สิงคโปร์กับนโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

SME Go Inter
07/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3411 คน
สิงคโปร์กับนโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
banner

สิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาในทุกด้าน มีเศรษฐกิจที่ดี สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพประชากรล้วนอยู่ในระดับดีเยี่ยม ทว่าปัญหาของสิงคโปร์ คือ อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลของสิงคโปร์มีความพยายามในทุกยุคสมัยในการผลักดันเรื่องความมั่นคงด้านอาหารในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับประเทศที่มีพื้นที่แค่ 725.7 ตารางกิโลเมตร

รวมทั้งช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอาหารโลก ผู้บริโภคตื่นตระหนกและแห่กักตุนสินค้าจากซูเปอร์มาเก็ต ทำให้สินค้าจำเป็นขาดแคลน การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลต่อความล่าช้าของการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการปิดตัวของร้านอาหาร ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความเป็นไปได้ของนโยบายการผลิตอาหารให้ได้ 30% ของความต้องการบริโภคในสิงคโปร์ 1 ภายในปี 2573 (2030) ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่มีมาก่อนวิกฤต COVID-19

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

Mr.Paul Teng ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารของสิงคโปร์  กล่าวว่า แม้สิงคโปร์จะประสบความสำเร็จในนโยบายดังกล่าวภายใน 10 ปี แต่สิงคโปร์ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากโลกอีก 70% ทั้งนี้นโยบายผลิตอาหารให้ได้ 30% ของความต้องการบริโภคในสิงคโปร์ อาจจะเพียงพอสำหรับรองรับความต้องการอาหาร  หากสถานการณ์ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ แต่ด้วยสถานการณ์เชิงลบในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ COVID-19 ทำให้สิงคโปร์ต้องวางแผนสำหรับการสำรองเสบียงอาหารสำหรับระยะเวลา 2-3 เดือน เพิ่มเติม

ศาสตราจารย์ S. Rajaratnam จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University กล่าวว่า วิกฤต COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความจำเป็นในการสำรองเสบียงอาหาร รวมถึงปัจจัยเชิงลบที่เป็น อุปสรรคในอุตสาหกรรมเกษตรของเอเชีย เช่น ปัญหาการรุกรานของศัตรูพืช และการเมือง ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิงคโปร์ ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็มีการประกาศใช้นโยบายรองรับอุปสรรคต่างๆ เช่น การจัดสรรงบประมาณส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรสิงคโปร์ที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสิงคโปร์ แต่การส่งเสริมนี้ก็ยังไม่เห็นผล เนื่องจากปัจจุบันสิงคโปร์สามารถผลิตอาหารได้เพียงไม่ถึง 10% ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ

ขณะที่ในปัจจุบันจำนวนฟาร์มผักใบในสิงคโปร์มีถึง 83 ฟาร์ม โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจาก 54 ฟาร์ม ในช่วงระยะปี 2558–2562 คิดเป็นสัดส่วนการเติบโตถึง 54% แต่ปริมาณผลผลิตผักใบกลับเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 11% (จาก 11,400 ตัน เป็น 12,700 ตัน) ทั้งที่หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีความพยายามที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรผ่านโครงการสนับสนุนเงินทุนหลายโครงการ

ทั้งนี้ การเพิ่มผลผลิตเกษตรไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากข้อจำกัดในด้านพื้นที่การทำการเกษตรของสิงคโปร์ ที่ปัจจุบันมีไม่ถึง 1% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ประกอบกับสัญญาเช่าระยะสั้น ทำให้เกษตรกรสิงคโปร์ไม่สามารถลงทุนในอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่มีต้นทุนสูงได้

แต่สิ่งที่เกษตรกรสิงคโปร์สามารถทำได้ในปัจจุบัน คือการหาวิธีป้องกันอุปสรรคต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการหยุดชะงักของการผลิต เช่น การสร้างเรือนกระจกเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรสิงคโปร์ส่วนมากไม่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนในนวัตกรรมการเกษตร โดยหน่วยงาน Singapore Food Agency (SFA) ได้ เนื่องจากไม่สามารถจัดทำแผนดำเนินธุรกิจที่ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของโครงการ และคำอธิบายที่ครอบคลุมของระบบการทำฟาร์ม เช่น แผนธุรกิจแบบครบวงจร และประวัติความเชี่ยวชาญของทีมงาน

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการเกษตรเป็นภาคส่วนที่เพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ในสิงคโปร์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนา เพื่อให้สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ เช่นเดียวกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการเกษตรของสิงคโปร์มีทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวด้วยหลายสาเหตุ อาทิ ภัยธรรมชาติ หรือการขาดทุนจากการลงทุนในเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การทำฟาร์มบนดาดฟ้า CamCrop ที่ใช้ระบบปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์และ เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการเกษตรของสิงคโปร์

เหตุนี้ ความแตกต่างระหว่างการทำเกษตรแบบดั้งเดิมกับเกษตรแบบไฮเทค คือ เกษตรกรแบบดั้งเดิมมีประสบการณ์และมีความรู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อการปลูกผัก แต่เกษตรกลุ่มนี้อาจจะไม่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากนัก ในขณะที่การทำเกษตรแบบไฮเทคใช้เทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ แต่เกษตรกรจะขาดประสบการณ์ด้านการเกษตร ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อการประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการเกษตร สิงคโปร์จะต้องสร้างระบบนิเวศที่ดีในการทำเกษตร

ถึงตรงนี้คงเห็นซึ้งถึงความพยายามของสิงคโปร์ทั้งในส่วนของภาครัฐ นักวิชาการหน่วยงานต่างๆ และเกษตรกร ที่พยายามก้าวข้ามข้อจำกัดในด้านพื้นที่และหันมาส่งเสริมการเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้ ซึ่งแม้จะไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ จนนำไปสู่นโยบายการกักตุนเสบียงไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด จากบทเรียนของการระบาดของ COVID-19 ซึ่งทำให้ซัพพลายเชนขาดช่วง และสิงคโปร์เกิดการตื่นตระหนกถึงการขาดแคลนอาหาร

 

แหล่งอ้างอิง : Channel News Asia - https://www.channelnewsasia.com/

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของสิงคโปร์ยุคหลัง COVID-19

มองโอกาส Food Tech จากกระแสบริโภค ‘เนื้อจากพืช’


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6055 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1935 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4914 | 23/10/2022
สิงคโปร์กับนโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหาร