ส่องโอกาสผลไม้ไทยในตะวันออกกลาง

SME Go Inter
28/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 11880 คน
ส่องโอกาสผลไม้ไทยในตะวันออกกลาง
banner

ผลไม้ภาคตะวันออก (จันทบุรี ระยอง ตราด) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งได้เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ.-ก.ค. หรือออกมากที่สุดในช่วงกลาง เม.ย. -กลาง พ.ค. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประเมินว่าปี 2563 นี้สภาพอากาศดี จะมีผลผลิตมากกว่า 1.05 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 18.57% จากปีที่แล้วกว่า 17 ล้านตัน ทุเรียนออกผลผลิตมากที่สุดเพิ่มขึ้นกว่า 21%

ภายหลังจากประเทศจีนประสบปัญหากับวิกฤติไวรัสโควิด-19 และประกาศปิดเมืองกว่า 13 แห่งเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลไม้ไทยไปตลาดจีนที่มีมูลค่ากว่า 9 แสนบาท ซึ่งเป็นตลาดผลไม้รายใหญ่ที่สุดของไทย เนื่องจากพ่อค้าจีนตลอดทั้งล้งจากจีนต่างชะลอสั่งซื้อส่งผลไม้จากไทย ทำให้ไม่สามารถขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนสะดวกสบายเหมือนในอดีตได้ ส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวสวนผลไม้ไทยโดยตรง และจากวิฤติการณ์ดังกล่าวทำให้มีแนวโน้มว่าผลไม้ที่กำลังออกมาสู่ท้องตลาดอาจจะเกิดสภาวะล้นตลาดและฉุดราคาตกต่ำ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ผลไม้ไทยยังไม่ถือว่าปิดตายเสียเลยทีเดียว เพราะนอกจากยังมีตลาดอาเซียนรองรับแล้วยังมีตลาดตะวันออกกลางที่เป็นสมาชิกที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากชาติตะวันออกกลางส่วนใหญ่ชื่นชอบรับประทานผลไม้จากประเทศไทยเป็นพิเศษ

เช่นเดียวกับชาวอิหร่าน เป็นอีกชาติตะวันออกกลางที่มีประชากรมากกว่า 76 ล้านคน และยังเป็นศูนย์กลางการขยายตลาดสู่ตะวันออกกลางและรัสเซียอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกโอกาสทองของผู้ส่งออกผลไม้ไทยไปตลาดอิหร่านและตะวันออกกลางแทนตลาดจีน

 

13 ชนิดผลไม้ไทยอาหรับนิยมรับประทาน

ก่อนหน้านี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ออกมาระบุว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ได้รายงานสถานการณ์ตลาดสินค้าในประเทศอิหร่านและตะวันออกกลาง เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลในการทำตลาดส่งออก ตามนโยบายกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พบว่า

ผลไม้เมืองร้อนของประเทศไทยเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้สูง และผลไม้นำเข้าส่วนใหญ่มีราคาแพง แต่กลุ่มคนมีฐานะนิยมรับประทานผลไม้จากไทย 13 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย

1. แก้วมังกร

2. มะละกอ

3. ฝรั่ง

4. ทุเรียน

5. มะเฟือง

6. เงาะ

7. มังคุด

8. ลิ้นจี่

9. ส้มโอ

10. กล้วย

11. มะม่วง

12. สับปะรด

13. มะพร้าว

แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลอิหร่านได้ออกกฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อกีดกันสินค้านำเข้าและปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ออกมาแนะนำผู้ส่งออกไทยถึงการส่งออกผลไม้ไทยไปยังอิหร่านและตะวันออกกลาง ยังมีลู่ทางส่งสินค้าไทยไปตีตลาด คือผู้ประกอบการส่งออกไทยสามารถส่งผลไม้จากไทยไปยังประเทศที่ 3 เพื่อส่งต่อไปยังตลาดอิหร่าน เช่นส่งไปยัง สหรัฐอาหรับอามิเรตส์ กาตาร์ โอมาน เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยกีดกัดสินค้าจากไทยแบบเข้มข้นเท่าที่ควร

ที่ผ่านมามาตรการต่างๆ ของรัฐบาลอิหร่านออกมาตรการนำเข้าอย่างเข้มข้น เช่น การห้ามนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย 1,339 รายการ หรือการรณรงค์ให้ชาวอิหร่านหันมาใช้สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศของตน รวมถึงการสร้างเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้า เช่น หากผู้นำเข้าอิหร่านรายใดนำเข้าสับปะรด ผู้นำเข้ารายนั้นจะต้องส่งออกแอปเปิ้ลของอิหร่านในมูลค่าเท่าๆ กันเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเป็นต้น ซึ่งมาตรการต่างๆ คุ้มเข้มเฉพาะต่างชาติที่ไม่ใช่อาหรับด้วยกัน


เปิดโผผลไม้ไทย 4 ชนิดที่อิหร่านอนุญาตนำเข้า

ทุกวันนี้ผลไม้นำเข้าที่อิหร่านอนุญาตให้นำเข้าไปขายในตลาดอิหร่านมีเพียง 4 ชนิด ประกอบด้วย กล้วย มะม่วง สับปะรด และมะพร้าว ซึ่งก็ยังเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกทั่วโลกรวมถึงผู้ส่งออกจากไทย สามารถส่งออกผลไม้ไปยังตลาดอิหร่านได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปยังผู้นำเข้าอิหร่านโดยตรง หรือส่งไปประเทศที่สามก็ตาม

โดยผลไม้นำเข้าส่วนใหญ่ ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าในย่านชาวอิหร่านที่มีฐานะร่ำรวย หรือตลาดสดที่ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงเตหะราน ตลอดทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดเล็กที่ขายสินค้าโดยเฉพาะ

แม้ว่ารัฐบาลมีมาตรการคุมเข้มนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่ก็ยังมีจุดบอดให้ผู้ส่งออกจากทั่วโลกรวมถึงไทยเข้าไปเจาะตลาดผ่านชาติอาหรับด้วยกันเอง สอดคล้องกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน ได้รายงานว่าโอกาสไม่เปิดเสียทีเดียว สาเหตุเพราะผลไม้เมืองร้อนจากประเทศเป็นที่นิยมจากผู้บริโภคคนรวยในประเทศอิหร่านเป็นอย่างมาก เพราะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และสีสันที่ดึงดูดตา ประกอบกับมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ จึงทำให้มีการตอบรับอย่างแพร่หลาย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยรับประทานผลไม้เมืองร้อน ก็ยังมีความต้องการที่จะหาซื้อมารับประทานให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ต้องรับประทานผลไม้จากไทย แม้จะมีราคาที่แพงก็ตาม

ทั้งนี้นับตั้งต้นปี 2563 ประเทศอิหร่านมีปัญหาบาดหมางกับสหรัฐอเมริกา จากกรณีประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งสังหารนายพลคนสำคัญของอิหร่าน แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบกับการค้าไทยกับตะวันออกกลาง (15 ประเทศ) มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้มีคำสั่งซื้อสินค้าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปจากตะวันออกกลางเข้ามาจำนวนมากตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมนำไปใช้ในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนถือศีลอด) ที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ค. ของปีนี้ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ตลาดตะวันออกกลาง ยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ 

เจาะตลาดตะวันออกกลาง...ไม่ยากอย่างที่คิด


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6266 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5037 | 23/10/2022
ส่องโอกาสผลไม้ไทยในตะวันออกกลาง