ปฏิวัติการรีไซเคิล ‘ขยะพลาสติก’ สู่น้ำมันไพโรไลซิส ผู้ประกอบการไทยมองเห็นเป็นโอกาส

SME Go Inter
03/04/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 6296 คน
ปฏิวัติการรีไซเคิล ‘ขยะพลาสติก’ สู่น้ำมันไพโรไลซิส ผู้ประกอบการไทยมองเห็นเป็นโอกาส
banner
การระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดการสร้างขยะพลาสติกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ผลิตจากพลาสติก เช่น หน้ากากอนามัย และถุงมือทางการแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะถูกทำลายด้วยการนำไปเผาหรือฝังกลบโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้และไม่มีความยั่งยืน (Sustainability) แล้วจะดีกว่าไหมหากนำสิ่งเหล่านี้ไปแปรสภาพเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กว่า



จากปัญหาดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัย Heriot-Watt และบริษัท Globus Group ผู้ผลิต PPE รายใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ได้ร่วมมือกันภายใต้โครงการชื่อ Knowledge Transfer Partnership หรือ KTP โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรวิจัยและนวัตกรรมแห่งสหราชอาณาจักร เพื่อพัฒนาโซลูชั่นจัดการพลาสติก PPE แบบประหยัดต้นทุนแต่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงใช้เทคโนโลยีการทำความร้อนแบบยั่งยืนที่พัฒนาโดย Thermal Compaction Group เพื่อเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่าเพิ่มเป็นวัตถุดิบทดแทนที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส

ทั้งนี้กระบวนการไพโรไลซิสสามารถผลิต ‘น้ำมันไพโรไลซิส’ ที่คุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันดิบ และสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการกลั่นใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซล ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำน้ำมันใหม่มาจากใต้พื้นโลก พร้อมทั้งยังสามารถนำไปแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชิ้นใหม่ได้อีกด้วย 



สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนจากพลาสติก

สำหรับ Knowledge Transfer Partnerships เป็นโครงการในสหราชอาณาจักรที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือการสร้าง ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ หรือ Circular Economy สำหรับพลาสติกซึ่งแทนที่จะทิ้งสิ่งเหล่านี้ไปเป็นขยะเมื่อสิ้นสุดการบริโภค แต่ในทางกลับกันก็นำมาสร้างคุณค่าใหม่หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องได้โดยไม่เปล่าประโยชน์

ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนชีวมวลและวัสดุเหลือใช้ให้เป็นพลังงาน โดยอาศัยกระบวนการแปลงสภาพทางเคมีความร้อนโดยมหาวิทยาลัย Heriot-Watt ที่มีการบูรณาการร่วมกันกับบริษัท Globus Group ในครั้งนี้จะช่วยพัฒนากระบวนการกำจัดขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้กับขยะพลาสติก PPE ที่ในปัจจุบันไม่สามารถรีไซเคิลพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 สอดคล้องกับปัจจุบันที่หลายภาคส่วนทั่วโลกพยายามลดการฝังกลบ เพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการลดปล่อยคาร์บอน โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการจัดการกับขยะที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันยังช่วยลดเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะได้มากกว่า 100 ตันต่อปี ซึ่งคาดว่ากระบวนการใหม่นี้จะถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก



กระบวนการไพโรไลซิสในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนากระบวนการไพโรไลซิส เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์ โดยมีการพัฒนากระบวนการไพโรไลซิสในรูปของเทคในโลยีกำจัดขยะ ประเภทขยะพลาสติก และยางรถยนต์ใช้แล้ว โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์จากกระบวนการไพโรไลซิสสำหรับเปลี่ยนยางรถยนต์ใช้แล้วเป็นน้ำมัน

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการผลิตน้ำมัน โดยใช้กระบวนการไพโรไลชิสจากวัตถุดิบ ประเภทขยะพลาสติก โดยมุ่งเน้นที่การออกแบบและสร้างโรงงาน เพื่อแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน ทั้งนี้สามารถผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ 4,000 - 5,000 ลิตรต่อวัน รวมทั้งภาครัฐยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้กระบวนการไพโรไลซิสสำหรับการกำจัดขยะ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้มีการดำเนินการส่งเสริมโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันให้กับชุมชนตัวอย่างที่มีศักยภาพในการกำจัดขยะ โดยการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพด้านการจัดการปริมาณขยะที่มีจำนวนขยะพลาสติกไม่น้อยกว่า 30 ตันต่อวัน

ตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมันโดยกระบวนการไพโรไลซิส ได้แก่ เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผลิตได้วันละ 4,500 ลิตร, เทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ผลิตได้วันละ 10,400 ลิตร เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ผลิตได้วันละ 4,500 ลิตร และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลิตได้วันละ 4,500 ลิตร 


ข้อมูลจาก : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

ไพโรไลซิสสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการ SME

สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย มีผู้พัฒนาโซลูชันธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง ‘คอร์สแอร์ กรุ๊ป’ สามารถนำน้ำมันชีวภาพขั้นสูงบางส่วนที่ผลิตได้จากกระบวนการไพโรไลซิส หมุนเวียนนำกลับมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องนวัตกรรมไพโรไลซิสอีกครั้ง และจะพัฒนานำขยายการไปสู่การใช้ในภาคเกษตร โดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตร รถไถ เครื่องตัดหญ้า เครื่องสูบน้ำ ซึ่งการใช้น้ำมันกำมะถันต่ำจากกระบวนการไพโรไลซิส ถือเป็นการลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิง และค่าสึกหรอของอุปกรณ์ได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันยังก่อมลพิษน้อยเมื่อเทียบกับน้ำมันทั่วไปอีกด้วย

กระบวนการไพโรไลซิส ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลิอกในการการลดปริมาณขยะพลาสติกที่ถือเป็นขยะอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำขยะเหล่านี้ไปแปรสภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ทั้งในแง่ของการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่สู่สังคม ซึ่งนำไปสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจ และยังช่วยแก้ไขปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainability) ได้


แหล่งอ้างอิง : สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมในต่างประเทศ ประจำกรุงเวียนนา

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6059 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4915 | 23/10/2022
ปฏิวัติการรีไซเคิล ‘ขยะพลาสติก’ สู่น้ำมันไพโรไลซิส ผู้ประกอบการไทยมองเห็นเป็นโอกาส