สร้าง Brand Power ในธุรกิจครอบครัว สืบทอดสู่การสานต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน

Family Business
13/10/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4141 คน
สร้าง Brand Power ในธุรกิจครอบครัว สืบทอดสู่การสานต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน
banner
การทำธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ต้องผ่านการสร้าง Business Model ที่แข็งแกร่ง โดยเริ่มจากรุ่นผู้บุกเบิก ซึ่งอาจมีเพียงคนเดียวหรือไม่กี่คน ก่อร่างสร้างสินค้าหรือบริการออกวางจำหน่าย ค่อยๆ ขยับขยายจนกลายเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อผู้ประกอบการขายสินค้าได้ในระยะเวลาหนึ่ง จนเริ่มมียอดขายที่สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว นำไปสู่การบริหารงานภายใน

โดยมีสมาชิกในครอบครัวร่วมมือกันขยายกิจการให้มั่นคงขึ้น จนสร้างตัวตนและการจดจำบนบนโลกธุรกิจได้ จะกลายเป็นกิจการในรูปแบบของ ธุรกิจครอบครัว (Family Business) ที่ Role Model รุ่นที่ 1 ส่งมอบสู่รุ่นทายาทและถ่ายทอดแผนธุรกิจที่นำไปสู่ความมั่งคั่งในแบบแผนที่เป็นสูตรสำเร็จต่อไปไม่รู้จบ



ทลายแนวคิด  ‘กฎ 3 รุ่น’ “shirtsleeves to shirtsleeves” อาจไม่มีจริง

หากทำการศึกษาเรื่องของการบริหารธุรกิจครอบครัว มักจะมีเรื่องของแนวความคิดหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ  นั่นคือ กฎ 3 รุ่นที่หมายถึงธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ มักจะตกม้าตาย ไปไม่ถึงฝั่งในเจนเนอเรชั่นที่ 3 สำหรับประเด็นดังกล่าว รศ.ดร.เอกชัย  อภิศักดิ์กุล  คณบดีคณะวิทยพัฒน์  และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า..

บทความที่อ้างถึง “กฎ 3 รุ่น” ที่กล่าวว่าธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่มักไม่สามารถอยู่รอดได้เกิน 3 รุ่น ดังภาษิตว่า “shirtsleeves to shirtsleeves” รุ่นปู่สร้าง รุ่นพ่อสานต่อ รุ่นหลานรอเจ๊ง

ซึ่งอธิบายว่าเงินที่สร้างโดยผู้ประกอบการรุ่นหนึ่งจะหมดลงเมื่อไปถึงรุ่นลูกหลาน จนทำให้เข้าใจว่าธุรกิจครอบครัวนั้นมีความเปราะบางมากกว่าธุรกิจรูปแบบอื่น
 
แต่ในความจริงแล้วกลับมีข้อมูลบ่งชี้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจครอบครัวมีอายุยาวนานกว่าบริษัททั่วไป รวมถึงยังครองรายชื่อบริษัทอายุยาวนานที่สุดในโลกเกือบทั้งหมด และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจของศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
 
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดยังไม่มีการศึกษาข้อมูลเชิงลึกว่าเหตุใดบางธุรกิจครอบครัวถึงหายไป แน่นอนว่าอาจด้วยปัญหาข้อพิพาทในครอบครัวและปัญหาทางธุรกิจเป็นสาเหตุในบางธุรกิจ แต่ในกรณีอื่น ๆ เจ้าของอาจขายธุรกิจและเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ก็เป็นได้
 
ซึ่งนั่นคงไม่ใช่เรียกว่า “ล้มเหลว”



ส่งไม้ต่อสู่ทายาท ผ่าน Heritage และ Tradition 

เมื่อกฎ 3 รุ่นไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าธุรกิจจะปิดฉากลงเสมอไป ในทางกลับกัน การสร้างพลังให้สินค้าหรือธุรกิจให้อยู่ได้ยาวนาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกิดจากหลายองค์ประกอบหลอมรวมกัน ซึ่งการบริหารให้ธุรกิจครอบครัวอยู่ได้ยาวนานหลายรุ่นหลายสมัย จนกลายเป็นมรดกส่งต่อกันมา หากพูดในเชิงการค้าขาย ก็คือการส่งมอบคุณค่าของสินค้าที่มีอยู่ ไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอย่างดีที่สุด 

และแม้จะผ่านสถานการณ์ใด แบรนด์ที่ยั่งยืน ก็ยังรักษาคุณค่าเหล่านั้นไว้ตามมาตรฐานขั้นสูงสุด ซึ่งการตั้งเป้าหมายของครอบครัวส่วนใหญ่ คือการรักษาทรัพย์สินมรดก ไปพร้อมกับการสร้างการเติบโตของธุรกิจและสามารถส่งต่อสู่รุ่นต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ดี องค์ประกอบเหล่านี้ ล้วนต้องอาศัยการกำกับดูแลที่ดีควบคู่ไปด้วย 



Case Study แบรนด์ 100 ปีที่คงมาตรฐาน ส่งต่อคุณค่าจากรุ่นสู่รุ่น 

“จากรุ่นสู่รุ่น คู่คน ไทยมายาวนานกว่า 100 ปี” คือการฉายภาพของความเป็นมาของ ยาหมอมี ซึ่งเป็นหนึ่งในการสร้างพลังให้แบรนด์ ส่งต่อการรับรู้ไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีความจงรักภักดี นั่นคือการให้ความรู้สึกว่าลูกค้าคือคนสำคัญ วิสัยทัศน์ที่โดดเด่นจากการบริหารธุรกิจด้วยใจ ทำให้ปัจจุบันถูกส่งต่อมาถึงผู้บริหาร ทายาทรุ่น 3 แห่ง “หมอมี” ตำนานผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้ามากว่า 100 ปี 

คุณเศกสุข เกษมสุวรรณ CEO บริษัท หมอมี จำกัด เปิดเผยว่า “หมอมี” คือ บริษัทสัญชาติไทยที่มีอายุเกิน 100 ปี โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1990 เริ่มจากรุ่นคุณปู่ ได้นำเข้ายาจากต่างประเทศ จากนั้นเริ่มมีการพัฒนาสูตรยาสมุนไพรของตัวเอง ชื่อแบรนด์ หมอมี ปัจจุบันที่เหลือเป็นสูตรอายุ 100 ปี ขึ้นไป จะมีด้วยกัน 5 แบรนด์ ประมาณ 10 SKU  (Stock Keeping Unit)

โดยความมุ่งหวัง คือการเดินหน้าพัฒนาแบรนด์และผลิตภัณฑ์สมุนไพรหมอมี อย่างต่อเนื่อง โดยมีความเชื่อมั่นในการผสานคุณค่าต้นตำหรับยาแผน โบราณหมอมีที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี ให้ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ผ่านรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมมากขึ้นหลากหลายพื้นที่ ทั่วประเทศ รวมถึงระบบขายแบบออนไลน์สะดวกต่อการเข้าถึงและกระบวนการผลิตอันทันสมัย

สิ่งสำคัญ คือการรักษาสูตรยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อคงเสน่ห์ และคุณค่าทางสมุนไพรแบบฉบับหมอมีเพื่อ ประโยชน์สูงสุด แก่ผู้บริโภคซึ่งถือเป็นสุดยอดเคล็ดลับที่ทำให้การบริหารธุรกิจครอบครัวของ  หมอมี ฝ่ากระแส Disruption จนกลายเป็นแบรนด์เก่าแก่ และคงความเป็นตัวตน ไม่ถูกกลืนหายไปกับยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปรับตัวให้เป็นไปตาม Customer Journey มีสินค้าที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้าควบคู่กับการพัฒนาสินค้าโดยไม่ทิ้งเอกลักษณ์ นั่นคือ ยาสมุนไพร  ที่มีคุณภาพไม่เหมือนใคร จนจับใจลูกค้าได้ยาวนาน



‘เล่งหงส์’ ปั้น Chines Food ด้วย Stories จนก้าวสู่ 4 ทศวรรษ 

แบรนด์ ‘เล่งหงส์’ ร้านอาหารจีนสไตล์แต้จิ๋ว คืออีกหนึ่งต้นแบบการบริหารธุรกิจ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวน่าสนใจ โดยส่งต่อกิจการจากรุ่นสู่รุ่นด้วยการมี วิสัยทัศน์ ที่มุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกันคือ บริการลูกค้าเหมือนเป็นคนในครอบครัว ใส่เรื่องราวบอกเล่าการคิดค้นสูตรอาหาร และคัดสรรวัตถุดิบที่ดีที่สุดก่อนเสิร์ฟถึงลูกค้า พัฒนาเมนู Signature ให้ตอบโจทย์ได้หลากหลาย จนทำให้ธุรกิจที่ดำเนินมากว่า 48 ปี กลายเป็นแบรนด์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า  

ซึ่ง คุณสุจิตรา นำเจริญ กรรมการผู้จัดการ หจก. เล่งหงส์ กรุ๊ป เล่าถึงที่มาของ ‘ภัตตาคาร เล่งหงษ์ นครสวรรค์’ ว่า เริ่มธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2518 โดย ‘อากง’ เป็นผู้ก่อตั้งและมีคุณแม่เป็นผู้บริหารงาน ส่วนตนเป็นทายาทธุรกิจรุ่นที่ 3 ที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Family Business) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจสืบต่อไป



“เดิมที เล่งหงส์ นครสวรรค์ เป็นร้านอาหารเล็ก ๆ ที่เกิดจากการที่ ‘อากง’ เคยทำประทานอาหารอยู่ที่เมืองจีน พอย้ายมาอยู่เมืองไทยก็เห็นอากงทำอาหารมาตั้งแต่เล็ก ดังนั้นอาหารในร้านของเราจึงเป็นรูปแบบ Original Chines Food ที่มี Stories ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น”

ต่อมาในปี 2538 ‘เล่งหงส์ นครสวรรค์’ ได้ขยายกิจการเป็นอาคารสองชั้นมีห้องจัดเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ มีบริการรับจัดโต๊ะจีนทั่วประเทศ ซึ่งได้พัฒนารูปแบบโดยมี ‘ครัวกลาง’ เป็นศูนย์การจัดเตรียมอาหารและเพื่อส่งไปยังร้านและโต๊ะจีนต่าง ๆ นอกสถานที่ โดยเรามีห้องเย็นคุณภาพสูง มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่ได้มาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จนสามารถรับบริการจัดโต๊ะจีนได้ทั่วประเทศ 
      
ด้วยวิสัยทัศน์และการให้บริการที่ไม่เคยที่จะหยุดยั้งทั้งวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารเมนูต่าง ๆ จนได้อาหารสไตล์จีนแต้จิ๋วในแบบฉบับ เล่งหงษ์ นครสวรรค์ และยังได้รังสรรค์ความอร่อยที่หลากหลายลงไว้ในเมนูภัตตาคารแห่งนี้ด้วย

 

แนวคิดในการบริหารธุรกิจครอบครัว ด้วยการสร้างพลังแห่งแบรนด์ ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เพราะการบริหารธุรกิจครอบครัวต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย การปรับตัวให้ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่ยุคสมัยใหม่อย่างไม่ทิ้งเอกลักษณ์ ทั้งความเป็นตัวตนและคุณภาพ ถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน แต่หากแบรนด์ รักษาสิ่งเหล่านั้นไว้ได้ พร้อมถ่ายทอดให้ทายาทรับช่วงต่ออย่างเข้าใจ ก็จะก้าวสู่การเป็นธุรกิจครอบครัวที่ยั่งยืน ยาวนาน ได้ไม่ยาก  

อ้างอิง : ขอบคุณข้อมูล โดย Designing Your Family Business รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย akachai@famzgroup.com

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ธุรกิจครอบครัวที่บริหารด้วยค่านิยมแบบดั้งเดิม มักจะมีมุมมองว่าลูกผู้ชาย เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการในตำแหน่งหัวหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการหารายได้…
pin
5113 | 08/03/2024
ธุรกิจครอบครัว ในยุคเปลี่ยนผ่านฉับพลัน (Family business in disruption era)

ธุรกิจครอบครัว ในยุคเปลี่ยนผ่านฉับพลัน (Family business in disruption era)

ธุรกิจครอบครัว (Family Business) ที่ลักษณะโดดเด่น คือเป็นธุรกิจที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นเจ้าของ และมีหุ้นส่วนใหญ่ของธุรกิจ มากกว่า 50%…
pin
5072 | 28/02/2024
จุดแข็ง-จุดอ่อนธุรกิจครอบครัว VS ธุรกิจทั่วไป ใครได้เปรียบ เสียเปรียบ!

จุดแข็ง-จุดอ่อนธุรกิจครอบครัว VS ธุรกิจทั่วไป ใครได้เปรียบ เสียเปรียบ!

ความหมายของคำว่า ธุรกิจครอบครัว (Family Business) และ ธุรกิจทั่วไป (Business) อาจจะมีเส้นบางๆ ที่กั้นระหว่าง 2 คำนี้ เชื่อว่าหลายคนยังมีข้อสงสัยว่า…
pin
5780 | 20/02/2024
สร้าง Brand Power ในธุรกิจครอบครัว สืบทอดสู่การสานต่อธุรกิจอย่างยั่งยืน