ร้านรองเท้าในญี่ปุ่นกับการ ‘ทลายข้อจำกัด’ การซื้อออนไลน์’

SME Go Inter
09/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3664 คน
ร้านรองเท้าในญี่ปุ่นกับการ ‘ทลายข้อจำกัด’ การซื้อออนไลน์’
banner

กรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่งสำหรับร้านค้าปลีกรองเท้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งธุรกิจค้าปลีกไทยเองก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยข้อมูลจาก สำนักงานตัวแทนส่งเสริมการค้า ณ เมืองฮิโรชิมา ที่ระบุถึงสินค้ารองเท้าในญี่ปุ่นมีขนาดตลาดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านเยน (4.1แสนล้านบาท) โดยที่ผ่านมาตลาดได้ชะลอตัวลงจากวิกฤติการเงินเมื่อปี 2018-2019

ขณะที่ปัจจุบันค่อยๆ กลับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีข้อมูลผลสำรวจที่ระบุว่า ชาวญี่ปุ่นซื้อรองเท้าใหม่โดยเฉลี่ยปีละ 2-3 คู่ต่อปี และมักได้รับอิทธิพลจากกระแสแฟชั่นที่ส่งผ่านทางโซเชียลมีเดียง่ายขึ้น ทำให้คาดว่าการใช้จ่ายสำหรับรองเท้าจะยังคงอยู่ในระดับคงตัวต่อไป แต่พบว่าลักษณะและความต้องการของตลาดญี่ปุ่นมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เห็นได้ชัด คือ นอกจากราคาต่อหน่วยโดยเฉลี่ยลดลงแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ช่องทางการจำหน่าย เดิมผู้บริโภคญี่ปุ่นมักซื้อรองเท้าจากร้านขายรองเท้าโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบัน เริ่มเปลี่ยนไปสู่การซื้อทางออนไลน์กันมากขึ้น ในปี 2017 สัดส่วนของการจำหน่ายผ่านร้านขายรองเท้าเคยเป็นร้อยละ 52 ปัจจุบันได้ลดลงเหลือร้อยละ 46 ส่วนห้างสรรพสินค้าและ GMS (General Merchandise Store) ยังมีสัดส่วนคงตัวคือร้อยละ 25

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ในขณะที่การซื้อขายผ่านออนไลน์และ Mail order ได้ขยายตัวอย่างสูง โดยเมื่อปี 2016 ซึ่งมีมูลค่า 9.8 หมื่นล้านเยน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ได้มีการประมาณการว่าปี 2020 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 16 มูลค่า 1.7 แสนล้านเยน จากการสำรวจความเห็นผู้บริโภคยังพบว่าร้อยละ 21.6 มีการซื้อสินค้าต่างๆ โดยรวมผ่านทางออนไลน์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไป ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับรองเท้า แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในหลายด้านให้ร้านต้องมีการอาฟเตอร์เซอร์วิสอยู่บ่อยครั้ง เช่น ขนาดที่ไม่พอดีกับรองเท้า

 

ทลายข้อจำกัดขนาดไม่พอดีในการซื้อรองเท้าออนไลน์

อย่างไรก็ตาม โดยปกติผู้บริโภคมักต้องการที่จะทดลองใส่เพื่อเลือกขนาดที่เหมาะกับเท้าตน การซื้อรองเท้าทางออนไลน์จึงยังมีข้อจำกัด แต่บริษัทผู้ค้าออนไลน์สินค้า เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายรายใหญ่ของญี่ปุ่น คือ ZOZO TOWN ได้พัฒนาระบบการวัดขนาดเท้าในรูปแบบสามมิติ (3D) และเริ่มการใช้เมื่อต้นปี 2020 โดยผู้บริโภคจะได้รับแผ่นวัดเท้าเรียกว่า ZOZOMAT ซึ่งจัดส่งให้ฟรี

จากนั้นทำการวัดขนาดเท้าโดยการถ่ายรูปผ่านสมาร์ทโฟน และจัดส่งไปประมวลผลผ่านแอปพลิเคชั่น ZOZOSHOES 5 เพื่อสร้างรูปจำลองขนาดเท้าแบบสามมิติ และสามารถหารองเท้าประเภทต่างๆ ที่มีขนาดพอดีกับขนาดเท้าของตนได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่นดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีรองเท้าที่ผลิตตามขนาดซึ่งวัดโดย ระบบสามมิตินี้อยู่ประมาณ 100 รายการ บริษัทฯ มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนรายการขึ้นต่อไปตามลำดับ

ภายใต้แนวโน้มความนิยมการซื้อสินค้าทางออนไลน์ดังกล่าว ร้านจำหน่ายปลีกรองเท้ารายใหญ่ส่วนใหญ่ที่มียอดการจำหน่ายในร้านลดลง จึงได้เริ่มช่องทางจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ควบคู่ไปกับการจำหน่ายในร้านด้วย หรือที่เรียกว่า Omni channel เช่น  ABC Mart 6 บริษัทค้าปลีกรองเท้าใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นมีร้านค้ากว่า 980 สาขาทั่วประเทศ ปัจจุบันมีการจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ประมาณร้อยละ 5.6 ของยอดจำหน่ายรวมของบริษัท หรือประมาณ 0.9 – 1.1 หมื่นล้านเยน

โดยบริษัทฯ ได้เริ่มใช้กลยุทธ์การจำหน่ายแบบ Omni channel โดยปรับปรุงเว็ปไซต์ของบริษัทฯ (ABC-MART.net) ให้มีระบบ “iCheck” ซึ่งสั่งสินค้าผ่านทางเวปไซต์โดยไม่มีค่าจัดส่ง หรือจะไปรับที่ร้านก็ได้ หากไม่มีสินค้าในสต๊อกก็จะมีการส่งจากร้านที่มีสต๊อกไปยังร้านที่อยู่ใกล้หรือที่ไปประจำได้ สามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด มีการแจกคูปองเพื่อดาวน์โหลดเข้าในสมาร์ทโฟน และนำใปใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าที่ร้านได้

นอกจากนั้นตลาด C-to-C หรือการจำหน่ายระหว่างบุคคล ก็ค่อยๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทั้งสินค้ามือสองและสินค้าใหม่ ซึ่งผู้ขายเป็นคนทั่วไปที่ซื้อรองเท้ามาจำหน่ายต่อ ช่องทางจำหน่ายลักษณะนี้ซึ่งเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น

เห็นได้ชัดว่ากรณีของร้านขายรองเท้าในญี่ปุ่นเข้าใจ ข้อจำกัด ของพฤติกรรมการซื้อรองเท้าเป็นอย่างมาก กรณีนี้เราหยิบยกมาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนทีกำลังประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกที่ต้องให้ความสำคัญกับการเติบโตของตลาดออนไลน์ และผสานช่องทางจำหน่ายแบบ Omni channel และยิ่งไปกว่านั้นคือการเฟ้นหาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อทลายข้อจำกัดของแต่ละช่องทาง ตัวอย่างที่เห็นชัดในที่นี้คือ การพัฒนาระบบการวัดขนาดเท้าในรูปแบบสามมิติ ที่ทำให้การซื้อรองเท้าออนไลน์ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดที่ไม่พอดีอีกต่อไป ทำให้สามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น

 

แหลางอ้างอิง : สำนักงานตัวแทนส่งเสริมการค้า ณ เมืองฮิโรชิมา


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


วิถีใหม่สินค้า Luxury หลังโควิด สู่ร้านช้อปปี้งออนไลน์ 

SMEs จะทำตลาดออนไลน์อย่างไรในช่วงวิกฤติโควิด 19

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6410 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2077 | 21/12/2022
ร้านรองเท้าในญี่ปุ่นกับการ ‘ทลายข้อจำกัด’ การซื้อออนไลน์’