จับตา ! สตาร์ทอัพหน้าใหม่ ภารกิจพิชิต ‘Unicorn’

SME Startup
05/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1344 คน
จับตา ! สตาร์ทอัพหน้าใหม่ ภารกิจพิชิต ‘Unicorn’
banner

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ นิยามความหมายของ ‘สตาร์ทอัพ’ คือ ‘กิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากแนวคิดการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำก่อน’


ปัจจุบันสถิติของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ระบุว่าไทยมีบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนกว่า 1,700 ราย แต่ที่ประสบความสำเร็จมีแค่ 10% เท่านั้น ส่วนอีก 90% ยังคงลุ่มๆ ดอนๆหรือล้มเหลวไปเลย ขณะที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วย Digital Economy (DE) มีสัดส่วนเพียง 2.7% ของจีดีพีของประเทศ


ปี 2568 DE พุ่ง 1.4 ล้านล้านบาท


ทว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ จากรายงานการวิจัยในหัวข้อ “e-Conomy SEA 2018: Southeast Asia’s Internet Economy Reaches an Inflection Point” โดยความร่วมมือระหว่าง Google กับ Temasek พบว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะเติบโตขึ้นเป็น 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ในปี 2568 โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงสุด คือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่ปัจจุบันธุรกิจมีมูลค่าตลาดประมาณ 2.1แสนล้านบาท รองลงมา คือ สื่อออนไลน์ (โฆษณา เกม บริการติดตามเพลงและวิดีโอ) ที่ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 7.75 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 2.2ล้านบาท ในปี 2568


ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนได้ถึงการเติบโตที่ก้าวกระโดด ของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการและผู้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล กลับไม่ใช่ประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ขณะที่คนไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแค่ผู้ใช้บริการ


สตาร์ทอัพไทย ยังไปได้อีก 


ขณะที่สตาร์ทอัพไทยที่ประสบความสำเร็จ อาทิ แอพลิเคชั่น Ookbee ที่ถือว่าเป็นต้นแบบสตาร์ทอัพไทยรุ่นบุกเบิกช่วงสองปีที่ผ่านมา ภายหลังได้มีการเข้ามาร่วมลงทุนของกลุ่ม ‘เทนเซ็น’ ซึ่งเป็น strategic investor จากประเทศจีน มูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐ  ก็เริ่มสยายปีกขยายธุรกิจในกลุ่มนักเขียน นักวาดการ์ตูน นักดนตรี  ให้สามารถมาสร้างContentได้เองลงขายในแพลตฟอร์มOokbee ทำให้ปัจจุบันมูลค่าบริษัทฯจากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่ามีมูลค่าถึง 3 พันล้านบาท เป็นร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีการขยายตลาดใน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย จำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 8.5 ล้านคน


แม้กระทั้ง แอพพลิเคชั่น Wongnai ที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บไซต์รีวิว ร้านอาหารมาตั้งแต่ปี 2010 แต่ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นแอพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มขนาด ใหญ่สำหรับการค้นหาร้านอาหารได้สะดวกมากขึ้น มีผู้ใช้มากกว่า 2.2 ล้านคน มีข้อมูลร้านอาหารมากกว่า 2 แสนร้านค้า และมีรีวิวมากกว่า 4 ล้านชิ้น โดยธุรกิจมีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณา รวมถึงการการเสนอขายจากร้านอาหาร ทั้งขยายไปในธุรกิจ ความงามและสปา ปัจจุบัน Wongnai มีมูลค่าธุรกิจกว่า 700 ล้านบาท


จากตัวอย่างความสำเร็จในข้างต้น เห็นได้ชัดว่าการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยยังคงไปได้และปัจจุบันก็มีสตาร์ทอัพหน้าใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ แม้ในภาวะที่ Ecosystem ยังไม่เพียบพร้อมมากนัก แต่ข้อมูลอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยเป็นแรงจูงใจมากพอ ให้บริษัทต่างชาติที่ต้องการลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ หรือ strategic investor และมีรูปแบบธุรกิจที่มีความน่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของผู้ให้ในประเทศ ให้ความสนใจสตาร์ทอัพไทย


5 บริษัทสตาร์ทอัพมาแรงปี 2019


โดยกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพไทยที่กระแสดีและกำลังมาแรงในปัจจุบัน อาทิ กลุ่มไลฟ์สไตล์ ,ขนส่งและโลจิสติกส์/เทคโนโลยีการเงิน,เทคโนโลยีทางการตลาด ,การท่องเที่ยว และ อีคอมเมิร์ซ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้สะท้อนรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศ โดยในบทความฉบับนี้จะนำเสนอ ‘ดาวเด่น’ ของบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจไปไกลถึงระดับ ยูนิคอร์น (Unicorn) ซึ่งสตาร์พอัพระดับนี้ต้องมีมูลค่าบริษัทกว่า 1พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็เป็นได้

     

  1. SHIPPOP ระบบรวมขนส่งออนไลน์ ที่รวมพันธมิตรด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ ไว้มากที่สุดในประเทศไทย ที่จะมาช่วยสนับสนุนร้านค้าผู้ประกอบการ E-commerce จำนวนมาก อำนวยความสะดวกด้านการส่งสินค้า แบบออนไลน์ ประหยัดทั้งเงินและเวลา เริ่มให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2559 จุดเด่นของ SHIPPOP คือ การสร้างPartner ทั้งในและต่างประเทศ  ปัจจุบัน Shippop มีการเชื่อมระบบเข้ากับบริษัทโลจิสติกส์ในประเทศไทยกว่า 80% สามารถเชื่อมกับอีมาร์เก็ตเพลซแล้วกว่า 60% ส่วนการระดมทุน กำลังจะเข้าสู่ซีรีส์ A มีมูลค่า  เป็น 300 ล้านบาท ทั้งปี 2561 มียอดจัดส่งสินค้า 2 ล้านชิ้น มีอัตราการเติบโตถึง 635% จากปีก่อน
  2.  

  3. AIRPORTELs บริการขนส่งกระเป๋าระหว่างสนามบินและโรงแรม จากแนวคิดว่านักท่องเที่ยว 1 คน ต้องมีกระเป๋าอย่างน้อย 1 ใบ กลายเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่ตอบสนองการเติบโตในภาคการท่องเที่ยวได้อย่างตรงจุด ธุรกิจขนส่งและรับฝากกระเป๋าสัมภาระจากสนามบินไปโรงแรมและจากโรงแรมไปสนามบิน เน้นกลุ่มลุกค้าต่างชาติ จากจุดริเริ่มในปี 2558 ทุกวันนี้ ทุกวันนี้ AIRPORTELs มีการเติบโตขึ้นทุกปี เฉพาะแค่การขนส่งกระเป๋าโตสูงถึง 75% ขณะที่บริการฝากของรายได้พุ่งทะลุ 2,000% ในปี 2561
  4.  

  5. FoodStory คือระบบบริหารจัดการร้านอาหารแบบ POS (Point of sale) ที่แบ่งระบบจัดการร้านอาหารสำหรับเจ้าของร้านและสำหรับลูกค้า ปัจจุบันมีร้านอาหารที่ใช้ระบบ Food Story อยู่ประมาณ 400 ร้าน มีการเพิ่มFeature ที่ตอบสนองความง่ายตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ล่าสุดมีการจับมือเป็นPartner กับทั้งสถาบันการเงินและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างรายใหญ่ อาทิ Wongnai และ LINE MAN นับเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่น่าจับตาอย่างยิ่ง
  6.  

  7. BUILK - Construction United บริการแพลตฟอร์มการบริหารธุรกิจธุรกิจก่อสร้าง สำหรับ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา เพิ่มกำไร ใช้งานฟรี 100% ระบบความคุมต้นทุน สำหรับธุรกิจก่อสร้าง ช่วยตั้งงบประมาณ บันทึกต้นทุน ค่าใช้จ่าย และรายรับ ทำให้ธุรกิจก่อสร้างรับรู้ผลประกอบการแบบเรียลไทม์ บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันมีธุรกิจก่อสร้างที่ใช้งาน BUILK กว่า 10,000 กิจการ ทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว และ เมียนมา
  8.  

  9. Sellsuki สตาร์ทอัพไทย เจ้าของระบบบริหารจัดการการขายของออนไลน์แบบครบวงจร ช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถจัดการทั้งระบบแชท ขายสินค้า เช็คสต็อค ติดตาม และดูแลหลังการขายได้ในระบบเดียว ล่าสุดปลาย 2561ที่ผ่านมา LINE ประเทศไทย ได้เข้าซื้อกิจการ Sellsuki ไปเป็นที่เรียบร้อย แม้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขว่าดีลนี้ว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ แต่ Sellsuki สตาร์ทอัพไทยก็เนื้อหอมในสายตากลุ่มทุนต่างชาติย่อมไม่ใช่ของที่ขายกันถูกๆ ซึ่งถือเป็นแรงบันดาลใจให้นักธุรกิจสตาร์ทอัพได้วาดฝันกันต่อไป

เห็นได้ชัดว่าสตาร์ทอัพไทยเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี จากแต่ก่อนจะเป็นรูปแบบ “copy cat” คือเมื่อเห็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ก็นำมาปรับใช้ในไทย ไม่ดูบริบทในประเทศ ขณะที่ปัจจุบันมีการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้มากขึ้น...ไม่แน่ในอนาคตสตาร์ทอัพระดับ Unicornสัญชาติไทย อาจไม่ไกลเกินเอื้อม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2273 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4454 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2245 | 22/12/2022
จับตา ! สตาร์ทอัพหน้าใหม่ ภารกิจพิชิต ‘Unicorn’