“Kimetsu no Yaiba” หรือที่ชื่อไทยว่า ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เรื่องของกลุ่มตัวเอกที่ต่อสู้กับปีศาจในรูปแบบต่างๆ เพื่อหาทางช่วยน้องสาวที่กลายเป็นปีศาจให้กลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง อานิเมะที่กำลังถูกกล่าวถึงมากที่สุดในญี่ปุ่น ได้ถูกดาวน์โหลดและตีพิมพ์รวมกว่า120 ล้านเล่ม ทั้งในออนไลน์และออฟไลน์นับตั้งแต่เล่มที่ 19 ได้วางจำหน่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 20 ล้านเล่มต่อเดือน ผู้ผลิตกล่าวว่า ที่ผ่านมาการ์ตูนที่มียอดจำหน่ายสูงกว่า 100 ล้านเล่ม เช่น ดรากอนบอล, นารุโตะ, วันพีซ, สลัมดังค์,โดราเอมอน ฯลฯ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
แต่ทว่ายอดจำหน่ายขึ้นติดท็อปทุกเดือนนั้นเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ
นอกจากการ์ตูนสำหรับอ่านแล้วในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
จากการสำรวจเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พบว่ามีมูลค่ากว่า 275 หมื่นล้านเยน
ซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 ในประวัติการณ์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น (อันดับ 1 Sentochihiro 308 หมื่นล้านเยน และอันดับ 3 ไททานิค 262
หมื่นล้านเยน)
ไม่เพียงแค่นั้นหลายบริษัทในญี่ปุ่น
อาทิ ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง Lowson วางจำหน่ายข้าวปั้น 50 ชนิดตามภาพลักษณ์ของตัวละคร มียอดขายมากกว่า 10 ล้านชิ้นหลังจากเริ่มวางจำหน่ายเพียง
10 วัน และเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนมียอดขายกว่า 5 พันล้านเยน หรือกรณีร้านคาเฟ่ Daido
Drink วางจำหน่ายกาแฟกระป๋องที่มีรูปตัวละครจำนวน 15 ล้านกระป๋อง
ในเดือนตุลาคมมียอดขายมากกว่า 50 ล้านกระป๋องในเวลาเพียง 3 สัปดาห์
Akiyoshi Takumori นักเศรษฐศาสตร์ของ Sumitomo Mitsui DS Asset
Management ประเมินว่าอิทธิพลจากการ์ตูนเรื่องนี้ ส่งผลต่อเศรษฐกิจสูงกว่า
2 แสนล้านเยนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่บริษัทหลายแห่งกำลังได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จึงไม่สามารถเพิกเฉยต่อกระแสครั้งนี้ได้
นอกจากนี้มีหลายบริษัทที่ให้ความสนใจกับการ์ตูนเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
หลังจากที่ได้รับการจับตามองและสงสัยว่า หลังจากได้วางจำหน่ายเล่มสุดท้ายแล้วกระแสของ
Kimetsu no Yaiba จะต่อเนื่องหรือไม่
Fumio Kurokawa นักวิจัยเนื้อหาสื่อประกาศว่า
"กระแสนี้ดำเนินต่อไป" เมื่อเทียบกับปีอื่นๆ แล้ว
ปีนี้จะมีการเปิดตัวการ์ตูนเรื่องใหม่น้อยลงเนื่องจากอิทธิพลโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ การวางจำหน่ายผลงานฮอลลีวูดถูกเลื่อนออกไป
เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ "ไม่มีคู่แข่ง"
และคาดว่าจะได้รับความนิยมในอีกระยะ
ทั้งนี้สำหรับประเทศไทย ซึ่งแอนิเมชันของ
Kimetsu no Yaiba
หรือดาบพิฆาตอสูรเรื่องนี้ก็โด่งดังมากเช่นกัน
จนล่าสุดมีเวอร์ชั่นภาพยนต์เข้าฉายในประเทศไทย "Kimetsu No Yaiba
: Mugen Ressha Hen" หรือชื่อไทย "ดาบพิฆาตอสูร
เดอะมูฟวี่ : ศึกรถไฟสู่นิรันดร์" เข้าฉายทั่วประเทศไทย ในวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา เป็นที่จับตาเช่นกันว่า ในประเทศไทยแอนิเมชันเรื่องนี้จะสามารถสร้างรายได้ทะลุร้อยล้านบาทได้หรือไม่
หลังจากที่สร้างกระแสถล่มทลายมาแล้วในญี่ปุ่น
ขึ้นแท่นภาพยนตร์ที่กวาดรายได้เร็วที่สุดกว่า 2 หมื่นล้านเยน
หรือราว 5.7พันล้านบาทเลยทีเดียว
ปลุกกระแสดิจิทัลคอนเทนต์คาแรคเตอร์
นับเป็นกระแสที่น่าสนใจในช่วงนี้มากเลยทีเดียว
ซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นดิจิทัลคอนเทนต์คาแรคเตอร์ เป็นตลาดคอนเทนต์แอนิเมชันชั้นนำของโลก ซึ่งคาแรคเตอร์เพียงตัวเดียวหากได้รับความนิยมก็สามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนมากได้
ผ่านการขายหรือให้เช่าสิทธิเพื่อผลิตเป็นสินค้า Merchandise ได้ ตัวอย่างเช่น มิกกี้เม้าส์ ของบริษัท
วอลท์ดิสนีย์ ที่แม้ว่าครั้งแรกจะถูกสร้างมาเป็นแอนิเมชัน แต่ด้วยความนิยมแม้จะขายตัวละครโดยไม่เป็นแอนิเมชันก็สามารถขายสินค้าที่มีมิกกี้เม้าส์เป็นตราสัญลักษณ์ได้
โดยสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสิทธิในคาแรคเตอร์
จะสามารถหารายได้ได้ 2 ทางหลัก ก็คือขายสิทธิในคาแรคเตอร์ให้กับ Master Licensing หรือ Licensing Agent และอีกทางหนึ่งก็คือ การว่าจ้างผู้ผลิตสินค้าให้ผลิตสินค้าโดยใช้คาแรคเตอร์ของตนเองเป็นองค์ประกอบ
แล้วนำสินค้าเหล่านั้นออกวางจำหน่ายเพื่อหารายได้ทางตรงเข้าบริษัทเอง
เมื่อมาถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่ามีองค์ประกอบของระบบนิเวศเพิ่มขึ้นอีก
3 องค์ประกอบ โดยจะอธิบายตามลำดับดังนี้ ในส่วนของ Master Licensing หรือผู้ถือสิทธิในคาแรคเตอร์นั้น
จะดำเนินการในลักษณะของผู้จัดการสิทธิในคาแรคเตอร์ โดยทั่วไปสิทธิที่ Master Licensing ได้รับจะมีลักษณะเป็น
All Right คือสิทธิในการจัดการแต่มักจะมีการจำกัดสิทธิด้วยพื้นที่เป็นประเทศ
ภูมิภาค หรือทวีป โดยในการจัดการสิทธินั้น Master Licensing จะสามารถหารายได้ได้จากทั้งการผลิตสินค้าขายเอง
จนไปถึงการขายสิทธิหรือให้เช่าสิทธิต่อ โดยผู้ที่จะมาซื้อสิทธิต่อก็คือ Licensing Agent นั้นเอง
โดยทั่วไปการดำเนินการของ Licensing Agent จะเป็นการซื้อหรือเช่าสิทธิบางส่วน มาจากเจ้าของสิทธิหรือ
Master Licensing โดยคำว่าสิทธิบางส่วนจะหมายถึงสิทธิที่จะถูกระบุไว้ว่านำคาแรคเตอร์ไปใช้ในงานอะไรได้บ้าง
ไม่ได้มีสิทธิในการจัดการทุกอย่างเหมือนกับ Master Licensing ทั้งนี้เมื่อ Licensing Agent ได้ซื้อสิทธิไปแล้ว ก็จะนำไปว่าจ้างผู้ผลิตสินค้าทั้งในรูปแบบสินค้าอุปโภคบริโภคหรือสินค้าในรูปแบบดิจิทัล
เพื่อจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป
ที่สำคัญธุรกิจสามารถนำคาแรคเตอร์จากตัวการ์ตูนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม
หรือการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจได้ ซึ่งกรณีศึกษานี้
หยิบยกมาเพื่อเป็นแนวทางในการทำการตลาด ขยายโอกาสทางธุรกิจ
และการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ที่มุ่งเน้นเจาะตลาดตามกระแสและพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่ม
Gen Z มากยิ่งขึ้น
เพราะเป็นกลุ่มที่นักการตลาดมองว่าจะเป็นกลุ่มกำลังซื้อหลักในอนาคตอันใกล้นี้
อย่างไรก็ตามการทำการตลาดแนวนี้จะต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาด้วย
แหล่งอ้างอิง : Nikkei Newspaper Online https://www.nikkei.com/
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา