Vegan – มังสวิรัติ และ Flexitarian ความเหมือนที่แตกต่าง

SME in Focus
02/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 7194 คน
Vegan – มังสวิรัติ และ Flexitarian ความเหมือนที่แตกต่าง
banner

เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงได้ยินชื่อเรียกกลุ่ม “Vegan” กันมาบ้าง หลักการคือการให้ชีวิตหลีกเลี่ยงจากอาหารที่ทำมาจากส่วนประกอบจากสัตว์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปฏิเสธเครื่องอุปโภคบริโภคที่ได้มาจากการเบียดเบียนสัตว์ คนกลุ่มนี้เข้าขั้นปรัชญา คือไม่กิน ไม่ใช้ ไม่สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นการเบียดเบียนสัตว์ทุกประเภท ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหนังสัตว์ หรือส่วนประกอบจากสัตว์ ไม่เที่ยวสวนสัตว์ ไม่ดูละครสัตว์ ไม่ใช้แรงงานสัตว์

เรียกว่าไม่เป็นกลุ่มที่เป็นมิตรต่อสัตว์โลกมากที่สุด แต่ก็ไม่เป็นมิตรต่อโรงฆ่าสัตว์ หรือร้านอาหารที่ขายเนื้อสัตว์ เพราะหลายครั้งในหลายประเทศจะมีกลุ่ม “Vegan” หัวร้อนไปชูป้ายประท้วง หรือกดดัน ดราม่า นวิธีการต่างๆ เพื่อต่อต้านการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาบริโภค ขณะที่ในประเทศไทยก็เคยมีข่าว“Vegan” ผู้จิตใจอ่อนไหวไปยืนไว้อาลัยหน้าโรงฆ่าสัตว์กันมาแล้ว  โดยสาวก "Vegan" ยกให้ทุกวันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวัน "Vegan" สากล 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


แต่ทราบหรือไม่ว่า “Vegan” ถือเป็นภาคแยกของ “Vegetarian” หรือที่คนไทยคุณเคยกับคำว่า มังสวิรัติ แค่ชื่อก็พอเดาได้ว่าน่าจะเกี่ยวพันธ์กับวัฒนะรรมฮินดู โดยในภาษาบาลี – สันสกฤต:  มังสะ มังสา แปลว่า เนื้อ ส่วน วิรัติ แปลว่า ไม่ยินดี รวมๆ เลยสรุปความได้ว่า ไม่ยินดีในเนื้อข้อสรุปนี้สามารถอ้างอิงข้อสังเกตกลุ่มชาวฮินดูที่ไม่นิยมรับประทานเนื้อสัตว์และบูชาสัตว์ (บางชนิด) ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมที่เป็นมาแต่สมัยโบราณสืบทอดจนปัจจุบัน

การรับประทานของกลุ่ม Vegetarian หรือ “มังสวิรัติ” คือ ทั่วๆ ไปคืองดการบริโภคเนื้อสัตว์ แต่ยังสามารถรับประทาน ไข่ นม น้ำผึ้ง เจลาติน ชีส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่ไม่ใช่ได้จากการฆ่าสัตว์ ซึ่งในส่วนของมังสวิรัติ นี้ยังสามาระแบ่งแยกความเข้มข้นได้ด้วยตามแต่ละบุคคล หรือที่เรียกว่าสามารถยืดหยุ่นตามเหตุผลของแต่ละบุคคลหรือสถานการณ์ แต่ยังคงกฎเหล็กคือการไม่บริโภคเนื้อสัตว์

อาจมีคนแย้งว่า แล้วเห็นมีคนที่เป็นมังสวิรัติบางคนรับประทานปลา หรืออื่นๆ ได้ เรื่องนี้บอกเรียนตามนี้ว่า กลุ่มมังสวิรัตินี้ยังแยกย่อยเป็นหลายแขนง แบ่งเป็น :

1. มังสวิรัตินมและไข่ (Lacto-ovo vegetarian) งดเนื้อสัตว์ แต่ยังทานผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ได้ ถือเป็นกลุ่มมังสวิรัติที่ใหญ่ที่สุด

2. มังสวิรัตินม (Lacto vegetarian) รับประทานนม แต่งดไข่

3. มังสวิรัติไข่ (Ovo vegetarian) รับประทานไข่ แต่ไม่ดื่มนม

4. มังสวิรัติปลา (Pesco vegetarian) เป็นกลุ่มมังสวิรัติที่บริโภคปลาและอาหารทะเล

5. กลุ่มกึ่งมังสวิรัติ (Semi vegetarian) งดการรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู รับประทานเนื้อปลา ไก่ ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่ต่างๆ 

วิถียืดหยุ่น “Flexitarian” เกือบจะมังสวิรัติ

เอาเถอะ ...แล้วแต่ความชอบและพฤติกรรมการเลือกรับประทานของใครของมัน แต่ทราบหรือไม่ว่า ด้วยพฤติกรรมที่ยืดหยุ่นของการบริโภคมังสวิรัติ ยังทำให้เกิดเป็นเทรนด์การบริโภคอีกแบบหนึ่งขั้นมา คือ Flexitarian” ถือว่าเป็นศัพท์บัญญัติใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ที่เพิ่งถูกเพิ่มลงใน Oxford English Dictionary เมื่อปี 2014 โดย Dawn Jackson Blatner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ Flexitarian Diet เล่มแรกได้ให้คำนิยามของวิถีการกินนี้ไว้ว่า “คุณสามารถเรียกมันว่าการกินแบบ เกือบจะมังสวิรัติ ก็ได้ เพราะนี่คือวิถีการกินที่คุณยังสามารถได้รับประโยชน์ของการกินอาหารแบบมังสวิรัติ ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางโอกาส”

เอาละสิ ...เทรนด์แบบนี้ ต้องโดนใจใครๆ หลายคนกันบ้าง อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจจาก Humane Research Council ที่รายงานว่าคนกินมังสวิรัติทั้งแบบ Vegetarian และ Vegan มากถึง 84% กลับไปกินเนื้อสัตว์หลังจากที่พยายามเลิกกิน แล้วมีคนที่เคยกินมังสวิรัติมากถึง 43% บอกว่าการกินมังสวิรัติแท้ๆ ต่อไปเป็นเรื่องไม่อาจทำได้ต่อเนื่องอย่างแท้จริง

ด้าน The Vegan Society เผยว่าปี 2018 ที่ผ่านมาว่าความนิยมในเทรนด์มังสวิรัติทุกประเภทจากทั่วโลกเพิ่มสูงมากถึง 9.87 เท่าจากปีก่อน ปัจจุบันพบว่ามีชาวอเมริกันกินมังสวิรัติเคร่งครัดที่มีประมาณ 7.3 ล้านคน แต่มีมากถึงราว 22.8 ล้านคนระบุว่าตัวเองเป็นคนเน้นกินผัก ในขณะเดียวกันก็มีผลรายงานจาก Waitrose ที่บอกว่าชาวอังกฤษถึง 1 ใน 3 มีการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลงและ 1 ใน 5 ยังระบุว่าเขาคือ Flexitarian ซึ่งเหตุผลทำให้กระแสของมังสวิรัติแบบยืดหยุ่นนั้นถือว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้ก็มีหลากหลายต่างออกไป

กลายเป็นว่าเทรนด์ Flexitarian เริ่มกระแสแรงสุด อาจจะเพราะรสชาติ ผิวสัมผัสของการได้กิยเนื้อก็เป็นอีกปัจจัยในการ กลับไป-กลับมา ของคนกินมังสะวิรัติ จนกลายเป็นวิวัฒนาการใหม่ ซึ่งเทรนด์นี้เรียกว่า Plant-based Food หรือ เนื้อที่จากพืช รสชาติ หน้าตาคล้ายเนื้อมาก แถมคนกลุ่มนี้ ไม่ดราม่า ไม่หัวร้อน ไม่อิงศาสนา ไม่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ไม่ยุ่งกับใครทั้งนั้น เน้นอย่างเดี่ยว คือ สุขภาพและมาแรงยุคนี้


เทรนด์ใหม่ Plant-based Food

เรียก เนื้อเทียมก็ได้ ช่วงเวลาเพียง 3 ปีที่ผ่านมา Plant-based Food ไม่ได้ถูกพูดถึงในกลุ่มคนไม่กินเนื้อเท่านั้น แต่มันกลับกลายเป็นเทรนด์อาหารมาแรงที่แบรนด์เบอร์เกอร์เจ้าเล็กใหญ่กว่า 1,000 ร้านทั่วสหรัฐอเมริกาอเมริกาพากันเพิ่มในเมนูของพวกเขา

Plant-based Food นั้นเป็นวิถีการกินที่เน้นกินผักผลไม้และผลผลิตมาจากธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยปกติแล้วจะหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์และผลผลิตจากสัตว์ สาเหตุที่ทำให้วิถีการกินนี้กลายเป็นเทรนด์และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ผู้คนที่ต้องการกินอาหารดีๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงแถมเป็นการสร้างความยั่งยืนด้านอาหารในโลกไปด้วยนั่นเอง

จะเห็นว่าร้านอาหารในประเทศไทยขณะนี้ เริ่มมีเทรนด์ร้านอาหารแนว Vegan และที่เป็น มังสะวิรัติมากขึ้น และเป็นเทรนด์การรับประทานที่ถูกจริตคนไทยด้วยเช่นกัน รวมทั้งการบริโภคเนื้อที่ทำจากพืชก็มีมากขึ้น โอกาสของธุรกิจแนวนี้จึงแปลกใหม่ และน่าสนใจอย่างยิ่ง

แต่เนื้อที่ทำจากพืชนี้ยังมีประเด็นที่เกี่ยวพันธ์กับเรื่อง GMO ด้วยไว้คราวนี้จะมาเล่าให้ฟัง 

ธรรมเนียมที่คุณต้องรู้ เมื่อต้องเจอลูกค้าชาวจีน

เปิดคัมภีร์วิถี OEM อยากเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
232 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
401 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
319 | 20/03/2024
Vegan – มังสวิรัติ และ Flexitarian ความเหมือนที่แตกต่าง