เส้นทางแจ้งเกิดธุรกิจด้วยทุนคนอื่น ยังคงมีพร้อมให้ผู้ที่มีความสามารถเข้าไปถางทางสร้างโอกาสให้ตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในหน่วยงานองค์กรที่พร้อมสนับสนุน อัดฉีดงบให้เปล่า SMEs, Startup ในการช่วยปั้นธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 5 ภายใต้ชื่อ “กองทุนนางฟ้า” เป็นงบประมาณที่หนุนส่งธุรกิจไปแล้ว 13 ล้านบาท โดยเฉพาะธุรกิจ-นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ อาทิ หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC โรบอทฆ่าเชื้อระดับ DNA แบบ 360° ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 450 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 500 ราย โดยยังคงปูทางเปิดโอกาสให้ Startup หน้าใหม่เดินเข้าสู่การทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ต่อเนื่องต่อไปทุกๆ ปี
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โครงการนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
“แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่” (Delta Angel Fund) เป็นโครงการสนับสนุนเงินทุนแบบเงินให้เปล่า
(Angel Fund) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ (Startup) ที่มีไอเดียหรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่
ให้สามารถดำเนินธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้
โดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนดังกล่าว ขณะที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(กสอ.) เป็นผู้ร่วมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้าเกณฑ์กองทุนฯ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ที่จะก่อให้เกิดรายได้ในภาคธุรกิจและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการต่อเนื่องปีเป็นปีที่ 5
ที่เดลต้าฯ ให้การสนับสนุนเงินทุนในแต่ละปีกว่า 3.2 ล้านบาท
เปิดรับตั้งแต่นิสิตนักศึกษา
บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) หรือผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ที่ดําเนินธุรกิจมาแล้วไม่เกิน 5 ปี โดยมีแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้
จํานวน 30 ทีม ซึ่งคณะกรรมการจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ บมจ. เดลต้า
อีเล็คโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จะพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก Clip
VDO แนวคิดธุรกิจแผนงานโครงการลงทุน และการสัมภาษณ์
โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 30 ทีม จะได้รับการอบรมตามหลักสูตรของโครงการ
แบบครบทุกมิติการลงทุนและการทำธุรกิจ ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิจารณาผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมฯ
จาก Clip VDO คณะกรรมการจะพิจารณาโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ
และสอดคล้องกับโจทย์ที่ตั้งไว้
รวมทั้งโอกาสการเติบโตและความเป็นไปได้ในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้จริง
ครั้งที่ 2
พิจารณาโมเดลธุรกิจเพื่อตัดสินให้การสนับสนุนเงินทุน Angel Fund รอบที่ 1
(Pitching Day)คณะกรรมการผู้ให้การสนับสนุนเงินทุน จะพิจารณาโมเดลธุรกิจที่มีความเติบโตและต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้จริงจากผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหมด
ครั้งที่ 3 พิจารณาแนวคิดแผนธุรกิจ
เพื่อตัดสินให้การสนับสนุนเงินทุน Angel Fund รอบที่ 2 (นําเสนอเพิ่มเติมเชิงลึก)
คณะกรรมการผู้ให้การสนับสนุนเงินทุน จะพิจารณาแนวคิดแผนธุรกิจของผู้ที่คณะกรรมการได้คัดเลือก
เพื่อตัดสินให้การสนับสนุนเงินทุน Angel Fund (ผลการพิจารณา
วงเงิน จํานวนผู้ได้รับทุน และคําตัดสินต่างๆ ของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)
จากการดำเนินงานตลอด 4 ปีที่ผ่านมา
มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 650 ทีม โดยผ่านการคัดเลือกและสนับสนุนเงินทุน
128 ทีม รวมมูลค่ากว่า 13 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 450 ล้านบาท
ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนในการจัดตั้ง/ขยายธุรกิจ 70 ล้านบาท
สามารถขยายผลสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 500 ราย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 80
ล้านบาท และสามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 300
ล้านบาท
โดยเงินทุนจัดเป็นปัจจัยสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ
และเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการสนับสนุนเงินทุน Angle Fund ต่อเนื่องเป็นระยะยาว
ซึ่งโครงการ Delta Angel Fund จะเป็นอีกส่วนในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการสู่การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
รวมไปถึงการเจรจาธุรกิจเงินทุนถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ
และเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการสนับสนุนเงินทุน Angle
Fund ต่อเนื่องเป็นระยะยาว และโครงการ Delta Angel Fund จะเป็นอีกส่วนในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการ
สู่การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
รวมไปถึงการเจรจาธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกโครงการที่ SME และ Startup
ไม่ควรพลาดในการเข้าร่วมชิงทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ
ไปพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินการธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยสร้างโอกาสพลิกชีวิตได้อีกด้วย.
แหล่งอ้างอิง :