การแข่งขันของผลไม้ไทยในตลาดสิงคโปร์

SME Go Inter
19/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 6295 คน
การแข่งขันของผลไม้ไทยในตลาดสิงคโปร์
banner

“สิงค์โปร์” เป็นประเทศขนาดเล็ก มีพื้นที่ทำการเกษตรเพียง 3% จากพื้นที่ของประเทศ แต่ก็มีการวางแผนนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงการทำการเกษตรในเขตเมือง หรือที่เรียกว่า Living Lab ซึ่งเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นและเป็นธรรมชาติ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนสิงคโปร์ แม้ว่าจะมีทรัพยากรจำกัด และเพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น

การทำการเกษตรแบบ Living Lab เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุ 20-30 ปี เนื่องจากการทำการเกษตรลักษณะนี้ไม่เพียงจะตอบโจทย์เรื่องการเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปราศจากสารปราบศัตรูพืชตกค้าง แต่ยังเป็นเป็นงานอดิเรกผ่อนคลายความตึงเครียด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อย่างไรก็ตาม จำนวนการทำการเกษตรสมัยใหม่ด้วยวิธีดังกล่าวยังมีเพียง 62 ฟาร์มเท่านั้น ปริมาณผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรของสิงคโปร์ ทำให้ยังมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศ

ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) 2562 สิงคโปร์มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากทั่วโลก 560,687 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้ามากที่สุดจากสหรัฐ มูลค่า 79,090 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 14.11%  มาเลเซีย 69,418 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 12.38% จีน 57,475 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 10.25% ออสเตรเลีย 56,716 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 10.12% อินโดนีเซีย 37,099 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 6.62% และไทย 26,846 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำสิงคโปร์ วิเคราะห์ว่าโอกาสการส่งออกไปยังตลาดสิงคโปร์ยังมีอีกมาก เพราะตลาดนี้มีประชากรที่มีกำลังซื้อสูง นิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผลไม้ออร์แกนิกโดยจะเลือกสินค้าที่มีคุณภาพเหมาะสมคุ้มค่ากับราคาประเภทผลไม้ที่นิยม เช่น ทุเรียน ลิ้นจี ลำไย มังคุด และสับปะรด เป็นต้น และที่สำคัญตลาดนี้ไม่เพียงนำเข้าเพื่อไปบริโภคภายในเท่านั้น แต่ยังเป็นการนำเข้าเพื่อไปส่งออกต่อ ( Re-Export) ไปยังอินโดนีเซีย และบรูไน

อย่างไรก็ตาม ตลาดสิงคโปร์ถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงจากแหล่งนำเข้าอื่นๆ ที่มีผลไม้ชนิดเดียวกับไทย ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย เมียนมา ดังนั้นไทยมีโอกาสเสียเปรียบในการแข่งขันราคา และระยะเวลาในการขนส่ง ทำให้ต้นทุนราคาผลไม้จากไทยสูงหากเทียบกับประเทศที่อยู่ใกล้เคียง


ดังนั้นกลยุทธ์สำคัญในการเจาะตลาดนี้ จึงต้องมุ่นเน้นการพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรม การแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างโอกาสในการส่งออก ด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เน้นเจากลุ่มลูกค้าเฉพาะ เช่น ไทยแลนด์วีค รวมถึงงานแสดงสินค้าอาหารในสิงคโปร์ เช่น Asia Pacific Food Expo และสิงคโปร์ Food Expo และควรมุ่งเจาะตลาดค้าปลีก เพราะเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคสิงคโปร์ให้ความนิยมบริโภคมากที่สุด

โดยภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรไทยในด้านต่างๆ นอกจากด้านเงินทุน ควรให้ความรู้เรื่องการส่งออก ความรู้ด้านเทคนิค การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต การทำการเกษตรแบบครบวงจร และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในในการทำการเกษตรแบบสมาทฟาร์มเมอร์ รวมถึงการดูแลลดต้นทุนด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออก

 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6344 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5076 | 23/10/2022
การแข่งขันของผลไม้ไทยในตลาดสิงคโปร์