COVID-19 แรงกระตุ้นให้ธุรกิจต้องปรับตัวครั้งใหญ่

SME in Focus
11/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2052 คน
COVID-19 แรงกระตุ้นให้ธุรกิจต้องปรับตัวครั้งใหญ่
banner

ทราบหรือไม่ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ล้มเหลว คือการไม่มีแผนรับมือเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ดี

จากสถานการณ์ที่เอสเอ็มอีไทยต้องเผชิญในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ จำนวน 2,655 ราย 21 สาขาธุรกิจ เรื่องการปรับตัวและมาตรการเอสเอ็มอีในภาวะวิกฤตไวรัสโควิด19 ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 พบว่า

ยอดขายของกิจการในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมียอดขายลดลง ทำให้เอสเอ็มอี 3.8% มีรายได้ลดลงกว่า 80% โดยสาขาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือร้านอาหารที่ไม่ได้เข้าร่วมเดลิเวอรี และธุรกิจอุปโภคบริโภคดั้งเดิม

นอกจากนี้ยังพบว่า เอสเอ็มอีกว่า 33.5% ยังไม่มีแผนในการปรับตัวรับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 

รองลงมา คือมีการปรับตัวลดต้นทุนทางธุรกิจ คิดเป็น 18.8% เพิ่มช่องทางตลาด เช่น ขายออนไลน์ บริการเดลิเวอรี คิดเป็น 12.8%, หยุดกิจการชั่วคราว 8.5%, จัดโปรโมชั่นสู้สถานการณ์ 6.2%, ลดจำนวนแรงงานและลดเงินเดือน 5.4%, เปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นหรือหารายได้เสริม 4.7%, ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ 3.8%, ปรับราคาสินค้าและบริการ 3.7%, ปรับไปตามแต่ละสถานการณ์ 1.4% และอื่นๆ 1.2%

กลุ่มที่น่าเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากที่สุด ที่อาจส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ไปจนถึงเลิกกิจการ คือกลุ่มผู้ประกอบการกว่า 33.5% ที่ยังไม่มีแผนรับมือหรือปรับตัว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


คำถามที่เอสเอ็มอีต้องตอบ...จะปรับตัวเมื่อไหร่?

ทั้งนี้เป็นไปได้มากว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มตัวอย่างกว่า 33.5% ที่ไม่มีการวางแผนรับมือหรือปรับตัวนั้น อาจจะเป็นธุรกิจประเภทที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ได้ หรือไม่ก็เป็นที่วิสัยทัศน์ในการดำเนินงานของผู้ประกอบการเอง ที่อาจคิดว่าสถานการณ์นี้จะอยู่ไม่นาน

รวมไปถึงไม่คิดว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจที่ทำมาแต่ดั้งเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ได้ ซึ่งในยุคที่หลายสิ่งในชีวิตของคนๆ หนึ่ง ถูกเชื่อมโยงด้วยโครงข่าย IoT อย่างในปัจจุบัน มักจะพบว่าอะไรๆ ก็เกิดขึ้นหรือเป็นไปได้ แม้แต่การขายหมูเป็นๆ หน้าฟาร์มก็สามารถถูกเชื่อมโยงให้เกิดการซื้อขายได้แล้วในแพลตฟอร์มออนไลน์

กรณีตัวอย่างดังที่สาวชาวจีน ชื่อ "โจว หงเจิน" จากหมู่บ้านตงวาน มณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน สร้าง Story telling บอกเล่าเรื่องราวการเลี้ยงหมูในพื้นที่ผ่านการไลฟ์สด ทำให้ผู้คนได้เห็นสภาพแวดล้อมในการผสมพันธุ์และการเติบโตของหมูที่เธอเลี้ยง จนเกิด Content ที่ดึงดูดใจทำให้ผู้คนอยากซื้อหมูที่เธอขาย

เธอจึงเปิดการขายหมูชุดแรกได้หมดเกลี้ยงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายปี 2018 ต่อมาเธอได้ช่วยคนในหมู่บ้านอีก 3 ครัวเรือนขายหมูจนหลุดพ้นจากความยากจน และทำกำไรจากการไลฟ์ขายหมูออนไลน์ได้ถึงปีละ 3.6 ล้านบาท

เช่นเดียวกับ Pyonekathy Naing ..หญิง เมืองกะลอ สังกัดพรรค NLD ประเทศเมียนมา ที่ลุกขึ้นมาจัดระเบียบตลาดสดใหม่ในยุคโควิด-19 แพร่ระบาด แบบรักษาระยะห่าง เพื่อช่วยให้ชาวบ้านร้านตลาดสามารถทำการค้าได้อย่างปลอดภัย เปลี่ยนจากสถานที่ทึมทึบอากาศไม่ระบาย มาเป็นลานโล่งกว้าง ตั้งแผงห่างกัน 2 เมตร กางร่มสีสันสวยงามขึ้น 4 แห่ง

โดยได้รับการสนับสนุนร่มกันแดดให้แก่พ่อค้าแม่ค้าจากภาคเอกชน ทำให้ยังคงสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งจัดเป็นการปรับเปลี่ยนของธุรกิจแบบดั้งเดิมอย่างเห็นภาพได้ชัด

บางครั้งเราก็มองว่า...ก็แค่เรื่องง่ายๆ ใครก็คิดได้ แต่ทำให้ประสบความสำเร็จสิเรื่องยาก ซึ่งจริงอยู่ว่ามีส่วนจริง แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็แพ้ตั้งแต่ต้น

 

อาจต้องรอให้รัฐช่วย ?

เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่จำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาช่วยพยุงกิจการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบ เพื่อประครองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นไปแบบไม่ให้หมากล้มทั้งกระดาน เพราะหากธุรกิจเอสเอ็มอีที่เป็นเสมือนตัวเบี้ยสำคัญในกระดานโดมิโนตัวใดตัวหนึ่งล้มลงหรือล้มลงทั้งหมด ย่อมส่งผลกระทบแบบโดมิโนในระบบเศรษฐกิจไทยตามมาอย่างแน่นอน และถ้าปล่อยให้ล้มหายตายไปโอกาสที่จะกลับมาฟื้นฟูเพื่อให้เข้าที่เข้าทางได้ใหม่ อาจต้องใช้ระยะเวลาหลายปีไปจนถึงไม่มีโอกาสฟื้นได้อีกเลย 

ดังนั้นในช่วงเวลาที่เอสเอ็มอีไทยเดือดร้อนรัฐบาลจำต้องยื่นมือเข้าช่วย ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการการช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยไปแล้ว 12 มาตรการด้วยกัน คือ

1. มาตรการพักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้จากสถาบันการเงิน

2. มาตรการลดและเลื่อนจ่ายค่าน้ำค่าไฟ

3. มาตรการปล่อยกู้ Soft Loanดอกเบี้ย 2% เวลา 2 ปี

4. มาตรการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์

5. มาตรการลด เลื่อน ชะลอ การเก็บค่าธรรมเนียม ค่าเช่าที่จ่ายให้ภาครัฐ

6. มาตรการเร่งคืน VAT ให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ

7. มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

8. สถานประกอบการนำรายจ่ายค่าจ้างหักภาษีได้ 3 เท่า

9. ลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เป็น 1.5 %

10. กองทุนประกันสังคมให้วงเงินสินเชื่อ 3% 3 ปี

11. ลดหย่อนภาษีเงินได้ 1.5 เท่า สำหรับ SME ที่เข้าร่วมสินเชื่อ Soft Loan

12. ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้างลง 0.1% 3 เดือน

ความช่วยเหลือที่ภาครัฐพยายามหามาพยุงธุรกิจเอสเอ็มอี อาจเป็นทางออกที่ช่วยบรรเทาทุกข์ของผู้ประกอบการได้ในระยะเวลาหนึ่ง ให้เอสเอ็มอีสามารถประครองตัวเองผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ ไม่สามารถช่วยได้ตลอดไป และสุดท้ายเอสเอ็มอีเองนั่นล่ะที่ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงช่วยเหลือตัวเอง

 

หรือคุณจะยอมแพ้!

การระบาดของโควิด-19 ไม่เพียงแต่จะทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนบนโลกใบนี้เปลี่ยนไป แต่กำลังจะเปลี่ยนภาพเศรษฐกิจและธุรกิจในเกือบทุกด้านบนโลกใบนี้ด้วย นอกจากนี้การมาเยือนของโรคโควิด-19 ยังจะทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และกำลังจะกลายเป็น New Normal” หรือ ความปกติใหม่ของโลกเศรษฐกิจ ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไป กลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ภาคธุรกิจต้องมาวิ่งตามเพื่อช่วงชิงฐานลูกค้าเอาไว้ให้มากที่สุด

ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะถดถอยขั้นรุนแรงจนเข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งจัดเป็นวิกฤติรอบใหม่ที่อาจหนักกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งช่วงปี พ..2540 โดยแบงก์ชาติได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในรูปเครื่องหมายถูก 

นั่นคืออยู่ในสภาพที่ดิ่งแรงแต่พุ่งขึ้นอย่างช้าๆ จากโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนไป หากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศรวมไปถึงผู้ประกอบการไทย มีการปรับตัวเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายประเทศไทย ให้เร่งกระตุ้นและพัฒนาด้านทรัพยากรคน เงินทุน เครื่องจักรกล เทคโนโลยี และนวัตกรรรมใหม่ๆ ที่อาจต้องเร่งให้เกิดขึ้นเร็วกว่านโยบายแผนการพัฒนาประเทศที่วางไว้

เพราะโลกข้างหน้ามีการคาดการณ์ว่าจะถูกเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายดิจิทัลและเทคโนโลยี ที่จะมาเป็นตัวผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบให้เร็วที่สุด ซึ่งนั่นหมายรวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยต้องปรับตัวตามกระแสเศรษฐกิจโลก และทิศทางการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลไทย ที่ต้องการให้ประเทศไทยไปสู่ 4.0 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม


ถ้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นเพียงกลุ่มตัวอย่างกว่า 33.5% จากจำนวน 2,655 ราย คือตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่ปรับตัวทั่วประเทศ นั่นเท่ากับว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้อาจต้องล้มหายตายไปจากกระดานกลายเป็นเบี้ยตายที่ต้องล้มหายไปจากเกมธุรกิจ

ก็เหมือนกับชีวิตไดโนเสาร์ที่อยู่มาไม่ได้ยาวนานเหมือนกับมนุษย์ เพราะไม่มีการปรับตัวเปลี่ยนพฤติกรรมดั้งเดิม จนทำให้พวกมันต้องสูญพันธุ์เพราะสู้ภัยธรรมชาติที่ถาโถมเข้ามาไม่ได้ สุดท้ายจึงเหลือไว้แค่เพียงภาพเล่าในหน้าประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าเหตุใดพวกมันจึงสูญพันธุ์เท่านั้นเอง

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875817 

https://positioningmag.com/1273586 

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877938 

https://today.line.me/th/pc/article/ 

https://www.komchadluek.net/news/foreign/429084?utm_source=tiein&utm_medium=internal_referral  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


COVID – 19 กับโอกาสของธุรกิจเพื่อสุขภาพ

ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
193 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
282 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
912 | 17/04/2024
COVID-19 แรงกระตุ้นให้ธุรกิจต้องปรับตัวครั้งใหญ่