4 วิธีการจ่ายเงินเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศ

SME Update
20/07/2017
รับชมแล้วทั้งหมด 6923 คน
4 วิธีการจ่ายเงินเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศ
banner
Highlight:
•   Advance Payment เป็นวิธีที่ผู้ขายปลอดภัยมากที่สุด ในบรรดา 4 รูปแบบ เพราะได้รับการชำระเงินก่อนส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อ หลังจากนั้น เมื่อผู้ขายได้รับชำระค่าสินค้าแล้ว จะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ
•   การชำระเงินด้วยวิธีการเปิดบัญชีหรือการโอนเงิน ผู้ขายจะค่อนข้างเสียเปรียบจากความเสี่ยงที่จะเสียสินค้าไป โดยไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า และยังเป็นวิธีการชำระเงินที่เสี่ยงที่สุดในบรรดา 4 วิธีทั้งหมด
•   การชำระเงินโดยใช้เอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคาร ผู้ขายจะเกิดความเสี่ยงในแง่หากผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้าจะทำให้สินค้าตกค้างไปอยู่ที่ท่าเรือปลายทาง หรืออาจเสี่ยงเสียสินค้าไปโดยไม่ได้รับเงิน
•   การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารฝั่งผู้ซื้อเข้ามารับผิดชอบการชำระเงิน หากผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้า ทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายแบกรับความเสี่ยงต่ำ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้ L/C ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการชำระเงินรูปแบบอื่นๆ


การชำระสินค้าระหว่างคู่ค้าในต่างประเทศไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะโอนเงินได้เลยเสียเมื่อไหร่ เพราะว่ายังมีปัจจัยของระบบธนาคารแต่ละประเทศ ประเภทของสินค้า ความสัมพันธ์ระหว่าง SME และคู่ค้า เข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว SME ที่ทำการนำเข้า/ส่งออก สินค้ามักนิยมเลือกวิธีจ่ายเงินระหว่างประเทศอยู่ 4 วิธี ประกอบด้วย การชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment) การชำระเงินด้วยวิธีการเปิดบัญชีหรือการโอนเงิน (Open Account) การชำระเงินโดยใช้เอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill for Collection: B/C) และการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit: L/C)

การชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment)
ส่วนมากเป็นการขายสินค้าที่ผู้ซื้อต้องโอนเงินเพื่อชำระสินค้าล่วงหน้าโดยตรงแก่ผู้ขายก่อนที่ผู้ขายจะส่งมอบสินค้า การชำระเงินแบบนี้เป็นลักษณะที่ e-Commerce ส่วนใหญ่หรือการค้า Online ส่วนใหญ่จะทำ อีกทั้งยังเกิดความได้เปรียบของผู้ขาย และเป็นวิธีที่ผู้ขายปลอดภัยมากที่สุด ในบรรดา 4 รูปแบบ เพราะได้รับการชำระเงินก่อนส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อ หลังจากนั้น เมื่อผู้ขายได้รับชำระค่าสินค้าแล้ว จะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ แต่หากกรณีที่ผู้ขายยังไม่เป็นที่รู้จักดีวิธีนี้อาจส่งผลต่อความไว้วางใจของผู้ซื้อต่อตัวผู้ขายได้

การชำระเงินด้วยวิธีการเปิดบัญชีหรือการโอนเงิน (Open Account: O/A)
O/A วิธีการนี้จะเป็นการตกลงกันระหว่างตัวผู้ซื้อและผู้ขายให้ยินยอมต่อการชำระเงินหลังจากได้รับสินค้าไปแล้ว ตามระยะเวลาที่ตกลงหลังจากการมอบสินค้า ซึ่งผู้ขายจะค่อนข้างเสียเปรียบจากความเสี่ยงที่จะเสียสินค้าไป โดยไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า และยังเป็นวิธีการชำระเงินที่เสี่ยงที่สุดในบรรดา 4 วิธีทั้งหมด เพราะเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าไปแล้ว ถึงโอนเงินค่าสินค้าผ่านทางธนาคารให้ตามกำหนดเวลา เช่น 30 วัน หรือ 90 วัน หลังจากผู้ขายส่งสินค้าไปให้ หากผู้ขายเลือกใช้วิธีการชำระเงินแบบนี้ นั่นหมายความว่าตัวผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี และผู้ขายจะต้องมีความมั่นใจว่าผู้ซื้อจะสามารถชำระเงินได้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

วิธีการดังกล่าวตัวผู้ขายยังต้องศึกษากฎระเบียบเพิ่มเติมในแง่ของประเทศคู่ค้ามีกฎหมายห้ามการโอนเงินออกนอกประเทศหรือไม่ หรือด้วยระยะเวลาการเก็บเงินที่ใช้เวลานานทำให้ ผู้ขายต้องมีเงินหมุนเวียนในการทำธุรกิจระดับหนึ่งเช่นกัน

การชำระเงินโดยใช้เอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill for Collection: B/C)
เป็นการทำเอกสารเรียกเก็บเงินผ่านธนาคารผู้ขายไปยังธนาคารผู้ซื้อ แทนการส่งเอกสารไปแก่ผู้ซื้อโดยตรง และแบ่งได้เป็น 2 แบบ
1.) Document Against Payment (D/P) ธนาคารผู้ซื้อจะทำการเรียกเก็บค่าสินค้าจากผู้ซื้อก่อนส่งมอบเอกสารที่ใช้ในการรับสินค้าให้ผู้ซื้อ
2.) Document Against Acceptance (D/A) ผู้ซื้อจะมาลงชื่อรับเอกสาร หลังจากนั้นผู้ซื้อจะนำเอกสารไปรับสินค้าที่ท่าเรือ หรือสนามบิน และถึงชำระเงินภายหลังตามเงื่อนไข
การชำระเงินรูปแบบนี้ผู้ขายจะเกิดความเสี่ยงในแง่หากผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้าจะทำให้สินค้าตกค้างไปอยู่ที่ท่าเรือปลายทาง หรืออาจเสี่ยงเสียสินค้าไปโดยไม่ได้รับเงิน

การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit: L/C)
เป็นวิธีที่ความเสี่ยงต่ำที่สุดในบรรดาที่กล่าวมา แต่ยังรองลงมาจากวิธี Advance Payment เนื่องจากธนาคารฝั่งผู้ซื้อเข้ามารับผิดชอบการชำระเงิน หากผู้ซื้อปฏิเสธการรับสินค้า ทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายแบกรับความเสี่ยงต่ำ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้ L/C ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการชำระเงินรูปแบบอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบการที่มี L/C ในการทำการค้าระหว่างประเทศจะได้รับความเชื่อถือและความมั่นใจในการทำการค้ามากกว่าผู้ที่ไม่มี L/C

ธนาคารของผู้เปิด L/C (ธนาคารฝั่งผู้ซื้อ) จะทำการชำระเงินให้กับธนาคารฝั่งผู้ขายเพื่อรองรับว่าเมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าและแสดงเอกสารส่งออกให้แก่ธนาคารฝั่งผู้ขายครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C แล้ว ธนาคารฝั่งผู้ซื้อจะต้องชำระเงินแก่ผู้ขายโดยไม่บิดพริ้ว

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: AECconnect@bbl.co.th สายด่วน 1333 หรือสนใจสินเชื่อคลิก !
     
  •  
  •  

  • Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
    สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


    Related Article

    ‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

    ‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

    TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
    pin
    1051 | 14/02/2024
    ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

    ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

    ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
    pin
    1392 | 26/01/2024
    จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

    จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

    ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
    pin
    1669 | 25/01/2024
    4 วิธีการจ่ายเงินเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศ