ปั้น SME ไทย สู่แบรนด์ BCG Heroes เพิ่มขีดความสามารถ สร้างจุดแข็ง รุกตลาดโลกตอบรับเทรนด์การค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม

SME Go Inter
20/06/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 3648 คน
ปั้น SME ไทย สู่แบรนด์ BCG Heroes เพิ่มขีดความสามารถ สร้างจุดแข็ง รุกตลาดโลกตอบรับเทรนด์การค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม
banner
BCG ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายรัฐบาลได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว และยังเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การทำงานที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกำหนดไว้สำหรับปี 2565 เพราะเรื่องนี้เป็นเมกะเทรนด์ของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ถ้าไทยช้า หรือปรับตัวไม่ทัน อาจตกขบวนได้

ทั้งนี้ตลาดโลกกำลังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยบางประเทศได้นำประเด็นนี้มากำหนดเป็นนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า จนอาจกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้า ผู้ประกอบการและ SME ไทย จึงต้องเร่งปรับตัวเพื่อการแข่งขันในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแสวงหาวัตถุดิบที่ไม่ทำลายธรรมชาติ กระบวนการผลิตที่ประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการขนส่งที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ดังนั้นภาครัฐจึงมีแนวทางส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้วยโมเดล ‘BCG : Bio Circular Green Economy’ หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว



โดยการขับเคลื่อน BCG ถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนมูลค่า GDP ของ BCG จาก 21% เป็น 24% ภายใน 5 ปี หรือเพิ่มจาก 3.4 ล้านล้านบาท ในปี 2563 เป็น 4.4 ล้านล้านบาท ในปี 2568 โดยมีสินค้าและบริการในกลุ่ม BCG ที่อยู่ในเป้าหมายผลักดัน 5 ประเภทอุตสาหกรรม S-curve  ได้แก่ เกษตรและอาหาร, สุขภาพและการแพทย์, พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ, การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
    
ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG, การส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้า BCG และยังมีมาตรการในการขับเคลื่อน BCG โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แม้กระทั่งภาคเอกชน ต่างก็หันมาให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อน BCG เพิ่มมากขึ้น

 

การขับเคลื่อน BCG Model ด้วยแนวคิดการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทำอย่างไร

เป็นการให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาส รายได้ และความเจริญ ไปสู่ประชาชนของประเทศอย่างทั่วถึง โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปยกระดับผลิตภาพของผู้ผลิตส่วนใหญ่ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและนวัตกรรมการจัดการที่จะนำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ 

ในขณะเดียวกัน ก็ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) ที่มีความพร้อมในผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมุ่งเป้าสู่การเป็นประเทศที่เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม ลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการเป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยี

ยกตัวอย่าง เช่น การสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนจากการลดการใช้ปุ๋ยและยาที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรไทย และยังได้ผลิตผลที่ปลอดภัย ได้คุณภาพและปริมาณคงที่ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถนำผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพคงที่มาแปรรูปให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

หรือจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น สารให้ความหวาน สารแต่งกลิ่นรส พลาสติกชีวภาพ อาหารเสริมสุขภาพ ซึ่งจะช่วยดูดซับผลผลิตทางการเกษตรส่วนเกินในตลาด บรรเทาปัญหาราคาตกต่ำในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยาง และปาล์ม

รวมไปถึงการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบ รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาปิดช่องว่างให้การใช้ทรัพยากรของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย



นำร่องเปิดตัว BCG Heroes

ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มจีดีพีให้กับประเทศ จึงเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการให้สามารถก้าวข้ามข้อกีดกันทางการค้าในตลาดโลก เพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการทุกระดับ เพื่อขับเคลื่อนแผนงานด้าน BCG อย่างเป็นรูปธรรม

กระทรวงพาณิชย์จึงเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ  BCG โดยจะคัดเลือก BCG Heroes  50 แบรนด์ นำร่องในกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้โมเดลธุรกิจ BCG ในการเพิ่มมูลค่า และมีสินค้าที่น่าสนใจตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของยุค New Normal หลังจากนั้นจะผลักดันเพิ่มเป็น 500 รายภายในปี 65 นี้

โดยจะดึงสินค้ากลุ่มใหม่เข้ามาเพิ่ม เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการและ SME ให้มีศักยภาพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของตนเองได้ มีความพร้อมด้านการค้าและเศรษฐกิจยุคใหม่ เพื่อสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ และยกระดับผู้ประกอบการท้องถิ่นในทุกภูมิภาคของไทยสู่ตลาดโลก หรือ Local To Global จึงได้จัดกิจกรรมบ่มเพาะแบรนด์ไทย หรือ IDEA LAB ขึ้น

โดยจะพิจารณาการใช้วัตถุดิบจากเศษเหลือใช้ การเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบฐานชีวภาพ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการออกแบบให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นต้น ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น Hero list กลุ่มนำร่องกลุ่มแรกที่กระทรวงวางแผนจะพาไปเจาะตลาดต่างประเทศและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทั่วโลก

สร้างภาพลักษณ์ทางการค้าที่ดีให้กับประเทศ เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก โดยยกโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพ SME ไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศ ช่วยขยายตลาดสินค้ากลุ่ม BCG ในยุค Next Normal 


ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยคาดหวังให้กิจกรรมบ่มเพาะแบรนด์ไทยนี้ ช่วยสร้างผู้ประกอบการที่มีมูลค่าเพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น สร้างแบรนด์ภูมิภาคให้เป็นแบรนด์ต้นแบบประจำท้องถิ่น ได้นำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม การออกแบบ และการสร้างแบรนด์ มาส่งเสริมเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ให้แบรนด์ไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีการค้าโลก

มุ่งยกระดับสู่การเป็นแบรนด์ BCG Heroes ซึ่งจากการดำเนินงานโครงการ 4 รุ่นที่ผ่านมาได้สร้างผู้ประกอบการจำนวน 65 ราย และทำให้ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในด้านการสร้างแบรนด์อย่างเป็นรูปธรรม โดยแต่ละรายได้แนวทางกลยุทธ์แบรนด์ของตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ จุดแข็ง และความท้าทายของตนเอง สามารถเพิ่มศักยภาพของธุรกิจในเวทีสากล



ชู BCG โมเดล ดันสินค้า SME สู่ตลาดโลก

สำหรับ 5 สินค้า BCG ที่ไทยต้องการผลักดันสู่ตลาดโลกการขับเคลื่อนสินค้า BCG ไทยมีเป้าหมายเบื้องต้นที่จะเข้าไปส่งเสริมและผลักดันสินค้า 5 กลุ่มด้วยกัน คือ 1. อาหารแห่งอนาคต 2. อาหารสัตว์เลี้ยง 3. บรรจุภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ 4. เครื่องสำอาง 5. สมุนไพร เพราะเป็นกลุ่มที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออก และที่ผ่านมา ได้มีการนำ BCG มาใช้ในกระบวนการผลิตอยู่แล้ว สามารถที่จะต่อยอดผลักดันให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น จึงผลักดันส่งออกไปขายต่างประเทศ เพื่อนำรายได้เข้าประเทศได้เร็วขึ้น

โดยเป้าหมายภายในปีนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมุ่งหวังจะสร้างผู้ประกอบการ BCG จำนวนกว่า 500 ราย และเพิ่มสัดส่วนรายได้ของประเทศจากกลุ่ม BCG มากขึ้น โดยในปีนี้จะบุกเจาะตลาดที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ตลาดยุโรป คือ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ตลาดออสเตรเลีย และตลาดเกาหลีใต้ เป็นต้น

การเจาะตลาดเกาหลีใต้ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นสินค้า Eco Thai ที่ได้เริ่มเข้าไปบุกตั้งแต่ปี 2563 อย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี และผู้บริโภคเกาหลีใต้เองต้องปรับตัวจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลกำหนดเพิ่มขึ้น ขณะที่การเจาะตลาดอิตาลี จะนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการและนโยบายการส่งเสริมของกระทรวงพาณิชย์ในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ส่วนการเจาะตลาดออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะสร้างภาพลักษณ์ทางการค้าที่ดีของไทยและประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าช่วยลดโลกร้อนของไทยให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ขณะที่การเจาะตลาดยุโรป (อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์) จะเปิดตัวสินค้า BCG ของไทยในเวทีงานแสดงสินค้าที่เน้นแนวคิดด้าน ‘รักษ์โลก’



แผนผลักดัน BCG ปี 65

สำหรับแผนการสนับสนุน BCG ในปีนี้ จะเน้นการร่วมมือกับหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ ผลักดันให้ผู้ประกอบการและ SME เป็นผู้ประกอบการ BCG เพิ่มขึ้น โดยจะมีกิจกรรมที่จะนำมาช่วยสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ทั้งการพัฒนาคน พัฒนาสินค้า การช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า BCG และการส่งเสริมการขายสินค้า BCG ผ่านทางออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ

รวมทั้งพาผู้ประกอบการ BCG เข้าร่วมงานแสดงสินค้า เพื่อแนะนำสินค้าและเปิดตัวสู่ตลาดโลกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ช่วยทำตลาดโดยจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ให้ทูตพาณิชย์เชิญผู้ซื้อ ผู้นำเข้ามาเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการของไทย นำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ไทยยังได้เตรียมจัดทำแพลตฟอร์มสำหรับขายสินค้า BCG ใน Thaitrade.com เพื่อแนะนำสินค้าและเปิดโอกาสจำหน่ายออกสู่ต่างประเทศทางออนไลน์ และยังจะนำแคตตาล็อกไปไว้ในหน้าร้าน TOPTHAI Store ที่ปัจจุบันมีเปิดใน Tmall.com และ Tmall Global ของจีน, Bigbasket.com ของอินเดีย, Amazon.com ของสิงคโปร์และสหรัฐฯ , Klangthai.com ของกัมพูชา และ Blibli.com ของอินโดนีเซีย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายอีกทางหนึ่ง

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า SME เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ไปสู่เป้าหมาย เพราะเป็นเมกะเทรนด์ของโลก ถ้าพลาดแล้ว ผู้ประกอบการไทยจะเสียโอกาส แต่ถ้าปรับตัวได้เร็วมีความพร้อมก็จะทำให้สินค้าและบริการ BCG ของไทย เป็นที่รู้จักเป็นที่ยอมรับ และทำรายได้เข้าประเทศได้มากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน (Sustainability)
 

ที่มา : 
https://www.bcg.in.th/driven-strategies-and-plans/
https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/
https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/nstda-bcg/
https://www.commercenewsagency.com/news/4532
https://www.thaigroove.com/bcgheroes/

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6060 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4918 | 23/10/2022
ปั้น SME ไทย สู่แบรนด์ BCG Heroes เพิ่มขีดความสามารถ สร้างจุดแข็ง รุกตลาดโลกตอบรับเทรนด์การค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม