ธรรมนูญครอบครัว เขียนอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ

Family Business
28/04/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 5981 คน
ธรรมนูญครอบครัว เขียนอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ
banner
ธรรมนูญครอบครัว (Family Business) เป็นเครื่องมือที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการช่วยบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว ในด้านการสร้างความชัดเจนให้กับสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาความขัดแย้ง อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ในบทความก่อนหน้านี้..

บทความที่น่าใจ : ‘ธรรมนูญครอบครัว’ สำคัญอย่างไร? :


โดยมีธุรกิจครอบครัวหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ได้อย่างยาวนาน ที่สานต่อธุรกิจอย่างราบรื่น มักมีการจัดทำธรรมนูญครอบครัวเป็นของตนเอง เมื่อเห็นถึงความสำคัญเช่นนี้ จะวางแผนเขียนธรรมนูญครอบครัวอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ



เริ่มต้นเขียนธรรมนูญครอบครัวอย่างไรดี

การเขียนธรรมนูญครอบครัวถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่สมาชิกในครอบครัวต้องเปิดใจร่วมกันในทุกๆ เรื่อง รวมทั้งมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ดังนั้นควรสร้างกฎและระเบียบของการเข้ามาทำงานของคนในครอบครัวให้เกิดความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้ามาทำงานในธุรกิจครอบครัว (Family Business) การวางโครงสร้างระบบสวัสดิการของครอบครัว การบริหารตำแหน่งงาน การเลื่อนตำแหน่ง การจ่ายเงินเดือน รวมไปถึงสวัสดิการต่างๆ

โดยหลักการเบื้องต้นคือ สมาชิกสายเลือดทุกคนควรมีส่วนร่วม ถ้าเป็นครอบครัวขนาดเล็กสมาชิกจำนวนไม่มาก ให้สมาชิกทุกสายเข้ามา หรือถ้าครอบครัวขนาดใหญ่ มีจำนวนสายสมาชิกมาก และมีหลายรุ่น สิ่งที่ควรพิจารณาคือ ต้องมีการส่งตัวแทนสมาชิกแต่ละสายเข้ามาอยู่ในคณะร่างธรรมนูญครอบครัว ซึ่งตัวแทนสายจะต้องเป็นผู้ที่เป็นที่ยอมรับในสายนั้นๆ บรรลุนิติภาวะ ทำงานและถือหุ้นในธุรกิจ สมาชิกที่ไม่ใช่สายเลือด เช่น เขย สะใภ้ ไม่ควรให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการร่างธรรมนูญครอบครัว

กระบวนการเขียนธรรมนูญครอบครัวนั้น ต้องมีความเป็นกลางและเป็นกระบวนการที่รับฟังความคิดเห็นของทุกคน โดยเฉพาะเสียงส่วนน้อย โดยอาจเริ่มจากเรื่องที่ทุกคนสนใจ ให้ทุกคนได้ประโยชน์ก่อน และเมื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการได้แล้ว การขยับเข้าไปในเรื่องที่อ่อนไหวหรือเรื่องที่เป็นปัญหาจึงจะเป็นไปได้



ข้อกำหนดในการวางแผนเขียนธรรมนูญครอบครัว ประกอบด้วยอะไรบ้าง
 
1. โครงสร้างภายในครอบครัว ควรกำหนดสมาชิกที่อยู่ภายใต้กฎในบ้านให้ชัดเจน

ควรระบุจำนวนสมาชิกทั้งหมด จัดทำแผนผังครอบครัว รวมทั้งกำหนดผู้นำของครอบครัว แยกส่วนโครงสร้างของครอบครัวกับธุรกิจครอบครัว (Family Business) ออกจากกันให้ชัดเจน

2. กำหนดกติกามารยาทในการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัว

 แนวทางการดำเนินชีวิต กติกามารยาทในการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัว ควรกำหนดกิจกรรมที่ทำร่วมกันภายในครอบครัว เช่น การรวมตัวกันในวันปีใหม่ วันตรุษจีน อีกทั้งควรกำหนดข้อห้ามปฏิบัติ และบทลงโทษไว้ด้วย

3. จัดสรรผลประโยชน์ให้ชัดเจน และเหมาะสม

ควรจัดสรรผลประโยชน์ สวัสดิการ ภายในครอบครัว ระบุการจัดสรรรายได้ ค่าใช้จ่ายพื้นฐานต่างๆ ที่ทางครอบครัวจะดูแลให้กับสมาชิกอย่างเท่าเทียมกันให้ชัดเจน เช่น ที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน เงินเลี้ยงดู ค่าจัดงานแต่งงาน และงานศพ เป็นต้น



การวางแผนเขียนธรรมนูญครอบครัว แบ่งได้ 2 รูปแบบ

1. จัดทำขึ้นเองภายในครอบครัว

ทำเป็นบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างครอบครัว ซึ่งถือเป็น Emotional Binding โดยจัดทำกันขึ้นมาเอง แต่การยอมรับในธรรมนูญครอบครัวประเภทนี้อาจจะไม่ยั่งยืน เพราะไม่ได้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น อาจจะมีเพียงสมาชิกในครอบครัวรุ่นที่เป็นผู้จัดทำ และรุ่นที่ 2 รองจากรุ่นแรกที่ยอมรับและปฏิบัติตามกฎในครอบครัวนั้น หลังจากนั้นทายาทธุรกิจรุ่นต่อไปอาจจะไม่ยอมรับ และปฏิบัติตาม

2. ใช้ทีมกฎหมายเข้าช่วย

ให้ทางที่ปรึกษากฎหมายเข้ามาช่วยจัดทำธรรมนูญครอบครัว ซึ่งถือเป็น Legal Binding การจัดทำธรรมนูญครอบครัวในลักษณะนี้ ที่ปรึกษาทางกฎหมายจะมีบทบาทช่วยวางขอบเขตของธรรมนูญครอบครัว และมีสารบัญกลางในการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งรูปแบบนี้จะเป็นธรรมนูญครอบครัวที่ใช้ปฏิบัติสืบต่อกันให้กับทายาทธุรกิจรุ่นต่อไป จนกว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆ ในภายหลัง

นอกจากนี้ การจัดทำธรรมนูญครอบครัวให้ได้ผลที่ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกคนภายในครอบครัวนั้น แนะนำให้จัดทริปพักผ่อน แล้วให้ทุกคนในครอบครัวไปร่วมทำ Workshop กัน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ การร่วมกันกำหนดข้อตกลงเพื่อเป็นหลักในการบังคับใช้

ทั้งนี้ การไปพักผ่อนจะช่วยให้ทุกคนละลายพฤติกรรม ผ่อนคลาย มีเวลา และสามารถมองเห็นสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ต้องกำหนดขึ้นมา ซึ่งทุกคนสามารถแนะนำ โต้เถียง ปรึกษาหารือจนได้กรอบของธรรมนูญครอบครัวที่สมาชิกทุกคนยอมรับ และเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นจึงนำมาใช้ปฏิบัติภายในครอบครัว หากพบว่าธรรมนูญยังขาดข้อกำหนดอะไร หรือไม่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง สามารถนำมาทบทวนแก้ไขได้ตลอด ดังนั้น จึงควรจะระบุตั้งแต่ในครั้งแรกว่า จะทำการทบทวนทุกปี หรือตามแต่สมาชิกจะกำหนด

กระบวนการในการจัดทำธรรมนูญครอบครัวมีความละเอียดอ่อน ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ต้องอาศัยการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้บริหาร Family Business ทายาทธุรกิจ และสมาชิกในครอบครัว จึงจะนำพาซึ่งการจัดทำธรรมนูญครอบครัวให้ประสบความสำเร็จได้ตามที่ตั้งใจ


แหล่งอ้างอิง : หนังสือวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน เขียนโดย คุณกิติพงศ์  อุรพีพัฒนพงศ์, วารสารปรัชญาปริทรรศน์, Family Business Asia


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
4852 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4343 | 30/03/2024
ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ธุรกิจครอบครัวที่บริหารด้วยค่านิยมแบบดั้งเดิม มักจะมีมุมมองว่าลูกผู้ชาย เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการในตำแหน่งหัวหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการหารายได้…
pin
5335 | 08/03/2024
ธรรมนูญครอบครัว เขียนอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ