter
07/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3833 คน
อุปสรรค์ของสินค้าเกษตรไทยในตลาดเกาหลีใต้
banner

สำหรับอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของเกาหลีใต้ ได้แก่ ข้อห้ามในการนำเข้า มาตรการควบคุมเชิงปริมาณ มาตรการภาษี การดำเนินการด้านการค้าของรัฐ (state-trading operations) การจัดซื้อแบบเลือกปฏิบัติโดยรัฐ และข้อกำหนดของมาตรฐาน เกาหลีใต้และสมาชิก WTO มีมาตรการฉุกเฉินหลายรูปแบบ ตั้งแต่มาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาด และการอุดหนุน ไปจนถึงมาตรการปกป้อง

มาตรการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากพฤติกรรมการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น การอุดหนุนการส่งออกและการทุ่มตลาดในตลาดเกาหลีใต้  การนำเข้าสินค้าบางชนิดอาจถูกจำกัดหรือห้ามนำเข้า เพื่อปกป้องมาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรม สุขภาพมนุษย์ สุขอนามัยและสุขาภิบาล ชีวิตสัตว์และพืช การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยพื้นฐานภายในประเทศหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อย่างไรก็ตาม มาตรฐานภายในประเทศและกฎระเบียบทางเทคนิคอาจเป็นอุปสรรคทางการค้าได้ เกาหลีใต้จึงได้วางแนวทางของมาตรฐานภายในประเทศ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง  การเสียภาษีนำเข้า (Tariffication) ตามมาตรการควบคุมเชิงปริมาณต่อการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ Uruguay Round market-access commitments ทำให้เกาหลีใต้เริ่มจัดเก็บภาษีโควตาในสินค้าหลายประเภท รวมถึงสินค้าปศุสัตว์บางชนิด ผลไม้ ผัก ซีเรียล ธัญพืช ชา เมล็ดพันธุ์ แป้งและวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538  

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 เกาหลีใต้ใช้ระบบ Positive List System (PLS) สำหรับสารพิษตกค้างและยาในสัตว์ ภายใต้ระบบ PLS เกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้นำเข้าอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ถึงแม้จะผ่านการยอมรับว่ามีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด Maximum residue level (MRL) ตามที่กำหนดไว้แล้วก็ตาม เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2557 เกาหลีใต้แจ้งต่อ WTO ว่า Positive list มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2559 สำหรับผลไม้เขตร้อน เมล็ดพืชน้ำมัน (oil seed) ผลแห้งจากพืชยืนต้น (tree nuts) / ธ.ค. 2561 สำหรับผลิตภัณฑ์จากพืชอื่นๆ ทั้งหมด และ ธ.ค. 2563 สำหรับผลิตภัณฑ์จำพวกเนื้อแดง สัตว์ปีกและสัตว์อื่นๆ

ทั้งนี้ตามกระบวนการ PLS เกาหลีใต้ กำหนด Import Tolerance ใหม่สำหรับสารเคมีทางการเกษตรและยาสัตว์ ทั้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและยังไม่เคยขึ้นทะเบียนสำหรับใช้ในเกาหลีใต้

1. ข้าว  ข้อตกลง Minimum Market Access (MMA) สิ้นสุดเมื่อปลายปี 2557 เกาหลีใต้จึงเริ่มเก็บภาษีนำเข้าเป็นครั้งแรกภายใต้กระบวนการของ WTO กระบวนการดังกล่าวคือ การเจรจาต่อรองกับผู้ส่งออกข้าวรายหลักหลายราย เช่น จีน สหรัฐฯ เวียดนาม ไทยและออสเตรเลียเพื่อทำให้เสร็จสมบูรณ์ เกาหลีใต้นำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่องจำนวน 408,700 เมตริกตัน/ปี ภายใต้พันธกรณีของ WTO ผ่าน Tariff Rate Quota (TRQ)  การนำเข้าข้าวจำนวน 408,700 เมตริกตัน จะจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้า 5%

ในกรณีถ้าหากนำเข้าเกินโควตา อัตราภาษีจะปรับตัวขึ้นเป็น 513% ประเทศไทยได้โควตานำเข้าข้าว 29,963 เมตริกตัน แต่ถูกจำกัดปริมาณลงหลังการเสียภาษีนำเข้าเมื่อปี 2558 การส่งออกข้าวไทยลดลงหลังจากที่มีการเสียภาษีนำเข้า แต่การจำกัดโควตานำเข้าเฉพาะประเทศ (CSQ) เป็นประโยชน์ต่อการส่งออกข้าวจากไทยมายังเกาหลีใต้

2. มันสำปะหลัง เกาหลีใต้นำเข้ามันสำปะหลังอัดเม็ดเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ โดยใส่รวมกับธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย beet pulp ฯลฯ แป้งมันสำปะหลังถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหารและใช้ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น วุ้นเส้นเกาหลี หมี่เย็นเกาหลี ขนมปัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นโซบะ และถูกนำไปใช้ในการผลิตกระดาษในโรงงาน มันสำปะหลังอัดเม็ดมีโควตาภาษีนำเข้า 3% และ 887.4% สำหรับการนำเข้านอกเหนือโควตาที่กำหนด มันสำปะหลังเส้น (tapioca chips) มีโควตาภาษี 20% และ 887.4%

สำหรับการนำเข้านอกเหนือโควตาที่กำหนด เกาหลีใต้นำเข้ามันสำปะหลังอัดเม็ดจากประเทศไทยและนำเข้ามันสำปะหลังเส้นจากเวียดนาม ประเทศไทยมีขั้นตอนการผลิตมันสำปะหลังเพื่อการค้า แต่เวียดนามผลิตมันสำปะหลังเส้นด้วยมือ

การที่ผู้ผลิตแอลกอฮอล์ชาวเกาหลีใต้เลือกนำเข้ามันสำปะหลังเส้นจากเวียดนาม เนื่องจากต้องการมันสำปะหลังปอกเปลือกของเวียดนาม มาใช้ในการผลิตแอลกอฮอล์มากกว่าใช้มันสำปะหลังที่มีเปลือก แป้งมันสำปะหลังมีโควตาภาษีนำเข้า 9% และ 455% สำหรับการนำเข้านอกเหนือโควตาที่กำหนด โควตามันสำปะหลังสำหรับปี 2562 คือ 9,600 เมตริกตัน

3. ผลไม้  มาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการนำเข้า (IRA) เริ่มตั้งแต่การขออนุญาตนำเข้าไปจนถึงอนุญาตให้นำเข้าได้มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่

1) ยื่นแบบเพื่อร้องขอให้ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการนำเข้า

2) เริ่มการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการนำเข้า

3) การจำแนกประเภทศัตรูพืช

4) การประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช

5) การจัดการความเสี่ยงศัตรูพืช

6) ร่างข้อกำหนดการนำเข้าพืช

7) แจ้งข้อเสนอจัดทำกฎระเบียบ และ

8) ประกาศและบังคับใช้ 

รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องเจรจาต่อรองกับประเทศผู้ส่งออกทีละขั้นตอน และจำเป็นต้องยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อในขั้นตอนถัดไป ทุกประเทศสามารถส่งออกกล้วย มะพร้าว และสับปะรดมายังตลาดเกาหลีใต้ได้


ทั้งนี้ทางรัฐบาลไทยเคยขอ IRA สำหรับทุเรียน มะม่วง และมังคุดเพื่อส่งออกมายังตลาดเกาหลีใต้แล้ว และผลไม้ดังกล่าวถูกส่งออกมาด้วยเงื่อนไขพิเศษ 

มะม่วงจะต้องผ่านกรรมวิธีการอบไอน้ำภายใต้การกำกับดูแลของผู้ตรวจสอบชาวไทย อุณหภูมิภายในมะม่วงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 47 องศาเซลเซียสและคงอุณหภูมิดังกล่าวไว้เป็นระยะเวลา 20 นาทีหรือนานกว่านั้น  ถ้าหากอุณหภูมิภายในผลไม้ลดต่ำลงกว่า 47 องศาเซลเซียส ผลไม้ดังกล่าวจะต้องถูกอบใหม่อีกครั้งเป็นระยะเวลา 20 นาที  

สำหรับการส่งออกมังคุดจะต้องถูกรมควันด้วยเมธิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) และ NPPO ของประเทศไทยควรควบคุมการรมควัน แล้วระบุลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ซึ่งมีรายละเอียดของวันที่ ขนาดของยาที่ใช้ อุณหภูมิที่ใช้ในการรมควันและ ระยะเวลาหลังจากรมควัน  

ภายใต้กฎระเบียบต่างๆที่ค่อนข้างเข้มงวด ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรในเกาหลีใต้ จึงไม่ใช่งานง่ายสำหรับสินค้าเกษตรไทย ทั้งต้องพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

 

อ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล


ฟิลิปปินส์ตลาดนำเข้าข้าวอันดับหนึ่งโลก

ปักหมุดลงทุน 'ศรีลังกา' ไทยได้อะไร?

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6067 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1939 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4925 | 23/10/2022
อุปสรรค์ของสินค้าเกษตรไทยในตลาดเกาหลีใต้