จับตา! ไทยเดินหน้าเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป

SME Go Inter
21/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1418 คน
จับตา! ไทยเดินหน้าเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป
banner

สหภาพยุโรปถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของไทย มีสัดส่วน 10.65% ของการส่งออกทั้งหมด รองจากอาเซียนและจีน โดยในปีที่ผ่านมาไทยส่งออกไปสหภาพยุโรป มูลค่า 26,144 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.76% และมาปีนี้ก็ยังต้องเผชิญกับภาวการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อีก

เครื่องมือการขับเคลื่อนการส่งออกที่สำคัญ อย่างการเจรจาความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรปก็ถูกฟรีซไว้นับตั้งปี 2557 หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ แต่ล่าสุดมีสัญญาณว่าสองฝ่ายจะกลับมา "ปัดฝุ่น" เปิดการเจรจาใหม่อีกครั้ง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเจ้าภาพหลัก สำรวจความคิดเห็นจากภาคเอกชนและภาคประชาชน ในประเด็นความตระหนัก ความนิยม ผลประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการชดเชยผลกระทบ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 1,036 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเอฟทีเออีก 306 ตัวอย่าง

ปรากฎว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 60.7% มีความเห็นว่า การเปิดเสรีการค้าจะทำให้ประเทศไทยโดยรวมดีขึ้น ขณะที่กลุ่มที่มองว่าการเจรจาจะทำให้ประเทศไทยไม่ต่างไปจากเดิม 22% ส่วนที่จะมองว่าการเปิดการเจรจาจะทำให้ประเทศไทยแย่ลงมีเพียง 3.7% และมีบางกลุ่มที่ยังไม่ทราบว่าการเจรจาเอฟทีเอจะให้ผลต่อประเทศไทยอย่างไรอีก 9.5%

หากย้อนไปดูผลการศึกษา ผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาได้จัดทำเสร็จสิ้น ชี้ชัดว่าความตกลงฉบับนี้จะช่วยสร้างโอกาสส่งออกให้สินค้าไทย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตโควิด 19

สอดคล้องกับผลสำรวจข้างต้นที่ชี้ชัดว่า ความตกลงจะช่วยให้ไทยมีค่าครองชีพลดลง มีสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น คนไทยมีงานทำมากขึ้น ประเทศมีความรู้ นวัตกรรม มีรายได้มากขึ้น มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย คนที่ด้อยโอกาสจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ความเหลื่อมล้ำลดลง และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น

ทั้งนี้ การเจรจาความตกลงเอฟทีเอไทย-อียู เป็นการเจรจาในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนรวม 16 ประเด็น ในประเด็นการเปิดตลาดลดภาษีสินค้า งานวิจัยชี้ว่า หากมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการระยะยาว จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้ถึง 1.28% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.05 แสนล้านบาท การส่งออกจากไทยไปอียูจะสูงขึ้น 2.83% หรือ 2.16 แสนล้านบาท และการนำเข้าจากอียูสูงขึ้น 2.81% หรือ 2.09 แสนล้านบาท ประเภทสินค้าส่งออกที่มีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากเอฟทีเอ เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก

ขณะที่การค้าบริการและการลงทุนนั้น ฟากฝั่งอียูเน้นการเจรจาเปิดเสรีในสาขาสื่อสาร โทรคมนาคม การเงิน คมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะทางทะเลและการจัดส่งพัสดุและไปรษณีย์ โดยเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคการทำธุรกิจสาขาบริการการเงิน ประกันภัย โทรคมนาคม และบริการวิชาชีพ และขอให้การแข่งขันให้เสมอภาค

นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มเจรจาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา จะเจรจาโดยยึดหลักการข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) คุ้มครองลิขสิทธิ์หลังเสียชีวิต 50-70 ปี คุ้มครองการออกแบบ 10-15 ปี คุ้มครองพันธุ์พืชตามอนุสัญญา UPOV 1991 ปกป้องข้อมูลทดสอบทางยา 5 ปี ขยายอายุสิทธิบัตร 2-5 ปี รวมถึงการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ขอให้ประเทศสมาชิกอียูสามารถเข้าร่วมการประมูลจัดซื้อจัดจ้างได้ โดยมีเงื่อนไขเดียวกับบริษัทในประเทศ ต้องได้รับความยุติธรรมและเท่าเทียม และต้องปฏิรูปการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนและรัฐ นอกจากนี้อียูต้องการให้ไทยยึดหลักปฏิบัติตามพันธกรณีด้านแรงงานสากล ภายใต้ ILO ข้อตกลงภายใต้ความตกลงสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (MEAs) อีกด้วย 

บทสรุปของการเดินหน้าเจรจายังไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าจะเริ่มได้เมื่อไร แต่ผู้ประกอบการไทยต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ตามผลการศึกษานี้ระบุว่าการเปิดตลาดลดภาษีจะทำให้ไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบถูกลง มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะต้องมีการพัฒนามาตรฐานสินค้า ส่วนภาครัฐก็ยังต้องเตรียมทางออกฉุกเฉินอย่างกองทุนเอฟทีเอ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้านี้ เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์อย่างสมดุลที่สุด 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ส่องนโยบายการเงิน-การคลังฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

วิถีใหม่สินค้า Luxury หลังโควิด สู่ร้านช้อปปี้งออนไลน์

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6357 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2044 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5096 | 23/10/2022
จับตา! ไทยเดินหน้าเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป