‘เนื้อจากห้องแล็บ’ ความท้าทายของผู้ผลิตอาหาร

SME Startup
10/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 7154 คน
‘เนื้อจากห้องแล็บ’ ความท้าทายของผู้ผลิตอาหาร
banner

ทั่วโลกเริ่มรู้จักอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการเลี้ยงเนื้อในห้องแล็บ หรือ Cultured meat หลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาสทริชท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกมาพูดและนำเสนอ Cultured beef burger หรือเบอร์เกอร์เนื้อเพาะเลี้ยง เพื่อแก้ปัญหาสัตว์เลี้ยงขาดแคลนในอนาคต ผ่านทางโทรทัศน์ครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2013 (พ.ศ.2556) จากนั้นผ่านมาไม่กี่ปี เทรนด์อาหารที่ผลิตในห้อง Lab-grown foods หรืออาหารสังเคราะห์แห่งโลกอนาคตได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง กระทั่งเกิดกิจการผลิต ‘เนื้อสัตว์สังเคราะห์’ (Lab-grown meat) ต่อเนื่อง แต่สามารถผลิตได้เพียงแค่ เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลาทูน่า กลายเป็นเทรนด์ Cultured meat ที่ทุกคนต่างรับรู้ตรงกัน ว่าเป็นการผลิตเนื้อจากเทคโนโลยีการเลี้ยงเนื้อในห้องแล็บ

อย่างไรก็ตามในขณะนั้นต้นทุนการผลิต Cultured meat ค่อนข้างสูงอยู่ที่กิโลกรัมละ 478,993 ดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นเมื่อมีสตาร์ทอัพที่ให้ความสนใจในการผลิต Cultured meat เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีสตาร์ทอัพด้านอาหาร (FoodTech) กว่า 30 รายทั่วโลกเข้ามามีส่วนร่วมแย่งส่วนแบ่งตลาด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป และอิสราเอล ส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ต้นทุนการผลิตจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีหลัง ลดลงเป็น 95,798 และ 8,164 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ในปี 2015 และ 2016 ตามลำดับ และคาดว่าจะลดลงเหลือ 14.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมในปี 2020 แต่ยังไม่มีบริษัทใดที่สามารถผลิตเนื้อในห้องแล็บและขายในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากต้นทุนที่ยังคงสูงกว่าเนื้อธรรมดา อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายรองรับและอนุญาตให้จำหน่ายชัดเจน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

สิงคโปร์ชาติแรกของโลกอนุญาตขาย “เนื้อไก่” จากห้องแล็บ

การแพร่ระบาดของของโรคโควิดทั่วโลกยังไม่ยุติ ทำให้การนำเข้า ส่งออก อยู่ในขีดจำกัด ทางการสิงคโปร์จึงอนุญาตให้มีการขายเนื้อไก่ที่ผลิตจากเซลล์สัตว์ในห้องทดลอง (cultured meat) เพื่อการพาณิชย์ได้ โดยเปิดทางให้บริษัท ‘Eat Just’ (อีท จัสต์) เมื่อที่ 2 ธันวาคม 2563 สามารถใช้เนื้อไก่สังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์นักเก็ต “ชิกเกน ไบต์” ขายเป็นประเทศแรกของโลก เปิดทางให้อุตสาหกรรมเนื้อจากแล็บเป็นประเทศแรกของโลก

สำหรับสิงคโปร์เป็นประเทศเกาะขนาดเล็กที่ต้องนำเข้าอาหารจากทั่วโลกสูงถึง 90% จึงให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารภายในประเทศ เมื่อปี 2562 รัฐบาลประกาศแผน “30 ภายใน 30” โดยมีเป้าหมายเพิ่มการผลิตอาหารในประเทศเป็น 30% ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ด้วยเทคโนโลยีการผลิตอาหารใหม่ๆ เช่น การทำไร่แนวตั้ง, เกษตรกรรมในน้ำ และล่าสุดคือการผลิตเนื้อในห้องทดลอง

การอนุมัติของสิงคโปร์ขายเนื้อไก่ที่ผลิตจากเซลล์สัตว์ในห้องทดลองครั้งนี้ ยังถือเป็นปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อจากห้องทดลอง ที่หลายบริษัทเริ่มให้ความสนใจกันมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนาย จอช เททริค ผู้ร่วมก่อตั้ง Eat Just เชื่อว่า นี่จะกลายเป็นตัวอย่างที่อาจทำให้หลายประเทศเจริญรอยตาม

 

เทรนด์รับประทานเนื้อสังเคราะห์กำลังมาแรง

มนุษย์ฆ่าสัตว์กินเพื่อบริโภคเป็นอาหารมากเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่ทุกวันนี้ความต้องการอาหารประเภทเนื้อทางเลือกจากเนื้อปกติกำลังเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเนื้อสัตว์เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสุขภาพ, สวัสดิภาพสัตว์ กับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในทางเลือก คือการผลิตเนื้อจากเซลล์ของสัตว์ โดยไม่จำเป็นต้องฆ่า ซึ่งนับตั้งแต่ มหาวิทยาลัยในลอนดอน เปิดตัวเบอร์เกอร์เนื้อวัวจากห้องแล็บชิ้นแรกของโลก ในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2556  มีบริษัทสตาร์ท-อัพ หลายสิบแห่งทั่วโลก เริ่มพัฒนาการผลิตเนื้อประเภทนี้ จนในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 30 บริษัท ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ ประเทศแถบยุโรป และอิสราเอล

เทคโนโลยีการผลิตเนื้อจากห้องแล็บสมัยปัจจุบัน จะใช้วิธีนำสเต็มเซลล์จากกล้ามเนื้อของสัตว์ต้นแบบมาเพาะเลี้ยงในถังหมัก (bioreactor) ในอุณหภูมิที่เหมาะสม และใช้น้ำเลี้ยง (culture medium) ซึ่งสกัดจากพืช เป็นสารอาหารหล่อเลี้ยงให้สเต็มเซลล์เติบโต อย่างไรก็ตามวิธีนี้ผลิตได้เพียงเนื้อวัว, เนื้อไก่, เนื้อหมู และเนื้อปลาทูน่าเท่านั้น  

 

ราคาแพงความท้าทายตอบโจทย์ผู้บริโภค

ความท้ายอันดับแรกแม้ว่าการผลิตเนื้อสังเคราะห์จากห้องแล็บกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ผลิตอาหารประเภทที่ยังต้องเผชิญความท้าทายอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องราคา เพราะการผลิตเนื้อในห้องทดลอง มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าผลิตภัณฑ์จากพืชมาก แต่การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตเนื้อสังเคราะห์จากห้องแล็บ ซึ่งที่เคยสูงต้องใช้ต้นทุนสูงถึง 478,993 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม (ประมาณ 14.4 ล้านบาท) ลดลงเหลือ 8,164 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม (ประมาณ 246,300 บาท) ในปี 2559 และลดลงเหลือเพียง 14.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ในปี 2563 (ประมาณ 437 บาท) แต่ราคาก็ยังคงสูงกว่าไก่ทั่วไปตามท้องตลาด แต่กระนั้นยังถือว่าเป็นแพงพอสมควร

ความท้าทายอันดับสอง คือ การผ่านการรับรองจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนที่ผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ จะสามารถจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคได้ เนื้อจากห้องแล็บมีข้อได้เปรียบเนื้อคือ มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคและยาปฏิชีวนะน้อยกว่าเนื้อสัตว์ปกติ ที่ต้องได้รับยาเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ขณะที่ปริมาณสารอาหารก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องมีการตรวจสอบ ว่าใกล้เคียงเนื้อปกติหรือไม่ แต่การได้รับอนุมัติในสิงคโปร์ ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับอุตสหกรรมเนื้อสังเคราะห์ เพราะกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยที่สิงคโปร์ใช้ อาจถูกนำไปอ้างอิงในกระบวนการตรวจสอบของประเทศอื่นๆ ได้

และความท้าทายสุดท้าย คือการยอมรับจากผู้บริโภค โดยผลสำรวจของมหาวิทยาลัย ซิดนีย์ และมหาวิทยาลัย เซอร์ติน ในออสเตรเลีย ที่เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน 2563 พบว่า คนเจเนอเรชั่น แซด (gen Z) หรือผู้มีอายุ 18-25 ปี ถึง 72% ยังไม่พร้อมที่จะยอมรับเนื้อจากห้องแล็บ โดยหลายคนกังวลในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งความสำเร็จของ Eat Just ในสิงคโปร์ อาจทำให้ผู้คนวางใจได้มากขึ้นว่าเนื้อประเภทนี้ปลอดภัย

อุตสาหกรรมเนื้อจากห้องแล็บ แม้จะมีความท้าทายมากมายที่กำลังรอให้เนื้อจากห้องแล็บต้องพิสูจน์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่บริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลกคาดว่าภายในปี 2583 หรือ 20 ปีข้างหน้า เนื้อส่วนใหญ่ที่มนุษย์ในโลกนี้บริโภคจะไม่ได้มาจากการฆ่าสัตว์อีกต่อไป เพราะราคาถูก ปลอดภัย และมีโปรตีนสูงไม่แพ้เนื้อสัตว์

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://www.BBC.uk 

                                 https://www.TheGuardian.com 

                                 https://www.agilitypr.com  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


สิงคโปร์กับนโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

โอกาส SMEs! ตลาดเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชในประเทศจีน


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2274 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4455 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2247 | 22/12/2022
‘เนื้อจากห้องแล็บ’ ความท้าทายของผู้ผลิตอาหาร