สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม

SME Startup
08/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6951 คน
สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม
banner

สตาร์ทอัพด้านเกษตร หรือ Agritech เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจทั่วโลก โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และผสานกับการ คิดใหม่เพื่อสามารถแก้ปัญหาเรื่องเดิมๆ มาใช้กับธุรกิจการเกษตรไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการ สต็อกสินค้า การบริหารจัดการเรื่องราคา หรือช่วยเหลือด้านเงินทุนให้กับเกษตรกรมีส่วนผลักดันให้อุตสาหกรรมการเกษตรเติบโตต่อไปได้ ปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ได้มีเฉพาะในต่างประเทศ แต่ประเทศไทยก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในเคสต่างประเทศ ยกตัวอย่าง อาทิ องค์การสหประชาชาติเองจับมือกับองค์กรเอ็นจีโอ.ของเนเธอร์แลนด์ ชื่อ Fair Chain Foundation นำเทคโนโลยีบล็อกเชน”มาสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกโกโก้ในประเทศเอกวาดอร์ให้ได้รับเงินสนับสนุนอย่างเป็นธรรม โดยที่ Fair Chain Foundation จะผลิตช็อกโกแล็ตแท่งที่มีคิวอาร์โค้ตกำกับอยู่ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถส่งเงินดิจิตอลสนับสนุนไปยังเกษตรกรโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แต่ใช้วิธีการผ่านบล็อกเชนโดยทำการแสกนคิวอาร์โค้ตจะแสดงต้นทุนการผลิตช็อกโกแล็ตแท่งนี้ว่ามีต้นทุนเท่าไหร่ ยิ่งกว่านั้นยังมีจีพีเอส. แสดงให้เห็นว่าต้นโกโก้ที่นำผลของมันมาใช้ผลิตโกโก้นั้นต้นมันอยู่ตรงไหน

การที่ต้องนำระบบนี้มาใช้ เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรผู้เพาะปลูกโกโก้ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยได้รับส่วนแบ่งจากการขายเพียง 3% เท่านั้น เทียบไม่ได้เลยกับมูลค่ายอดขายรวมกันทั่วโลกกว่า 9.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้นโครงการนี้เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้รับเงินสนับสนุนโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งเงินที่สนับสนุนนี้จะเป็นทุนสำหรับการเพาะปลูกโกโก้ในรุ่นต่อไป การนำบล็อกเชนมาใช้นี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยผู้บริจาคจะสามารถรับรู้ได้ว่าเงินของพวกเขาไปถึงมือเกษตรกรจริงๆ หรือไม่

กลุ่มประเทศอาเซียน กรณีน่าสนใจ เช่น ที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีสตาร์ตอัพระดับที่มีชื่อเสียงโด่งดังและน่าสนใจมากมาย อาทิ “iGrow” แพลตฟอร์ม Crowdfunding ที่จะมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างนักลงทุนที่สนใจได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการทางด้านการเกษตร เช่น อ้อย ทุเรียน ฟาร์มเลี้ยงวัวและอื่นๆ เป็นต้น


โดยแพล็ตฟอร์ม iGrow จะเป็นผู้ประเมินผลตอบแทนให้กับนักลงทุนพิจารณา ผลประโยชน์ที่ได้คือนักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงเงิน ส่วนเกษตรกรก็ได้รับแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนต่ำมาใช้ในการเพาะปลูก  ทำให้ไม่ต้องกู้เงินจากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่ามาใช้ในการลงทุน หรือต้องแลกกับการสูญเสียความเป็นหุ้นส่วนในโครงการไปบางส่วนไป วิธีการก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเพียงแค่สมัครผ่านแอพพลิเคชั่นเท่านั้น

ดังนั้นบทบาทของ iGrow จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวกลางจับคู่เกษตรกรกับนักลงทุนเท่านั้น แต่ยังดูแลเกษตรกรที่เข้าร่วมแพลตฟอร์ม เช่นการจัดหาคู่ค้าให้ การหาตลาดใหม่ๆเรียกว่าช่วยเหลือเกษตรกรทุกด้านไม่ใช่แค่เงินทุนเพียงอย่างเดียว

iGrow ก่อตั้งมาเมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วกว่า 2000ราย ที่สำคัญช่วยลดภาระหนี้สินของเกษตรกรที่ต้องกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยราคาแพง ได้เป็นอย่างดีถือเป็นสตาร์ทอัพเพื่อเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก


ฟาร์มโต๊ะ สตาร์ทอัพไทย ไขแนวคิดเกษตรแบ่งปัน

ขณะที่ประเทศไทย กรณี Application Farm To (ฟาร์มโตะ) แพลตฟอร์มออนไลน์มาช่วยแก้ไขปัญหาด้านช่องทางการตลาดโดยใช้แนวคิด "เกษตรแบ่งปัน" คือ ผู้บริโภคสามารถเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตร่วมกับเกษตรกรได้ตั้งแต่ก่อนเพาะปลูก เพื่อจ่ายเงินซื้อผลผลิตล่วงหน้า โดยถือว่าผู้บริโภคได้เป็นเจ้าของผลผลิตในรอบการปลูกนั้นๆ ร่วมกับเกษตรกร ระหว่างการเพาะปลูกผู้บริโภคสามารถติดตามความคืบหน้าของผลผลิตผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทั้งเว็บเพจและแอปพลิเคชัน ทั้งสามารถไปเยี่ยมเกษตรกรถึงแปลงปลูกได้อีกด้วย และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็จะได้รับผลผลิตกลับไปตามจำนวนที่สั่งจอง

คุณอาทิตย์ จันทร์นนทชัย เจ้าของแพลตฟอร์ม ฟาร์มโตะ กล่าวว่า แนวคิดนี้ช่วยให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่ามีตลาดรองรับที่แน่นอนและราคาที่เหมาะสมโดยวิธีการขายผ่านทางออนไลน์ส่งตรงถึงผู้บริโภค ขณะเดียวกันผู้บริโภคสามารถรับรู้แหล่งที่มาของผลผลิตและมั่นใจในผลผลิตที่ตนเองจะได้บริโภคเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า FarmTo คือสื่อกลางที่ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

ปัจจุบัน FarmTo ได้เริ่มขยายเครือข่ายไปยังโรงแรมและผู้ประกอบการร้านอาหาร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีตลาดที่กว้างขึ้นและรายได้เพิ่มขึ้นรวมถึงช่วยวางแผนให้คำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรที่ยังไม่สามารถบริหารจัดการเองได้ โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตัวเองและเติบโตไปสู่การสร้างแบรนด์ให้แก่ผลผลิตของตัวเองได้ในอนาคต


เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่า การแก้ปัญหาหรือการจัดการสมัยใหม่ในภาคเกษตรกับการทำสตาร์ทอัพเริ่มมีมิติที่ใกล้เคียงมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะได้มีการนำวิธีคิดแบบ Pain Point หรือการมองเห็นปัญหา ความเจ็บปวดที่เป็นอยู่ และแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมมาปรับใช้ และจะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพไทยจะมองว่านี่เป็นโอกาสที่ดีด้วยเช่นกัน 

เกษตรกรจะปรับตัวอย่างไร ในยุคดิจิทัล

โกโก้ พืชเศรษฐกิจที่เป็นโอกาสและความท้าทาย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2172 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4369 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2177 | 22/12/2022
สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม