Smart Farming ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร

SME Startup
21/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 10816 คน
Smart Farming ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร
banner

Smart Farming หรือ การจัดการการเกษตรแบบอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการผลิตภาคการเกษตร กลายเป็นประเด็นที่หลายภาคส่วนให้ความสนใจ ซึ่งถูกระบุไว้ในนโยบายการพัฒนาประเทศไทย 4.0

โดยหัวใจหลักคือการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการและเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตร เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรและใช้ปัจจัยต่างๆ ได้คุ้มค่า เกิดความแม่นยำสูง(Precision Agriculture) ในการดำเนินการ ซึ่งยังคงมีความซับซ้อนที่เข้าถึงเกษตรกรได้ยากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20  ด้วยปัจจัยด้านราคาที่ยังคงสูงเกินเอื้อมถึง และตัวเกษตรกรเองยังขาดความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่ใช่ว่าจะไม่ตอบรับเทคโนโลยีใดๆ เลย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ด้วยปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่ๆ มีพัฒนาการด้านความคิด การศึกษา พร้อมเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ  มากขึ้นจากในอดีตจึงเห็นว่ามีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่มีอยู่และจับต้องได้มาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์ม ได้แบบ Smart อย่างแพร่หลาย ดังนี้

1. การใช้ QR Code เข้ามาเป็นตัวช่วยเรื่องการให้ข้อมูลรายละเอียดเรื่องสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่ตรวจสอบแบบย้อนกลับ ไปสู่ Story เส้นทางของสินค้าว่ามีการผลิตอย่างไร ในระบบตรวจสอบย้อนกลับและติดตามพืช (Traceability) ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการนำมาใช้กันมากขึ้นแล้วในขณะนี้

2. เครื่องจักรกล เครื่องทุนเรง เพื่อใช้ทางการเกษตร เช่น การใช้โดรนพ่นปุ๋ยยา การใช้เซ็นเซอร์ช่วยวิเคราะห์ สภาพความชื้น อุณหภูมิ ดิน พืช และพื้นที่ปลูก เพื่อนำมาสู่การประเมินความต้องการของพืชด้านการให้ปุ๋ย ยา รวมไปถึงการกำจัดแมลง แบบ Real Time รายงานผลถึงมือเกษตรกรผ่าน ตรวจสอบสภาพอากาศ พืช และพื้นที่โดยโดรน

3. การใช้ Smart Phone ร่วมกับ Application ซึ่งใช้งานสัมพันธ์กันกับตัวเซ็นเซอร์ เช่น Application Smart Farm Kit ซึ่งเป็น App ได้รับการวิจัยพัฒนาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืนและเทคโนโลยีการเกษตร ที่มีต้นทุนในแบบที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก เพียง 1000 บาท/1 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ  625 ไร่  

โดยมีอุปกรณ์ในการทำงานเพียง 3 อย่าง คือ 1.ตัวควบคุมการเปิด-ปิดน้ำตามเวลาที่ต้องการ 2.ระบบเซ็นเซอร์ติดตามสภาพอากาศ 3.ระบบสั่งการผ่าน Smart Phone  เข้ามาช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการ ฟาร์มได้อย่างแม่นยำและง่ายกว่าเดิม

ทั้งนี้มีเกษตรกรรุ่นใหม่หันมาใช้เทคโนโลยีแบบ Smart Farm ร่วมกับเครื่องยนต์กลไกล และภูมิปัญญาไทย ในการจัดการพื้นที่เกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มการผลิตแล้วประสบความสำเร็จในการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ และผลิตได้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดการฟารมแบบ Smart กันอย่างแพร่หลาย


นายกันตพงษ์ แก้วกมล รองประธาน Youmg Smart Farmer Thailand จากตำบลบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี ผู้นำเทรนด์การใช้โดรนมาฉีดพ่นปุ๋ยยาเพื่อการเกษตร ด้วยมีความสนใจเรื่องโดรนมาตั้งแต่มีความนิยมเล่นโดรนกันในเมืองไทย โดยเริ่มจากการเล่นโดรนเล็กๆ เพื่อความสนุุกสนานก่อนแล้วพัฒนาเป็นโดรนประกอบขึ้นมา เพื่อการเกษตร ก่อนจะเริ่มเดินสายศึกษาดูงานในต่างประเทศ กับกลุ่มบริษัทที่ผลิตโดรนในประเทศจีน ตลอดจนเข้ารับการอบรมจากสถานที่ต่างๆ จนนำมาสู่การก่อตั้งและพัฒนาโดรนเพื่อการเกษตรร่วมกับกลุ่มเพื่อนในรูปแบบบริษัท ขายเครื่องโครนและให้บริการโดรนฉีดพ่นปุ๋ย ยา ในปัจจุบัน  

โดยกล่าวว่า “ที่มีความสนใจในการนำโดรนมาใช้พ่นปุ๋ย ยาทางการเกษตร เริ่มจากมีความสนุกในการทำงานเกิดขึ้น อีกทั้งยังปลอดภัยต่อตัวเองในขณะที่ต้องใช้สารเคมี แล้วยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้มาก เนื่องจากระอองยาที่มาจากโดรนนั้นครอบคลุมทั่วถึงพืช ไม่ว่าพืชที่ปลูกจะต้นสูงขนาดไหน ก็สามารถใช้โดรนเข้ามาจัดการได้ จากที่เคยลากสายฉีดพ่นยาแบบต้องใช้เวลากันเป็นวัน พอมีโดรนเข้ามาช่วยกลับร่นระยะเวลาลงมาเหลือเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ช่วยเซฟเวลาในการทำงาน  เลี่ยงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากการใช้สารเคมี และลดต้นทุนการผลิตไปได้ ประมาณ 35%


นายนิธิภัทร์ ทองอ่อน  เกษตรกรรุ่นใหม่ จากอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่เพิ่งขึ้นเวทีรับรางวัลในงาน “วันเกษตรก้าวหน้า 2562” เมื่อต้นปีที่ผ่านมาจากธนาคารกรุงเทพฯ และรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ในปี พ.ศ.2560 มีการนำเทคโนโลยีด้าน QRcode และ Application “ฟาร์มแม่นยำ” จาก dtac และ บริษัท รักบ้านเกิด มาใช้บริหารงานในฟาร์ม

 “โดยแบ่งเป็น การใช้ QRcode ในการบริหารข้อมูลสินค้าและผลผลิตที่รับจองจากลูกค้าในแปลงเพื่อ Update ข้อมูลให้แก่ลูกค้าได้รู้ความเคลื่อนไหว และใช้ Applicatiom ในการพยากรณ์อากาศ เพื่อคาดการณ์เรื่องการให้ปุ๋ย หรือ ฉีดสารกำจัดแมลง

“ปกติผมจะใส่ปุ๋ย ฉีดยาตามรอบการผลิตที่วางแผนไว้ โดยไม่รู้สภาพดินฟ้า อากาศ ล่วงหน้า ทำให้บางครั้งเกิดความผิดพลาดในการให้ปุ๋ยหรือฉีดยา เมื่อมีฝน ลมแรงมา จึงสูญเสียปุ๋ยยามากกว่าปกติ เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตไปโดยที่ผมทำอะไรไม่ได้ และแต่ละครั้งที่ลงทุนไปก็เป็นเงินจำนวนไม่น้อย สำหรับสารที่ใช้กับสวนทุเรียน ในทุกช่วงการเติบโต  เช่น ช่วง เปิดตาดอก เร่งใบ นี่จะ sensitive ต่อเรื่องฝนฟ้า อากาศมาก พอมี Application “ฟาร์มแม่นยำ” เข้ามา จึงทำให้เลี่ยงปัญหาที่จะเกิดตรงนั้นได้ ต้นทุนการผลิตจึงลดลง”


นางปราริชาติ เทพเจริญ เกษตรกรสาวอารมณ์ดี วัย 48 ปี ผู้ผลิตเห็ด Organic จากชัยโยฟาร์มเห็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี บนพื้นที่ใจกลางเมืองสุราษฎร์ เพียง 1 ไร่ แต่สามารถสร้างรายได้ให้เกินครึ่งแสนต่อเดือน ได้นำเทคโนโลยีด้านการควบคุมการตั้งเวลา-ปิดเปิด และ ตรวจจับความชื้นในโรงเรื่อนมาใช้ ซึ่งเป็นผลงานจากมันสมองเกษตรกรไทยรุ่นใหม่ ในกลุ่ม Young Smart Farmer บอกว่า

”กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูกมาแล้วมากมาย จากคนที่ไม่มีความรู้อะไร ก็เดินสายหาความรู้เรื่องการเพาะเห็ด จนได้รูปแบบและวิธีการที่มีการสืบทอดบอกต่อๆ กันมา พอมาทำเองก็มักเกิดปัญหาเรื่อง ความชื้นไม่เพียงพอ จนดอกเห็ดฝ่อไม่ให้ผลผลิตบ้างล่ะ หรือไม่ก็เป็นเชื้อราเพราะความชื้นมากเกินไปบ้างล่ะ จนมารู้จักกับรุ่นน้องในกลุ่ม Young Smart Farmer คนหนึ่งเขามีความเก่งด้านเทคโนโลยี ได้พัฒนาโปรแกรมการตรวจจับความชื้น และการให้น้ำเพื่อช่วยควบคุมความชื้นในโรงเรือน

จึงนำมาทดลองใช้ดู เพราะเป็นอะไรที่ไม่ได้ยากเกินคนวัยตัวเองเข้าใจได้ พอนำมาใช้แล้วกลับเห็นผลลัพธ์ที่เด่นชัดเลย คือ เรื่องความชื้นในโรงเรือนอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติดีและเหมาะสมต่อเห็ดที่เราเพาะ จึงพบอาการดอกเห็ดฝ่อ หรือ เชื้อราขึ้นปนเปื้อนไม่มากเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนี้ยังประหยัดเวลาในการทำงานลงไปได้มากเพราะช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลา กำลังสนุกกับการลุยการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นน้ำพริกเห็ดแครง ข้าวเกรียบเห็ดแครง เห็ดแครงอบแห้งฯ ที่สำคัญได้ดอกเห็ดใหญ่ขึ้นทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตไปในตัวอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีที่จะเข้ามารองรับภาคการเกษตรยังมีไม่มาก รวมถึงยังมีค่าจัดการดำเนินการที่สูงเกินเกษตรกรทั่วไปจะเอื้อมถึง แต่ในวันนี้การนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกกับภาคการเกษตรกลับเป็นสัญญานอันดี ที่จะเห็นเกษตรกรรมไทยมีความเป็น Smart Farming เต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้ จากความตื่นตัวตอบรับเทคโนโลยีกันมากขึ้นของเกษตรกรไทยในปัจจุบัน

เพราะถ้าย้อนหลังไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ต่างก็ไม่มีใครคาดคิดว่าภาคการเกษตร รวมถึงตัวเกษตรกรที่ถูกมองว่าล้าหลังไม่ทันสมัย จะเข้ามาเชื่อมต่อกับความทันสมัยของนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างที่เป็นอยู่ได้อย่างไรก็ตาม กระนั้นการเริ่มจากนำนวัตกรรม เทคโนโลยีง่ายๆ เข้ามาใช้กับภาคการเกษตร ก็เป็นความสำเร็จอันเป็นรูปธรรมให้จับต้องได้ไปอีกขั้น  ที่จะมาช่วยการันตีว่าความฝันที่ประเทศไทยจะพลิกโฉมกลายร่างภาคเกษตรจากยุค 2.0 ไปสู่ยุค 4.0 คงไม่ใช่ภาพฝันที่ไกลเกินเอื้อมถึงอีกต่อไป เพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ในโลกของเทคโนโลยี


ส่อง 4 สตาร์ทอัพด้านเกษตรที่ต้องบอกว่าเจ๋งสุดๆ

ชาวนายุคใหม่ เข้าใจตลาด ต้นแบบ Smart Farmer


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2276 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4458 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2247 | 22/12/2022
Smart Farming ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร