Innospace Thailand ดันสตาร์ทอัพฝ่าวิกฤติ

SME Startup
07/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 6126 คน
Innospace Thailand ดันสตาร์ทอัพฝ่าวิกฤติ
banner

สตาร์ทอัพไทยกับเป้าหมายการไปให้ถึง Unicorn ยังเป็นสิ่งที่คนไทยตั้งตาเฝ้ารอ อาจเพราะจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสม สำหรับการบ่มเพาะสตาร์ทอัพหน้าเก่าและหน้าใหม่ให้ยืดหยัดอยู่ได้ไม่ใช่งานง่าย แต่ก็ยังเป็นงานที่ บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนพันธะกิจต่อไป ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ล่าสุด บอร์ดบริหารอินโนสเปซ ประเทศไทย (InnoSpace Thailand) ที่นำโดย เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานที่ปรึกษา บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด มีมติเห็นชอบรับผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาอีก 3 ราย เพิ่มทุนจาก 515 ล้านบาทเป็น 735 ล้านบาท ประกาศแนวทางการลงทุนที่ชัดเจน แบ่งการลงทุนออกเป็น 3 กอง สำหรับลงทุนใน Deep Tech หรือ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศที่สำคัญ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


InnoSpace (Thailand) คืออะไร

InnoSpace (Thailand) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2562 ถือเป็น National Startup Platform ในการส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ทอัพไทยอย่างครบวงจร เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการในทุกระดับ ครอบคลุมทุกสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เปิดตัวโครงการไปเมื่อต้นปี พ.ศ.2562 ด้วยทุนประเดิม 500 ล้านบาท ปัจจุบันมีเงินทุน 735 ล้านบาท จากการระดมทุนผู้ถือหุ้น 30 องค์กร ได้แก่

- ภาครัฐและหน่วยงานในกำกับของรัฐ  กระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

- รัฐวิสาหกิจ  ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- ภาคเอกชน  ได้แก่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, เครือสหพัฒน์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท แบงคอก เวนเจอร์ส จำกัด, สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน และสมาคมบริษัทจดทะเบียน ไทย

- สถาบันการเงิน  ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

- สถาบันการศึกษา  ได้แก่ สถาบันวิทยสิริเมธี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด

 

พันธกิจของ InnoSpace (Thailand)  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริม Startup ของประเทศไทย ในรูปแบบประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0  ที่จำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดย สวทช.

การดำเนินงาน  มีการดำเนินงานที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจน มีการกำหนดประเด็นมุ่งเน้นและเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อการพัฒนาฐานของระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่า สร้างเสริมความแข็งแรงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับสังคมไทย

อีกทั้งได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ทอัพจากต่างประเทศ ได้แก่ Hong Kong CyberPort และหน่วยงานส่งเสริมสตาร์ทอัพประเทศอิสราเอล เพื่อขยายและเชื่อมต่อระบบนิเวศของไทยสู่สากล และเชื่อมโยงสู่พื้นที่โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EECi ณ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จ.ระยอง

สถานที่ตั้ง  สำนักงานของอินโนสเปช (ประเทศไทย) ตั้งอยู่ในสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) อ.วังจันทร์ จ.ระยอง มีการใช้พื้นที่ EECi เป็นที่ตั้งของโครงการฯ

 

แนวทางการลงทุนในกลุ่ม Startup

1. กลุ่ม Deep Tech หรือ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศที่สำคัญ เช่น ไบโอเทคโนโลยี เทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งประเทศไทยยังมีน้อย เนื่องจากใช้เวลาในการพัฒนานาน มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นส่วนที่เอกชนไม่เข้ามาลงทุนแต่ InnoSpace จะเข้ามาช่วยปิดช่องว่างตรงส่วนนี้ ผ่านการบริหารจัดการกองทุน  Big Wing มีเงินลงทุน 300 ล้านบาท

2. กลุ่มที่มีความพร้อมที่จะเติบโตก้าวหน้า เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพที่พร้อมจะพัฒนาไปเป็น Unicorn หรือ สตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเป็นยูนิคอร์นให้แก่ประเทศไทย โดยมีงบประมาณผ่านการบริหารจัดการกองทุน Quick Wing ที่ใช้ในการสนับสนุนสตาร์ทอัพกลุ่มนี้อยู่ที่ 200 ล้านบาท

3. กลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จัดเป็นการสนับสนุนที่จัดตั้งขึ้นมาช่วยเหลือกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แบบเฉพาะกิจ มีเป้าหมายเข้าไปช่วยสตาร์ทอัพเรื่องกระแสเงินสด โดยให้ความสำคัญกับสตาร์ทอัพที่เข้ามาแก้สถานการณ์โควิด-19 ได้ หรือมีนวัตกรรมที่เข้าไปช่วยสังคมในช่วงนี้ โดยมีงบประมาณผ่านการบริหารจัดการกองทุน InnoSpace Bridge Fund อยู่ที่ 50 ล้านบาท


มุ่งเน้น Deep Tech ไปให้สุดหยุดที่ Unicorn

การลงทุนของ InnoSpace คือการนำเงินลงทุนมาใช้ส่งเสริมการลงทุนในสตาร์ทอัพเป็นหลัก เน้นกลุ่ม Deep Technology และเสริมความแข็งแกร่งในการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพตลอดวงจรชีวิต ตั้งแต่ระดับ Pre-Seed ไปจนถึงขั้น Unicorn ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่เรียกว่า Deep Technology และผลักดันให้ อินโนสเปซ (ประเทศไทย) เป็น National Startup Platform ที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนากลุ่มสตาร์ทอัพไทยอย่างครบวงจร ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


‘Medical valley’ แหล่งรวม HealthTech แห่งสแกนดิเนเวีย

5 เทคนิคฝ่าวิกฤติสำหรับผู้ประกอบการใหม่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2443 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4634 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2338 | 22/12/2022
Innospace Thailand ดันสตาร์ทอัพฝ่าวิกฤติ