EU กับกระแสการบริโภคโปรตีนจากพืช

SME Go Inter
02/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4917 คน
EU กับกระแสการบริโภคโปรตีนจากพืช
banner

กระแสการบริโภคอาหารที่ทำมาจากโปรตีนจากพืช (Plant-based alternative) ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ทำให้ตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากโปรตีนจากพืชมีการขยายตัวจากกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ (vegetarians) ไปสู่กลุ่มผู้บริโภคที่เลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์และนม โดยเน้นโปรตีนจากพืชแทนหรือที่เรียกว่ากลุ่ม “flexitarian"

ปัจจุบันสหภาพยุโรป (EU) เป็นตลาดที่บริโภคอาหารดังกล่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 40% เมื่อเทียบกับมูลค่าการจำหน่ายทั่วโลก โดย EU ยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 1,500 ล้าน ยูโรในปี 2561 เป็น 2,400 ล้านยูโรภายในปี 2568   แนวโน้มดังกล่าวเป็นโอกาสสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยอาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากโปรตีนจากพืช นอกจากจะต้องมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังต้องคำนึงถึงรสชาติ เนื้อสัมผัส สารอาหาร และการพัฒนาสินค้าให้หลากหลาย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของตลาด

การขยายตัวของกลุ่ม vegetarians กลุ่ม vegans และกลุ่ม flexitarians จากรายงาน EU Agricultural Outlook for 2018-2030 ระบุว่าในปี 2561 ชาวยุโรปบริโภคเนื้อสัตว์เฉลี่ย 69.3 กก./คน โดยภายในปี 2573 อัตราการบริโภคเนื้อสัตว์มีแนวโน้มลดลงเหลือเพียง 68.6 กก./คน เนื่องจากสัดส่วนผู้บริโภคมังสวิรัติใน EU มีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทางตอนเหนือและทางตะวันตกของยุโรป เช่น สวีเดน เยอรมนี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รวมทั้งการขยายตัวของกลุ่ม flexitarian ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และจริยธรรม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสัตว์ ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จากการบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

ปัจจุบันอาหารและเครื่องดื่มที่วางจำหน่ายในตลาด EU มีการใช้โปรตีนจากพืชทดแทนส่วนประกอบที่เป็นเนื้อสัตว์หรือนมเพิ่มขึ้น เช่น สเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด และไส้กรอก ที่ใช้โปรตีนจากพืช รวมทั้งไอศกรีม เนย เนยแข็ง และโยเกิร์ตที่ใช้นมหรือไขมันจากพืช 

เทคโนโลยีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร ช่วยพัฒนาคุณภาพของโปรตีนจากพืชให้ดียิ่งขึ้น เช่น มีความยืดหยุ่น  มีเนื้อเยื่อ และความชุ่มชื้นเสมือนเนื้อสัตว์ อีกทั้งการแปรรูป ปรุงแต่งรส สี หรือกลิ่นช่วยให้อาหารที่ใช้โปรตีนจากพืชมีรูปร่าง เนื้อสัมผัส และ รสชาติตรงกับความต้องการผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

 

นโยบายด้านอาหารที่ยั่งยืน

EU มุ่งพัฒนาภาคเกษตรไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืน และส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี โดยบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่น การอุดหนุนการเพาะปลูกพืชโปรตีน เพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลดการพึ่งพาการนำเข้า 

การมีส่วนร่วมของผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ และผู้ประกอบการรายใหม่ บริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ เช่น Nestlé Danone Unilever และ Bonduelle ใน EU มีการเพิ่มไลน์การผลิตสินค้าที่ใช้โปรตีนจากพืชหรือ ควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเกิดใหม่ที่นำเสนอนวัตกรรมอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืชในตลาด EU เพิ่มขึ้นทุกปี

ทั้งนี้ มาตรการสนับสนนุการผลิตและบริโภคโปรตีนจากพืชของ EU ในแต่ละปี EU มีความต้องการใช้พืชโปรตีนราว 27 ล้านตัน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่และสภาพอากาศ ทำให้การผลิตพืชโปรตีนใน EU ไม่เพียงพอกับความต้องการ และต้องพึ่งพาการนำเข้ามากถึง 17 ล้านตัน/ปี โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่ง 93% ของการนำเข้าถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์ และส่วนที่เหลือ (ราว 3 ล้านตัน) ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อย่างไรก็ตามความต้องการโปรตีนจากพืชสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยความต้องการใช้โปรตีนจากพืชเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์และ ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นปีละ 14% และ 11% ตามลำดับ 

โดยที่ผ่านมา EU ได้มีมาตรการในการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการผลิตและบริโภคโปรตีนจากพืช อาทิ นโยบายเกษตรร่วม การสนับสนุนเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกรที่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โครงการพัฒนาชนบท การอุดหนุนการเพาะปลูกพืชโปรตีนเป็นพืชหมุนเวียน

การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ EU เช่น กองทุน Horizon 2020 - พัฒนาการวิเคราะห์และความโปร่งใสในตลาด EU จัดทำระบบติดตามสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตร หรือ EU Crops Market Observatory รวมถึงพืชโปรตีน ทำให้ทราบความเคลื่อนไหวในตลาด ราคา ผลผลิต การบริโภค การค้า และการวิเคราะห์ตลาดในระยะสั้นได้อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ


ทั้งนี้ FAO คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกและรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของโลกเพิ่มขึ้นอีก 30% ภายใน 15 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม หากการผลิตอาหารยังคงดำเนินไปในรูปแบบเดิมการสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากพืชจึงเป็นหนึ่งในแนวทางในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ 

นอกจากนี้ การบริโภคโปรตีนจากพืชยังขจัดความกังวลเรื่องการใช้ฮอร์โมนหรือยาปฏิชีวนะในสัตว์ โปรตีนจากพืชมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์น้อยกว่าเนื้อสัตว์ ประกอบกับเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อและบรรจุภัณฑ์ที่ดีขึ้น ทำให้โปรตีนจากพืชมีความปลอดภัยทางด้านอาหาร

ประเด็นเหล่านี้ผู้ผลิตอาหารและอาหารแปรรูปล้วนต้องพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลง เพราะนับวันตลาดอาหารและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรในEU จะเริ่มให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนด้านอาหารเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี  

 

อ้างอิง : ข้อมูลจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป


Novel Food โอกาสอุตสาหกรรมอาหาร (food industry) 

เมกะเทรนด์ “อาหารเพื่อความยั่งยืนของโลก”

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6353 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2040 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5092 | 23/10/2022
EU กับกระแสการบริโภคโปรตีนจากพืช