ทำไม ‘อาเซียน’ ถึงเมิน ‘ดอลลาร์สหรัฐฯ’

SME Go Inter
25/03/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 3198 คน
ทำไม ‘อาเซียน’ ถึงเมิน ‘ดอลลาร์สหรัฐฯ’
banner
กว่า 70 ปี นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สกุลเงิน ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ รับบทบาทสำคัญกลายเป็น ‘สกุลเงินหลัก’ ที่ทั่วโลกใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศและเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเมื่อบทบาทดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดน้อยลง เมื่อ ‘จีน’ เข้ามาร่วมมือกับชาติต่าง ๆ ในเอเชีย รวมถึง ‘อาเซียน’ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าและการลงทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนสร้าง ‘ความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค’ ให้แข็งแรงขึ้น

ต้องขอบอกว่าความร่วมมือนี้ไม่ได้เป็นเพียง ‘นามธรรม’ อีกต่อไป เพราะหลายประเทศใน ‘เอเชีย’ และ ‘อาเซียน’ เริ่มเดินหน้าผลักดันการลดทอน ‘การพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ’ แล้ว เช่น อินโดนีเซียที่ลดการเปิดรับดอลลาร์สหรัฐราว 2,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปีที่แล้ว และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 10% ในปี 2565 นี้ อีกทั้งอินโดนีเซียและจีนเพิ่งขยายข้อตกลงการแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างกันออกไปเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินและส่งเสริมการลงทุนให้มากขึ้น ขณะที่ เมียนมาก็เพิ่งประกาศอนุญาตให้ใช้สกุลเงินบาทหรือจ๊าต เป็นสกุลเงินที่ใช้ชำระโดยตรงสำหรับการค้าชายแดนไทย-เมียนมา หรือแม้กระทั่งสถานการณ์วิกฤติในยูเครน เราจะได้เห็นข่าวที่รายงานว่าอินเดียขอซื้อน้ำมันจากรัสเซีย โดยชำระเป็นสกุลเงินรูปี-รูเบิล เป็นต้น

ขณะที่ เมื่ออ้างอิงข้อมูลจากนายอี้ กัง ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน ก็แสดงให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่ต่าง ๆ ในเอเชียได้เริ่มมีความคืบหน้าในการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อการค้าและการลงทุนใน 2-3 ปีที่ผ่านมาแล้ว ส่งผลให้ความมั่นคงทางการเงินของภูมิภาคแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อต้องปะทะกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้การแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างกันในหมู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน, จีน และเกาหลีใต้ จึงได้เพิ่มมูลค่าขึ้นแตะ 380,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไมประเทศต่าง ๆ ในเอเชียและอาเซียนจึงต้องลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ และความเชื่อที่ว่ารัสเซียและจีนสมคบกันโค่นล้ม ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ นั้นเป็นจริงหรือไม่ซึ่งประเด็นหลังก็เป็นเรื่องที่เกินจะหยั่งรู้ แต่เหตุผลหลัก คือ นักเศรษฐศาสตร์ต่างเชื่อว่าจีนและประเทศเกิดใหม่ต่าง ๆ จะเผชิญกับความเสี่ยงที่เงินทุนจะไหลออกเมื่อ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ ‘เฟด’ จะเริ่มใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ดูแลเศรษฐกิจของอินโดนีเซียเชื่อว่าการใช้สกุลเงินท้องถิ่นแทนดอลลาร์สหรัฐจะช่วยรักษาเสถียรภาพในตลาดการเงินโลกขณะที่เงินอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดโรคระบาดโควิด 19 กำลังจะถูกดึงออกไป

นอกจากนี้ การส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าบริการและการลงทุนระหว่างกันในหมู่ประเทศในเอเชียและอาเซียน หรือ Local currency settlement (LCS) จะทำให้ลดความต้องการสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลงและถูกผลักดันให้เป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่สามารถช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินสำหรับธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ และลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่รุนแรงจากเศรษฐกิจโลกซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเงิน โดยการกระจายความเสี่ยงทางสกุลเงินจะช่วยสนับสนุนความมั่นคงทางเศรษฐกิจและช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ฟื้นตัวจากโรคระบาดโควิด 19 ได้อย่างยั่งยืน

เมื่อมองเส้นทางของการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในอนาคต ขณะนี้การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในเอเชียและอาเซียนยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการสนับสนุนของแรงขับดันของตลาดและความพยายามของรัฐบาล โดยการส่งเสริมให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้านถือเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการ SME เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและช่วยให้มีทางเลือกการทำธุรกรรมในสกุลเงินต่าง ๆ มากขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะ ‘กลับทิศ’ จากฝั่งตะวันตกมายังตะวันออกและสกุลเงิน ‘หยวน’ อาจจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต โดยจะเห็นได้จากเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซาอุดีอาระเบียกำลังพิจารณาที่จะรับสกุลเงิน ‘หยวน’ แทนดอลลาร์สหรัฐ จากการขายน้ำมันให้กับจีน 

ทั้งนี้ ในช่วงที่เศรษฐกิจและการเมืองในต่างประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกตินั้นย่อมส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐ แน่นอนว่าผู้ประกอบการจำนวนมากยังคงใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายซึ่งผู้ประกอบการสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้โดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (FX forward) การจองสิทธิที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (FX options) และการใช้บัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit: FCD) ที่เหมาะกับธุรกิจที่เป็นทั้งผู้ส่งออกและนำเข้า ที่ต้องการถือเงินสกุลต่างประเทศไว้ โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทในทันที บริหารรายรับและรายจ่ายสกุลเงินต่างประเทศได้คล่องตัว ไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของค่าเงิน 

อย่างไรก็ดี การใช้เงินบาทและเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าในการค้าขายระหว่างประเทศแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นอีกวิธีที่ผู้ประกอบการควรจับตามองอย่างใกล้ชิดและศึกษาเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้สามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

ที่มา: 
 https://www.scmp.com/comment/article/3169469/us-dollar-no-longer-king-asean-adopts-currency-swaps 
China to work with Asian neighbours to grow use of local currencies over US dollar in trade, investment | South China Morning Post (scmp.com)
Saudi Arabia Considers Accepting Yuan Instead of Dollars for Chinese Oil Sales - WSJ 
Exploring Local Currency Usage to Reduce Exchange Rate Risks in Asia - AMRO ASIA (amro-asia.org) 
ทำไมธุรกิจต้องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน? (bot.or.th) 
7 ข้อเท็จจริงเรื่องค่าเงินบาท และการปรับตัวภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก (bot.or.th) 
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ สำหรับนิติบุคคลไทย (bangkokbank.com) 


ผู้เขียน : ศิริอาภา คำจันทร์

╔═══════════╗
ติดตามช่องทางอื่นๆ ของ AEC Connect
 YouTube: https://bit.ly/3wunilQ
 Blockdit: https://bit.ly/3xlPhE3
 Tiktok: https://vm.tiktok.com/ZM8XcMGx5/
 LINE OA: https://lin.ee/vPLU1bd
╚═══════════╝


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6347 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2035 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5085 | 23/10/2022
ทำไม ‘อาเซียน’ ถึงเมิน ‘ดอลลาร์สหรัฐฯ’