4 ข้อต้องรู้สกัดการถูกก็อปปี้สินค้าในจีน

SME Go Inter
21/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3397 คน
4 ข้อต้องรู้สกัดการถูกก็อปปี้สินค้าในจีน
banner

ปัจจุบันการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศจีน ปัญหาใหญ่ที่นักธุรกิจไทยหรือผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายที่ตลาดแดนมังกร ไม่สามารถเจาะตลาดประสบความสำเร็จตามที่วาดฝันไว้ คือไปแล้วมักถูกนักธุรกิจท้องถิ่นปลอมแปลงสินค้า หรือแอบเอาแบรนด์ไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในไทยและต่างประเทศอยู่แล้ว ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือที่เรียกว่า Trademark Hijacking

โดยจดเป็นชื่อของเขาเองเพื่อขายให้กับเจ้าของแบรนด์ตัวจริงเสียงจริงในราคาที่แพงลิ่ว หากต้องการใช้แบรนด์ดั้งเดิมเป็นหัวหอกในการเข้าไปเจาะตลาดในจีน เรื่องนี้มือใหม่ๆ โดนกันเยอะ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


แม้ทุกวันนี้ Trademark Hijacking ยังกลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ประกอบการต่างชาติ รวมทั้งไทยที่จะเข้าไปทำตลาดในจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามากที่สุดในโลก และพบปัญหา Trademark Hijacking มากที่สุดเช่นเดียวกัน 

ขบวนการนี้มักจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจีนตัดหน้าเจ้าของเดิม หรือพูดแบบง่ายๆ คือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของแบรนด์คนอื่นโดยไม่สุจริตเพื่อกันสิทธิของเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการไทยจำนวนมากประสบปัญหาดังกล่าว จนไม่สามารถทำการตลาดในจีนได้

โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SMEs ของไทย ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งถูกขบวนการ Trademark Hijacking ของจีนแอบจดทะเบียนการค้าไว้ดักหน้ารอไว้แล้ว ซึ่งก่อนจะจดทะเบียนคนจีนจะไปสอดส่องดูแบรนด์ต่างๆ ตามงานนิทรรศการสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยไปจัดงานแสดงสินค้าที่ประเทศจีน

จากนั้นค้นหาข้อมูลชื่อแบรนด์สินค้าแล้วไปแอบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอาไว้ ก่อนที่บรรดาแบรนด์ดังเหล่านี้จะเข้าไปทำตลาดในประเทศจีนก็จะเจออุปสรรคทันที หากจะนำแบรนด์ไปขายในจีนก็ไม่ได้เดียวจะถูกทางการจีนตั้งข้อหาละเมิดสิทธิบัตรการค้า ซึ่งก่อนหน้านี้พันธุ์ทุเรียนหมอนทองไทย ก็เคยถูกบริษัทในจีนเอาไปจดทะเบียนการค้าในหลากหลายชนิดสินค้าเช่นกัน แม้แต่แบรนด์อาหารสัตว์ยังมีชื่อพันธุ์ทุเรียนหมอนทองก็ถูกนำไปจดทะเบียนการค้า

นอกจากนี้แม้แต่การเปิดบัญชี Official ของแบรนด์บน Social media ของจีนก็ไม่เว้น เช่น เปิด Official Weibo account การยืนยันตัว (Verify account) หรือ บนแพลตฟอร์ม WeChat ก็มีบริษัทในจีนหรือนักธุรกิจจีนแอบเอาชื่อแบรนด์ของไทยไปจดตัดหน้า โดยแอบเปิด Verified account เพื่อขายให้เจ้าของเดิมในราคาแพงหากต้องการนำแบรนด์สินค้าเข้าไปขายในโลกโซเชียล  

 

4 อุปสรรคนักธุรกิจไทยเข้าเจาะตลาดจีนล้มเหลว

แบรนด์สินค้าไทยที่ไปทำตลาดในจีนไม่ประสบความสำเร็จนั้น ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) บอกว่า ปัญหาหลักของแบรนด์ไทย คือการถูกละเมิดสิทธิอยู่ที่ “เครื่องหมายการค้า” แบ่งเป็น 4 กรณี คือ

1. การไม่สนใจของผู้ประกอบการไทย

2. มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าเพื่อขายในตลาดจีน

3. มีการปลอมสินค้าและเครื่องหมายการค้าเพื่อขายไปประเทศที่ 3

4. ถูกคนจีนแย่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของไทยในจีน จุดอ่อนสำคัญที่สุดของผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปทำตลาดจีนในช่วงที่ผ่านมา ต้องพับฐานทำธุรกิจในจีนกลับบ้านเกิด

 

 4 กลยุทธ์เด็ดสกัดลอกเลียนแบรนด์สินค้าไทย

วิธีการป้องกันนักธุรกิจจีน หรือผู้ประกอบการในจีนลอกเลียนแบบแบรนด์สินค้า หรือก็อปปี้สินค้าของไทย มี 4 วิธีป้องกันด้วยกัน ประกอบด้วย

1. หากมีแผนจะทำแบรนด์เจาะตลาดจีน ควรจะไปจด trademark กับสำนักงานทะเบียนการค้า (Trademark Office) : ซึ่งอยู่ภายใต้คณะบริหารอุตสาหกรรมและการค้าแห่งชาติของจีน และที่สำคัญควรเป็นชื่อบริษัทของไทยเป็นคนจดและเป็นเจ้าของ Trademark แม้ไทยจะมีคู่ค้าในจีน ก็ควรจะต้องเป็นบริษัทเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน ยกเว้นแต่ว่าเข้าไปจัดตั้งบริษัทในจีนซึ่งไม่มีปัญหาในการทำตลาดในจีน

อย่างไรก็ตามการทำตลาดจีนสิ่งที่ควรต้องพึงระวังและตระหนักให้ดีด้วย ว่ามีความสามารถที่จะเข้าไปทำตลาดจีนมากน้อยแค่ไหน เพราะในความเป็นจริงไปตลาดจีนต้องใช้งบและกำลังภายในมากมาย เอาแค่จดTrademark แบบถูกต้องและครอบคลุมจริงๆ ก็ใช้งบไม่น้อยแล้ว (ค่าจดเริ่มต้นที่หลักหมื่นบาท แต่ถ้ามีหลายสินค้า หรือสินค้าเดียว แต่ครอบคลุมหลายประเภท ก็จะใช้งบเพิ่มขึ้นอีก แต่ถ้ามั่นใจจะบุกตลาดจีนเต็ม100% ก็ควรจดไว้)

2. ทำแบรนด์ของไทยให้เป็นที่รู้จักในไทยด้วย อย่าเน้นผลิตเพื่อตลาดจีนอย่างเดียว : ไม่ว่าจะส่งขายในจีน หรือขายในไทย รวมถึงเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทย ซึ่งปัจจุบันประชาชนชาวจีนสนใจสินค้าแบรนด์ต่างประเทศมากขึ้น เพราะกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ต้องการสินค้าที่เป็นแบรนด์ของประเทศนั้นๆ โดยตรง พวกแบรนด์ดังท้องถิ่น Local product ก็ได้รับความนิยมเพิ่มเรื่อยๆ โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศไทย

3. การสร้างแบรนด์ การทำตลาด และการขาย ไม่ควรพึ่งพาแต่พันธมิตรธุรกิจ หรือคู่ค้าในจีนเป็นหลักอย่างเดียว : แต่เจ้าของแบรนด์ต้องสร้างการรับรู้ (Awareness) ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงตัวตนของแบรนด์อย่างแท้จริง การทำเช่นนี้เพื่อป้องกันการลอกเลียนสินค้า เพราะคนจีนจะคัดลอกได้แค่สินค้า แต่ความเป็นแบรนด์ยังอยู่

4. สร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า หรือแบรนด์สินค้า ทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ง่ายขึ้น : ต้องพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา หากนักธุรกิจจีนจะลอกเลียนแบบก็เป็นได้แค่ของก็อปปี้เท่านั้น เพราะคุณภาพมาตรฐานยังไม่อาจสู้เจ้าของแบรนด์ได้


ตลาดจีนนับเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่นักการตลาดหรือแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก ต้องการเข้าไปแย่งส่วนแบ่งการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลมีกำลังซื้อสูงเนื่อง จากมีประชากรถึง 1,420 ล้านคน และประชากรกว่า 829 คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และเกือบ 100% ผู้บริโภคจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตสมาร์ทโฟน ดังนั้นการเข้าไปเจาะตลาดประสบความสำเร็จต้องพลิกแพลงกลยุทธ์ตลอดเวลา


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ถอดบทเรียนออสเตรเลีย ‘จัดการซัพพลายเชน’ ช่วงโควิด-19

ตราบที่ไม่มีวัคซีนป้องกันโควิค-19 การค้าโลกจะไม่ดีขึ้น


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
7597 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2387 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5596 | 23/10/2022
4 ข้อต้องรู้สกัดการถูกก็อปปี้สินค้าในจีน