ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด
19 ทำลายเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำสุดขีดเป็นภาวะช็อกโลก เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการค้าระหว่างประเทศ
การท่องเที่ยว ภาคบริการ และรวมถึงห่วงโซ่อุปทานของโลก
แต่อีกซีกหนึ่งของโลกตะวันออกที่สามารถบรรเทาความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจจากวิกฤติโรคโควิด
และกลายเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นั้นก็คือ ‘ประเทศเวียดนาม’ ซึ่งนับเป็นชาติเดียวในอาเซียนที่สามารถพยุงเศรษฐกิจเติบโตมากที่สุด
และเฟื่องฟูท้าทายในยุคโรควิดยังแพร่ระบาด
ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดลุกลามทั่วโลกตั้งแต่ปี 2563 เวียดนามสามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดจนประสบความสำเร็จสูงสุด จากมาตราการขั้นเด็ดขาดในการควบคุมผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับการยกย่องจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นอีก 1 ในหลายประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวได้ดี ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะมีอัตราการขยายตัว 2.4 %ในปี 2563
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ขณะที่ปี
2564 IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเหนือกว่าชาติอาเซียน
ด้วยตัวเลขอัตราการเติบโตสูงถึง 6.5% อันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
แม้ว่าเวียดนามจะขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพเหมือนของประเทศที่ร่ำรวยต่างๆ
แต่เวียดนามก็ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางเรื่องมาตรการด้านสาธารณสุข
ซึ่งทำให้สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
รวมถึงการพัฒนาชุดทดสอบที่รวดเร็ว และใช้การทดสอบเชิงกลยุทธ์ การตามรอยโรค
เพื่อช่วยควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อ
อย่างไรก็ตามตลอดปี 2563 เศรษฐกิจเวียดนามซบเซาเช่นเดียวกับชาติอาเซียน
เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เคยเฟื่องฟูได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด
แต่เวียดนามก็สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบเศรษฐกิจอันเลวร้ายในประวัติศาสตร์โลกจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิดไปได้อย่างน่าทึ่ง
อาทิเช่น
Work
From Home ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
หลากหลายปัจจัยที่สามารช่วยลดผลกระทบเศรษฐกิจของเวียดนามในยุคโรคโควิดระบาด
ในมุมมองของ ไมเคิล
โคคาลารี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ วีนาแคปิตอล (VinaCapital)
ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนต่างชาติรายใหญ่ของเวียดนาม
สะท้อนมุมมองให้เห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลเวียดนามและบริษัทต่างอนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้าน
หรือ work From Home
นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า ซึ่งผลพลอยได้ไม่คาดคิดดังกล่าวอาจมาจากคนทำงานที่บ้านเพิ่มขึ้นมหาศาลทั่วโลก
“ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะ ประชาชนชาวเวียดนามแห่ซื้อคอมพิวเตอร์
หรือโน๊ตบุ๊คเครื่องใหม่ รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์สำนักงานใหม่ ทั้งทำงานภายในออฟฟิศและใช้เวลาทำงานอยู่บ้านมากขึ้น
ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้นส่วนใหญ่ผลิตในเวียดนามเป็นหลัก”
สำหรับการส่งออกสินค้าของเวียดนามไปสหรัฐอเมริกายังเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ในสามไตรมาสแรกของปี 2563 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 โดยการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ส่วนการส่งออกไปสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่ต่ำร้อยละ 50 เนื่องจากเวียดนามได้รับอานิสงส์จากความขัดแข้งการค้าระหว่างสหรัฐอเมริการกับจีน
ภาษียั่วใจนักลงทุนย้ายฐานผลิตปักธง
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษทีผ่านมาภาคการผลิตของเวียดนามเติบโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ในประเทศอื่น หลังจากที่ต้นทุนแรงงานในจีนเพิ่มขึ้น อีกทั้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่กำลังดำเนินอยู่และไม่มีท่าทีว่าจะยุติเมื่อไหร่ ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่น่าสนใจน้อยลงในแง่ฐานการผลิต เนื่องจากมีการเรียกเก็บภาษีส่งออกจำนวนมาก
ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ชั้นนำของโลกต่างย้ายฐานผลิตไปอยู่เวียดนาม ซึ่งรวมถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง “แอปเปิล” และ “ซัมซุง” ซึ่งตอนนี้ “แอปเปิล” มีแผนที่จะผลิตหูฟังไร้สาย “แอร์พอดส์” ในเวียดนามส่งออกไปจำหน่ายไปทั่วโลก ผลพวงจากการระบาดของโควิดยังกระตุ้นให้หลายบริษัทหันมาสนใจฐานการผลิตในเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากความจำเป็นในการกระจายห่วงโซ่อุปทานไปยังประเทศสหรัฐฯ และจีนที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเวียดนามไม่ใช่คู่ขัดแข้งสหรัฐฯ และจีน การย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามง่ายต่อการส่งออกไปสองประเทศดังกล่าว
เวียดนาม
เติบโตสูงสุดในอาเซียน 5 ปีซ้อน
ตลอดช่วง 5
ปีที่ผ่านมาเวียดนามเป็นประเทศที่ขยายตัวอย่างสูงที่สุดในอาเซียน
โดยมีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.8% ต่อปี
และที่สำคัญคือเป็นประเทศที่มีการขยายตัวกลุ่มชนชั้นกลางที่รวดเร็วที่สุดในเอเชีย
(มีรายได้ 714 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 22,000
บาทต่อเดือน) และบริษัท นีลเส็น กรุ๊ป
ยังได้ประเมินว่ากลุ่มชนชั้นกลางในเวียดนามจะเพิ่มขึ้นเป็น 44 ล้านคนในปี 2020 และเพิ่มเป็น 95 ล้านคนในปี 2030 ดังนั้นเวียดนามจึงกลายเป็นโอกาสของนักลงทุนทั่วโลกที่มุ่งย้ายฐานการผลิตไปที่นั้น
นอกจากเวียดนามจะเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจ
เพราะมีแรงงานต้นทุนต่ำ ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพื่อใช้เวียดนามเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกแห่งใหม่ในเอเชียและทั่วโลก
ในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
แนวโน้มการเติบโตของตลาดภายในประเทศและกำลังซื้อของประชากรที่คาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว
ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เวียดนามมีความน่าสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น
แหล่งอ้างอิง : www.BBC.uk